แผนงานและผลการดำเนินงานปี 2566 คลิกดาวน์โหลดเอกสาร
การยกระดับคุณภาพมาตรฐานการผลิตข้าวและสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกรด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
คลิกดาวน์โหลดเอกสาร
สท. เสริมความรู้ หนุนกลไกตลาดนำการผลิต เพิ่มพื้นที่ปลูกถั่วเขียวพันธุ์ KUML ที่สุพรรณบุรี
เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2566 ณ สหกรณ์การเกษตรสามชุก จำกัด จ.สุพรรณบุรี: สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน สำนักงานเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี สำนักงานเกษตรอำเภอสามชุก สำนักงานเกษตรอำเภอดอนเจดีย์ และสำนักงานเกษตรอำเภอหนองหญ้าไซ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “เทคโนโลยีการปลูกพืชหลังนาแบบครบวงจร: ถั่วเขียวพันธุ์ KUML” ให้เกษตรกรและเจ้าหน้าที่เกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี รวมกว่า 80 คน โดยมี รศ.ดร.ประกิจ สมท่า และ ผศ.ดร.กนกวรรณ เที่ยงธรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน เป็นวิทยากรให้ความรู้ และคุณมนตรี สมงาม ฝ่ายส่งเสริมการเพาะปลูก บริษัท กิตติทัต จำกัด ร่วมให้ข้อมูลการรับซื้อผลผลิต
“ถั่วเขียว KUML” ปลูกด้วยใจ ได้คุณภาพ
“สมัยก่อนหว่านถั่วเขียวที่หัวไร่ปลายนา เอาไว้ทำไส้ขนม หว่านถั่วลิสงไว้ทำกระยาสารท รุ่นพ่อแม่เก็บเมล็ดไว้นิดหน่อยเพื่อใช้หว่านรอบต่อไป” ประดิษฐ์ เขม้นเขตร์กิจ ผู้ใหญ่บ้านดอยหวาย หมู่ 7 ต.บ่อยาง อ.สว่างอารมณ์ จ.อุทัยธานี บอกเล่าวิถีการปลูกพืชหลังของคนรุ่นพ่อแม่เมื่อกว่า 40 ปีจากพืชที่ปลูกไว้เพื่อใช้ในครัวเรือน พื้นที่เพาะปลูกไม่มากมาย วิถีการปลูกถั่วเขียวของชุมชนเริ่มปรับเปลี่ยนได้ราว 15 ปี หลังมีข้อกำหนดห้ามทำนาปรัง เกิดการส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกถั่วเขียวเป็น “อาชีพเสริม” มีทั้งส่งจำหน่ายให้ศูนย์เมล็ดพืชไร่ชัยนาทและจำหน่ายให้พ่อค้าคนกลางป้อนสู่อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง สำหรับชาวนาจะเริ่มปลูกถั่วเขียวหลังเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว โดยปลูกในช่วงพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ ส่วนชาวไร่จะปลูกถั่วเขียวในช่วงเดือนพฤษภาคมก่อนลงปลูกข้าวโพด สายพันธุ์ถั่วเขียวที่ชาวบ้านนิยมปลูก เช่น ชัยนาท 84-1 กำแพงแสน 1 กำแพงแสน 2 “ช่วงปี 2559 เมล็ดพันธุ์กำแพงแสนมีไม่พอ ลูกบ้านอยากได้พันธุ์อื่นมาปลูกเพิ่ม ก็ไปสอบถามจากเกษตรอำเภอ ถึงได้รู้ว่ามีพันธุ์ KUML เข้ามาใหม่” ประดิษฐ์ ย้อนความเมื่อวันที่ได้รู้จักถั่วเขียวสายพันธุ์ใหม่