‘ไก่พื้นเมืองแดนใต้’ จัดการด้วยความรู้อย่างมืออาชีพ

‘ไก่พื้นเมืองแดนใต้’ จัดการด้วยความรู้อย่างมืออาชีพ

“ชาวบ้านใช้เวลาว่างจากการเลี้ยงโคขุนมาเลี้ยงไก่พื้นเมืองใต้เป็นอาชีพเสริม โดยเฉลี่ยเกษตรกรเลี้ยงไก่พื้นเมืองครอบครัวละ 20–30 ตัว การเลี้ยงไก่พื้นเมืองใช้ต้นทุนต่ำ ระยะเวลาเลี้ยงจนถึงจับขายสั้นกว่าการเลี้ยงโคขุน แม้ว่าจะเลี้ยงไก่เป็นอาชีพเสริม เราต้องมีความรู้และจัดการให้ดี ไม่อย่างนั้นจะขายไม่ได้ ไก่หนึ่งตัวก็มีค่า มีต้นทุนทั้งทรัพย์สินและเวลาของเรา การพัฒนาทักษะความรู้และต่อยอดให้มีรายได้เพิ่ม นั่นคือ อาชีพเสริม” วีรชัย นิ่มโอ เจ้าของพี่น้องเจริญฟาร์ม ต.ป่าบอนต่ำ อ.ป่าบอน จ.พัทลุง แกนนำกลุ่มเกษตรผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองจังหวัดพัทลุง และอดีตนักส่งเสริมการเกษตรของฟาร์มไก่บริษัทเอกชน สะท้อนแนวคิดการสร้างรายได้เสริมให้ชาวบ้านนอกจากการทำสวนยางพาราและการเลี้ยงโคขุนที่เป็นอาชีพหลัก “เราต้องการทำเป็นอาชีพและมีรายได้ ไม่ใช่เลี้ยงสะเปะสะปะ พ่อค้ามาเป็นคนกำหนดราคา เราไม่ต้องการแบบนั้น ถ้าจะขายเราต้องเป็นคนกำหนดราคา ตลาดต้องไปแบบนี้นะ ไม่ใช่ต่างคนต่างเลี้ยง ต่างคนต่างขายเหมือนเมื่อก่อน เราก็มาจัดตั้งกลุ่มเพื่อให้การจัดการเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น การเลี้ยง การให้อาหาร การให้วัคซีนจนถึงแปรรูป” แม้จะคลุกคลีกับแวดวงฟาร์มไก่เอกชนมากว่า 10 ปี แต่

พลิกฟื้น รักษา พัฒนา ‘พริกไทยตรัง’ เสริมรายได้ชาวสวนตรัง

พลิกฟื้น รักษา พัฒนา ‘พริกไทยตรัง’ เสริมรายได้ชาวสวนตรัง

แม้จะมีทั้งสวนยางพาราและสวนส้มโอ แต่เมื่อต้องหันหลังให้ชีวิตมนุษย์เงินเดือนในเมืองหลวงกลับมาดูแลพ่อที่เจ็บป่วย กิตติ ศิริรัตนบุญชัย กลับเลือกปลูก “พริกไทย” และต้องเป็น “พริกไทยตรัง” เท่านั้น “ผมอยากให้คนตรังกินพริกไทยตรัง คนอายุ 70-80 ปี เขาภูมิใจพริกไทยพันธุ์พื้นเมืองของจังหวัดตรังมาก ด้วยรสชาติอร่อย เผ็ดร้อน กลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ พริกไทยตรังเป็นพันธุ์ที่ดังไปถึงยุโรป แต่หากินไม่ได้แล้ว การปลูกพริกไทยถึงขายไม่ได้วันนี้ ผลผลิตก็ยังทำแห้งและเก็บไว้ได้นาน”  ไม่เพียงคิดฟื้นพริกไทยตรังให้กลับคืนมาในพื้นที่อำเภอวังวิเศษ จ.ตรัง แต่ ยังเลือกปลูกพริกไทยเพียงอย่างเดียวและมุ่งเป้าผลิตในเชิงพาณิชย์ ด้วยเชื่อว่า “ถ้าจะทำให้สำเร็จ ต้องทำอย่างเดียว” เขาศึกษาและหาข้อมูลแหล่งปลูกพริกไทยสายพันธุ์ตรังที่แท้จริง สอบถามปราชญ์ชาวบ้าน ตรวจสอบย้อนกลับไปถึงเอกสารจดหมายเหตุ ควบคู่กับการลงเรียนด้านเกษตร โดยเฉพาะ “การปลูกส้ม” ไม้ผลที่ กิตติ มองว่า หากปลูกส้มได้จะปลูกพืชทุกอย่างได้ “ถ้าไม่สูงต้องเขย่ง ถ้าไม่เก่งต้องขยัน”

