สวทช. จับมือมหาวิทยาลัยสวนดุสิต พัฒนางานวิจัย-ถ่ายทอดความรู้ด้าน วทน. ยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน

สวทช. จับมือมหาวิทยาลัยสวนดุสิต พัฒนางานวิจัย-ถ่ายทอดความรู้ด้าน วทน. ยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ลงนามความร่วมมือกับมหาวิทยาสวนดุสิต ภายใต้ “การพัฒนางานวิจัยและการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อพัฒนาอาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิตในชุมชน” โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ เพื่อร่วมกันสนับสนุนงานวิจัยและผลักดันให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ยกระดับประสิทธิภาพและคุณภาพการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัย เพื่อร่วมกันพัฒนาแหล่งเรียนรู้ สาธิต และทดสอบเทคโนโลยีด้านเกษตรและอาหาร โดยบูรณาการองค์ความรู้จากทั้งสองหน่วยงานและเครือข่ายพันธมิตร เพื่อร่วมกันพัฒนาหลักสูตรที่รองรับการเรียนรู้ในระดับภาคสนามและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สู่ชุมชนโดยเน้นการลงมือปฏิบัติ นำไปสู่การขยายผลในวงกว้าง เพื่อสร้างความร่วมมือด้านวิชาการ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ ให้เกิดการพัฒนาบุคลากรร่วมกัน ที่ผ่านมา สวทช. ได้พัฒนางานวิจัยและองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ทั้งด้านการเกษตรและเกษตรอัจฉริยะ รวมทั้งเร่งผลักดันให้เกิดการสาธิตและขยายผล พัฒนากระบวนการเรียนรู้ของเกษตรกรและชุมชน ให้เกิดการเข้าถึงองค์ความรู้และเทคโนโลยีเพื่อให้ชุมชนและเกษตรกรได้นำผลงานวิจัยไปใช้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร สร้างมูลค่าและรายได้ เชื่อมโยงเครือข่ายความร่วมมือจากภาคการผลิตสู่ภาคการตลาด ทั้งนี้ สวทช. ได้ผนึกกำลังและสร้างความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยสวนดุสิต เพื่อร่วมกันผลักดันให้เกิดการบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์

หอมขจรฟาร์ม: แปลงสาธิตเกษตรปลอดภัยอัจฉริยะ

หอมขจรฟาร์ม: แปลงสาธิตเกษตรปลอดภัยอัจฉริยะ

“การทำอาหารให้ได้คุณภาพ วัตถุดิบเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งต้นทางวัตถุดิบมาจากการทำเกษตรที่ดี” มหาวิทยาลัยสวนดุสิตเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในอัตลักษณ์อันโดดเด่นด้านอาหารมาเนิ่นนาน นับตั้งแต่ก่อตั้งเป็นโรงเรียนการเรือนจวบจนกระทั่งปัจจุบันมหาวิทยาลัยได้ทำหน้าที่สร้างสรรค์นวัตกรรมด้านอาหารออกสู่สังคมโดยคำนึงความอร่อย  คุณค่าและความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นสำคัญ จากแนวคิดดังกล่าวจึงเป็นที่มาของการขับเคลื่อน โครงการแปลงสาธิตเกษตรปลอดภัยอัจฉริยะ หรือ หอมขจรฟาร์ม บนพื้นที่กว่า 30 ไร่ที่วิทยาเขตสุพรรณบุรี เพื่อดำเนินงานส่งเสริมคุณค่าห่วงโซ่การผลิตอาหารปลอดภัยจากต้นน้ำไปจนกระทั่งถึงปลายน้ำ และยกระดับคุณภาพชีวิตให้แก่เกษตรกร ผู้ประกอบการและชุมชน “เราไม่ได้ต้องการทำเกษตรดั้งเดิม แต่จะนำเทคโนโลยีมาบูรณาการกับการเกษตรที่ดีและความเชี่ยวชาญด้านการแปรรูปที่เป็นมาตรฐานของมหาวิทยาลัย” รศ.ดร.ชนะศึก นิชานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กล่าวถึงความตั้งใจของมหาวิทยาลัยต่อการขับเคลื่อนโครงการแปลงสาธิตเกษตรปลอดภัยอัจฉริยะ ที่ไม่ใช่แค่การดำเนินงานเพื่อยกระดับห่วงโซ่คุณค่าด้านการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยเท่านั้น หากยังบูรณาการการดำเนินงานของแปลงสาธิตเกษตรปลอดภัยอัจฉริยะเป็นฐานการสร้างประสบการณ์เรียนรู้ให้บุคคลทุกช่วงวัย ทั้งนักเรียน นักศึกษา คณาจารย์ เกษตรกรและผู้ประกอบการในจังหวัดสุพรรณบุรี โรงเรือนเพาะปลูกพืชขนาด 6x20x5.6 เมตร จำนวน 3 โรงเรือนตั้งเรียงตระหง่านบนพื้นที่หอมขจรฟาร์ม เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีด้านการเกษตรที่เกิดจากความร่วมมือระหว่าง สวทช. กับมหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดยมีเป้าหมายเพื่อ “พัฒนางานวิจัยและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ลงนามความร่วมมือกับมหาวิทยาสวนดุสิต ภายใต้ “การพัฒนางานวิจัยและการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อพัฒนาอาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิตในชุมชน” โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ เพื่อร่วมกันสนับสนุนงานวิจัยและผลักดันให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ยกระดับประสิทธิภาพและคุณภาพการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัย เพื่อร่วมกันพัฒนาแหล่งเรียนรู้ สาธิต และทดสอบเทคโนโลยีด้านเกษตรและอาหาร โดยบูรณาการองค์ความรู้จากทั้งสองหน่วยงานและเครือข่ายพันธมิตร เพื่อร่วมกันพัฒนาหลักสูตรที่รองรับการเรียนรู้ในระดับภาคสนามและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สู่ชุมชนโดยเน้นการลงมือปฏิบัติ นำไปสู่การขยายผลในวงกว้าง เพื่อสร้างความร่วมมือด้านวิชาการ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ ให้เกิดการพัฒนาบุคลากรร่วมกัน สื่อ/กิจกรรมประชาสัมพันธ์ หอมขจรฟาร์ม: แปลงสาธิตเกษตรปลอดภัยอัจฉริยะ สวทช. จับมือมหาวิทยาลัยสวนดุสิต พัฒนางานวิจัย-ถ่ายทอดความรู้ด้าน วทน. ยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน