จากพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง 15 ไร่ แปรเปลี่ยนเป็นป่าและพื้นที่ปลูกผักอินทรีย์ตามความฝันของ “ลำพึง ศรีสาหร่าย” ที่ต้องการมีที่ดินเป็นของตนเอง หลังจากเช่าที่ปลูกผักจนส่งลูกๆ เรียนจนจบมหาวิทยาลัย และในวันที่สูญเสียคู่ชีวิตที่เคียงบ่าปลูกผักร่วมกันมา เธอได้ลูกชาย “ภิญญา ศรีสาหร่าย” วิศวกรหนุ่มกลับมาเป็นกำลังสำคัญและสานฝันการทำเกษตรอินทรีย์ของเธอที่ “ฟาร์มฝันแม่” เรื่องราวของ “ฟาร์มฝันแม่” เคล็ด(ไม่)ลับ ปลูกผักอินทรีย์ ให้ตลาดจำ (บันทึกวิดีโอกิจกรรมเสวนา) “ฟาร์มฝันแม่” ความฝัน ความจริงและความรู้เกษตรอินทรีย์ (วิดีโอ) “ฟาร์มฝันแม่” ความฝัน ความจริงและความรู้เกษตรอินทรีย์ (บทความ)
กิจกรรม เคล็ด (ไม่) ลับปลูกผักอินทรีย์ให้ตลาด ‘จำ’
สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) จัดกิจกรรม เคล็ด (ไม่) ลับ ปลูกผักอินทรีย์ให้ตลาด ‘จำ’ เมื่อวันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม 2565 ณ ศูนย์การเรียนรู้การผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (บนฟาร์ม 907 ไร่) โดยมี 2 กิจกรรม ได้แก่ > สาธิต “เพาะกล้าดี มีชัยไปกว่าครึ่ง”โดย อาจารย์ทวีป เสนคำวงศ์อาจารย์ประจำสาขาวิชาพืชผัก คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และผู้อำนวยการศูนย์การเรียนรู้การผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ > เสวนา เคล็ด (ไม่) ลับปลูกผักอินทรีย์ ให้ ‘ตลาด’ จำโดย คุณภัทรพล วนะธนนท์ เกษตรกรเจ้าของ
“ฟาร์มฝันแม่” ความฝัน ความจริง และความรู้เกษตรอินทรีย์
จะปลูกพืชชนิดไหน ต้องหาความรู้ว่าพืชต้องการอะไรบ้าง ปริมาณเท่าไหร่ เพื่อลดความเสี่ยงการผลิต แล้วจัดการให้ได้ ผลผลิตก็จะได้ 100% -ภิญญา ศรีสาหร่าย- “กลับบ้านเถอะลูก พ่อปลูกต้นท้อไว้รอเจ้า กลับบ้านสู่บ้านเรา ไหนว่าเจ้าไปเพื่อเรียน หลายปีผ่านไป สุขทุกข์อย่างไร พ่อรออยู่ ดอกท้อชู ช่อชู ไกลสุดกู่ หรืออย่างไร พ่อทำฝนเทียมและห้วนฝาย ไว้คอยเจ้า พร้อมเมล็ดพันธุ์ชนิดใหม่ๆ เจ้าจงมาเตรียมการหว่านไถ่ เพื่อจะได้มีอยู่ มีกิน กลับบ้านเถอะลูก เจ้ากลับบ้านถูกใช่ไหม เจ้าจงมาเป็นชีวิตใหม่ เป็นแสงตะเกียงและเสียงพิณ ให้ผู้อยู่ถิ่น…ได้ชื่นใจ” “แม่ไม่เคยบอกให้ลาออกจากงานมาปลูกผัก แม่ไม่เคยรู้ว่าได้เงินเดือนเท่าไหร่ ทุกเดือนแม่ยังส่งเงินให้” ภิญญา ศรีสาหร่าย สมาชิกกกลุ่มร่มโพธิ์ เครือข่ายมูลนิธิสังคมสุขใจ สามพรานโมเดล อดีตวิศวกรเงินเดือนเฉียดแสน