สท.-มทร.ศรีวิชัย ยกระดับสิ่งทอภาคใต้-ผ้าทอนาหมื่นศรีด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม

สท.-มทร.ศรีวิชัย ยกระดับสิ่งทอภาคใต้-ผ้าทอนาหมื่นศรีด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม

เมื่อวันที่ 18-19 มกราคม 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับมหาวิทยาเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย (มทร.ศรีวิชัย) จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “การยกระดับผลิตภัณฑ์สิ่งทอในพื้นที่ภาคใต้: วิสาหกิจชุมชนผ้าทอนาหมื่นศรี” ให้สมาชิกวิสาหกิจชุมชนผ้าทอนาหมื่นศรี ต.นาหมื่นศรี อ.นาโยง จ.ตรัง จำนวน 31 คน เพื่อให้สมาชิกได้พัฒนาทักษะใหม่ๆ และปรับใช้องค์ความรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมยกระดับประสิทธิภาพการผลิต สร้างมูลค่าเพิ่มและพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด โดยมี รศ.ดร.มาหามะสูไฮมี มะแซ มทร.ศรีวิชัย ผู้เชี่ยวชาญด้านวัสดุวิศวกรรมและสิ่งทอ นางดรุณี ภู่ทับทิม และนายประวิทย์ ภู่ทับทิม ปราชญ์ด้านสีย้อมธรรมชาติ กลุ่มดรุณีสีย้อมธรรมชาติ อ.ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช เป็นวิทยากรให้ความรู้การย้อมสีเส้นไหมโดยใช้สีธรรมชาติจากเปลือกไม้มะฮอกกานีและคลั่ง และการปรับใช้มอร์แดนท์หรือสารช่วยย้อมชนิดต่างๆ เช่น มะขามเปียก สารส้ม

สท.-มทร.ศรีวิชัย ชูพริกไทยดำ-ไก่พื้นเมืองขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG

สท.-มทร.ศรีวิชัย ชูพริกไทยดำ-ไก่พื้นเมืองขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG

เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม-3 กันยายน 2566 สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย (มทร.ศรีวิชัย) ร่วมจัดแสดงนิทรรศการการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG ในงานประชุมคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ครั้งที่ 8 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี วิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว ต.ขุนทะเล อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี โดยนำเสนอโมเดลการปลูกพริกไทยดำและการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จากพริกไทยดำ และโมเดลการเลี้ยงไก่พื้นเมืองแบบมืออาชีพที่มุ่งเน้นเรื่องอาหารและการจัดการโปรแกรมอาหารสำหรับไก่พื้นเมือง อนึ่ง สวทช. และ มทร.ศรีวิชัย มีความร่วมมือพัฒนาสถานีเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการเกษตร (Training Hub) ในพื้นที่ภาคใต้ เพื่อเป็นพื้นที่สาธิต ทดสอบและเรียนรู้การปรับใช้เทคโนโลยีเกษตร/เกษตรสมัยใหม่ ให้เกษตรกรได้เข้าถึงองค์ความรู้และเทคโนโลยีเกษตร ยกระดับทักษะความรู้บุคลากรภาคการเกษตร พัฒนาเกษตรกรแกนนำ เกษตรกรรุ่นใหม่/Young Smart Farmer

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

ในปี พ.ศ. 2565 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย (มทร.ศรีวิชัย) มีความร่วมมือพัฒนาสถานีเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการเกษตร (Training Hub) ในพื้นที่ภาคใต้ เพื่อเป็นพื้นที่สาธิต ทดสอบและเรียนรู้การปรับใช้เทคโนโลยีเกษตร/เกษตรสมัยใหม่ ให้เกษตรกรได้เข้าถึงองค์ความรู้และเทคโนโลยีเกษตร ยกระดับทักษะความรู้บุคลากรภาคการเกษตร พัฒนาเกษตรกรแกนนำ เกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Smart Farmer) และอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.) อีกทั้งเป็นพื้นที่ขยายผลองค์ความรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมของสวทช. สู่ชุมชนในพื้นที่ภาคใต้ มุ่งเน้นการพัฒนาด้านเกษตรปลอดภัยและผลิตสินค้าอัตลักษณ์ท้องถิ่น โดยนำร่องในจังหวัดตรัง นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา การบริหารจัดการสถานีเรียนรู้ด้านการเกษตร (Training Hub) ในพื้นที่ภาคใต้ ดำเนินการโดยสำนักการจัดการนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี มทร.ศรีวิชัย มีคณะกรรมการกำกับ ติดตาม