ฐานการเพาะเลี้ยงแหนแดง
ฐานชีวภัณฑ์และการควบคุมโดยชีววิธี
ฐานต้นอ่อนผักอินทรีย์
อีกหนึ่งฐานเรียนรู้ การผลิตต้นอ่อนผักอินทรีย์ ที่สามารถสร้างรายได้ให้เกษตรกรได้ด้วยระยะเวลาปลูกสั้น ดูแลง่าย สื่อความรู้ เพาะต้นอ่อนอย่างมืออาชีพ
ฐานการเพาะกล้าและทำวัสดุเพาะกล้า
เรียนรู้การทำวัสดุเพาะกล้า การเพาะกล้า การดูแลต้นกล้าเพื่อให้ได้กล้าที่ดีและแข็งแรง สื่อความรู้ วิดีโอความรู้ “เมล็ดพันธุ์ดี ต้นกล้างาม ผักคุณภาพ สร้างรายได้” ใบปลิวความรู้ “เพาะกล้าดี มีชัยไปกว่าครึ่ง”
ฐานพันธุ์และเมล็ดพันธุ์
เรียนรู้การผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์ เช่น ผักตระกูลสลัด ผักกวางตุ้ง พริก มะเขือเทศ
ฐานการผลิตผักอินทรีย์ในระบบโรงเรือน
ฐานเรียนรู้การผลิตผักอินทรีย์ในระบบโรงเรือน มีรูปแบบโรงเรือนปลูกพืชโครงสร้างต่างๆ เป็นแนวทางให้ผู้สนใจได้นำไปประยุกต์ใช้ โรงเรือนปลูกพืชต้นทุนต่ำ ใช้วัสดุในท้องถิ่น เช่น ไม้ไผ่ ไม้พื้นเมือง เสาปูน เป็นโครงสร้าง โดยมีทั้งแบบหลังคาจั่วและหลังคาโค้ง โรงเรือนปลูกพืชหลังคาจั่ว 2 ชั้น รูปแบบ สวทช. ใช้เหล็กเป็นโครงสร้าง สื่อความรู้โรงเรือนปลูกพืช (คลิกที่รูปเพื่อดาวน์โหลด)
บันทึกวิดีโออบรมเชิงปฏิบัติการภายใต้โครงการฯ เฟส 1 ปี 2566
บันทึกวิดีโออบรมเชิงปฏิบัติการภายใต้โครงการ “การพัฒนาศูนย์เรียนรู้และฝึกอบรมการผลิตพืชผักในระบบเกษตรอินทรีย์แบบครบวงจร ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สวทช. และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ระยะที่ 1 (คลิกที่ภาพ)
จาก ‘ศูนย์ (0)’ สู่ ‘ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ระดับชุมชน: สุขใจฟาร์ม’
เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ สำนักงานเกษตรอำเภอวังเหนือ และองค์การบริหารส่วนตำบลวังทรายคำ เปิด “ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ระดับชุมชน: สุขใจฟาร์ม” ต.วังทรายคำ อ.วังเหนือ จ.ลำปาง พร้อมกิจกรรมถ่ายทอดความรู้การผลิตกล้าคุณภาพและการเพาะต้นอ่อน โดยมี นางวณิชดา ไชยศิริ นายอำเภอวังเหนือ เป็นประธานเปิดงาน “เราเริ่มต้นจากศูนย์ ไม่มีองค์ความรู้เกษตรอะไรเลย ได้แต่ดูจากยูทูป กูเกิ้ล ซึ่งไม่สามารถให้องค์ความรู้กับเราได้ 100% จนได้ไปอบรมการผลิตผักอินทรีย์คุณภาพกับ สวทช.-ม.แม่โจ้ เป็นองค์ความรู้ตามหลักวิชาการ เอามาปรับใช้กับพื้นที่ของเรา ได้ลองผิดลองถูก จนปีนี้เข้าสู่ปีที่ 6 เราพร้อมเป็นศูนย์เรียนรู้เผยแพร่ความรู้ให้คนในชุมชนได้ผลิตผักอินทรีย์มีคุณภาพ เราเชื่อว่าความรู้ที่ได้ทำให้คุณภาพของผักและคุณภาพชีวิตของเราดีขึ้นได้จริงๆ” นายภัทรพล วนะธนนนท์ เกษตรกรรุ่นใหม่และเจ้าของฟาร์ม “สุขใจฟาร์ม” สะท้อนความรู้สึกในวันที่ฟาร์มของเขากลายเป็นแหล่งเรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์ให้กับชุมชน