เมื่อวันที่ 17-18 กันยายน 2566 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี จัดอบรมหัวข้อ “การจัดการสภาพแวดล้อมภายในบ่อและการดูแลสุขภาพสัตว์น้ำ” และ “เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเห็ดมิลค์กี้เชิงพาณิชย์” โดยได้รับความสนใจจากเกษตรกร ผู้ประกอบการและนักศึกษารวมกว่า 60 คน ทั้งนี้การอบรมดังกล่าวเป็นกิจกรรมภายใต้โครงการ “การพัฒนาสถานีเรียนรู้และการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนในจังหวัดจันทบุรี” โดยความร่วมมือระหว่าง สวทช.-มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี การอบรมในหัวข้อ “การจัดการสภาพแวดล้อมภายในบ่อและการดูแลสุขภาพสัตว์น้ำ” จัดขึ้น ณ ห้องประชุมประถม ใจจิตร อาคารกุลละวณิชย์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี โดยมี ดร.สรวิศ เผ่าทองศุข นักวิจัย สวทช. เป็นวิทยากรบรรยายเรื่อง “สิ่งแวดล้อมและการจัดการสิ่งแวดล้อมในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ และโมเดลการเลี้ยงกุ้งแบบธรมชาติ: ลดต้นทุน
สท.-ม.บูรพาฯ จันทบุรี เติมความรู้ชาวสวน “เพิ่มผลผลิตทุเรียนในสภาวะเอลนีโญ-ลานีญา”
เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2566 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี จัดอบรมออนไลน์หัวข้อ “การเพิ่มผลผลิตทุเรียนภายใต้ปรากฎการณ์เอลนีโญ-ลานีญา” โดยมี ผศ.ดร.ยศพล ผลาผล ประธานกลุ่มสาขาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี เป็นวิทยากรให้ความรู้เกษตรกรชาวสวนทุเรียน เพื่อสร้างความเข้าใจและเตรียมพร้อมรับมือการผลิตทุเรียนในสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง คลิกชมวิดีโอย้อนหลัง อนึ่ง กิจกรรมครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้โครงการ “การพัฒนาสถานีเรียนรู้และการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนในจังหวัดจันทบุรี” โดยความร่วมมือระหว่าง สวทช.-มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี
สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี พัฒนาสถานีเรียนรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านเกษตร (Training Hub) โดยมุ่งเน้นเป็นแหล่งเรียนรู้เทคโนโลยีด้านเกษตรและประมง บูรณาการองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ตลอดจนความเชี่ยวชาญของบุคลากรของ สวทช. และมหาวิทยาลัยฯ เพื่อพัฒนาทักษะเดิม (upskill) เพิ่มเติมทักษะใหม่ (reskill) ให้เกษตรกรและชุมชนผ่านหลักสูตรการอบรมและกิจกรรม กิจกรรม/ประชาสัมพันธ์ สท.-ม.บูรพาฯ จันทบุรี เสริมความรู้ด้าน “สัตว์น้ำ” สร้างอาชีพ “เพาะเห็ดมิลกี้เชิงพาณิชย์” สท.-ม.บูรพาฯ จันทบุรี เติมความรู้ชาวสวน “เพิ่มผลผลิตทุเรียนในสภาวะเอลนีโญ-ลานีญา” สท.-ม.บูรพาฯ จันทบุรี จัดเต็มอบรม “เทคโนโลยีการจัดการฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำสมัยใหม่ด้วยระบบ IoT” สท.-ม.บูรพา วิทยาเขตจันทบุรี จัดอบรมเกษตรกรเสริมความรู้การทำท่องเที่ยวเชิงเกษตร
สท.-ม.บูรพาฯ จันทบุรี จัดเต็มอบรม “เทคโนโลยีการจัดการฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำสมัยใหม่ด้วยระบบ IoT”
เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2566 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “เทคโนโลยีการจัดการฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำสมัยใหม่ด้วยระบบ IoT” ณ ห้องประชุมประถมใจจิตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี โดยมีนักวิจัย สวทช. และผู้ประกอบการฟาร์มสัตว์น้ำ เป็นวิทยากรให้ความรู้ในหัวข้อต่างๆ อีกทั้งยังมีเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์การใช้เทคโนโลยี ดร.สรวิศ เผ่าทองศุข ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยเทคโนโลยีสัตว์น้ำแบบบูรณาการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ให้ความรู้เรื่อง “เทคโนโลยีการจัดการฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำสมัยใหม่” คุณเสกสรรค์ ศาสตร์สถิต นักวิจัยทีมเทคโนโลยีเกษตรดิจิทัล ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ให้ความรู้เรื่อง “เทคโนโลยีการเลี้ยงสัตว์น้ำสมัยใหม่ด้วยเทคโนโลยีชุด Aqua IoT ของ สวทช.” คุณวีระ
สท.-ม.บูรพา วิทยาเขตจันทบุรี จัดอบรมเกษตรกรเสริมความรู้การทำท่องเที่ยวเชิงเกษตร
เมื่อวันที่ 23-24 สิงหาคม 2566 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การประชาสัมพันธ์อย่างไรให้โดนใจและเข้าถึงกลุ่มนักท่องเที่ยว” และ “การถ่ายภาพสวนเกษตรเชิงท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ ผลไม้ อาหาร” ณ ห้องประชุมประถมใจจิตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี โดยมีคุณธนอิน ตุ้มหิรัญ (โค้ชโซดา) ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตสื่อออนไลน์ เป็นวิทยากรให้ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับเกษตรกร ชุมชนและผู้ประกอบการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดจันทบุรีและใกล้เคียงจำนวน 36 คน ที่ให้ความสนใจเข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ ผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้กลยุทธ์การขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ การสร้างเนื้อหา (content) เทคนิคการสร้างยอดขาย/ผู้ติดตาม การสร้างตัวตน เทคนิคการถ่ายภาพ/วิดีโอ การโพสต์ เป็นต้น ซึ่งผู้เข้าอบรมสามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะกับผลิตภัณฑ์ของตนเอง นอกจากนี้ผู้เข้าอบรมยังได้ทำความรู้จักร่วมกัน เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำกิจกรรมท่องเที่ยวของแต่ละสวน และสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกันต่อไปในอนาคต