เมื่อวันที่ 13-18 มกราคม 2568 น.ส.ทิฆัมพร แสงโสภา นักวิชาการสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) และคณะ พร้อมด้วย ดร.ศรีสวัสดิ์ ขันทอง กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพพืชและการจัดการแบบบูรณาการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สวทช. ลงพื้นที่ประชุมหารือและประเมินความพร้อมกลุ่มเกษตรกรอำเภอท่าตูม อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ และอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม รวม 15 กลุ่ม ที่จะเข้าร่วมรับการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีและการจัดทำแปลงสาธิตการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี การทดสอบข้าวสายพันธุ์ใหม่ และการใช้จุลินทรีย์เพื่อยับยั้งโรคพืชและย่อยสลายตอซังข้าวในฤดูกาลผลิต 2568 พร้อมทั้งติดตามเกษตรกรที่ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีข้าวสายพันธุ์ใหม่และการผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพดีเมื่อปี 2567 ข้าวสายพันธุ์ใหม่ 6 สายพันธุ์ เป็นผลงานการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโดยนักวิจัยไบโอเทค ประกอบด้วย 3 กลุ่มพันธุ์ข้าว 6 สายพันธุ์ คือ
นักวิชาการ สท. ติดตามให้คำแนะนำเกษตรกรมหาสารคามผลิตพืชผักในโรงเรือนปลูกพืชต้นทุนต่ำ
เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2568 น.ส.เลอทีชา เมืองมีศรี นักวิชาการสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับนายลิขิต มณีสินธุ์ นักปรับปรุงพันธุ์พืช ลงพื้นที่ติดตามและให้คำแนะนำการบริหารจัดการผลิตผักคุณภาพและโรงเรือนปลูกพืชเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชผักแก่สมาชิกวิสาหกิจชุมชนศูนย์เรียนรู้เกษตร Organic ของดียางสีสุราช และวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกพืชด้วยวิถีเกษตรอินทรีย์ ต.นาภู อ.ยางสีสุราช จ.มหาสารคาม รวม 33 คน พบว่า หลังจากที่เกษตรกรได้รับถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีโรงเรือนปลูกพืชและการบริหารจัดการผลิตผักคุณภาพ สามารถปลูกพืชผักได้หลายชนิดมากขึ้นและได้ผลผลิตดี เช่น ผักตระกูลสลัด กวางตุ้ง คะน้า ผักบุ้ง หอมแบ่ง แต่ยังพบปัญหาการทำลายของหนอนกระทู้ผักและหนอนใยผัก จึงได้แนะนำวิธีจัดการโดยหมั่นสำรวจและเก็บหนอนในแปลง พร้อมทั้งฉีดพ่นบาซิลลัส ทูริงจิเอนซิส (Bacillus thuringiensis) หรือบีทีในตอนเย็น สำหรับอาการปลายใบไหม้ในหอมแบ่ง แนะนำให้ใช้สารสกัดจากเปลือกไข่
การพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์และส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนทุ่งกุลาร้องไห้ด้วยนวนุรักษ์แพลตฟอร์ม
คลิกดาวน์โหลดเอกสาร
การถ่ายทอดเทคโนโลยีการขยายพันธุ์พืชและยกระดับการผลิตสมุนไพรคุณภาพดีของเกษตรกร
แผนงานและผลการดำเนินงานปี 2566 คลิกดาวน์โหลดเอกสาร
การพัฒนาศักยภาพกลุ่มผู้ผลิตผักในระบบเกษตรอินทรีย์แบบครบวงจร
คลิกดาวน์โหลดเอกสาร
การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับสิ่งทอพื้นเมือง
คลิกดาวน์โหลดเอกสาร
การพัฒนายกระดับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
แผนงานและผลการดำเนินงานปี 2566 คลิกดาวน์โหลดเอกสาร
การยกระดับคุณภาพมาตรฐานการผลิตข้าวและสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกรด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
แผนงานและผลการดำเนินงานปี 2566 คลิกดาวน์โหลดเอกสาร
มหาสารคาม
สวทช. โดย สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชนและสถาบันการศึกษาในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานคณะทำงานขับเคลื่อนการทำงานภายใต้โครงการ “การพัฒนาเศรษฐกิจด้วย BCG Model พื้นที่นำร่องทุ่งกุลาร้องไห้ (ปี พ.ศ.2567-2571)” Quick Win: ข้าว พืชหลังนา โคเนื้อ ประมง สิ่งทอ ผักอินทรีย์ สมุนไพร ท่องเที่ยว 1. การยกระดับคุณภาพมาตรฐานการผลิตข้าวและสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกรด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม2. การพัฒนายกระดับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม3. การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับสิ่งทอพื้นเมือง4. การพัฒนาศักยภาพกลุ่มผู้ผลิตผักในระบบเกษตรอินทรีย์แบบครบวงจร5. การถ่ายทอดเทคโนโลยีการขยายพันธุ์พืชและยกระดับการผลิตสมุนไพรคุณภาพดีของเกษตรกร6. การพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์และส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนทุ่งกุลาร้องไห้ด้วยนวนุรักษ์แพลตฟอร์ม เป้าหมาย: เกษตรกรและผู้มีรายได้น้อยเข้าถึงเทคโนโลยี 1,560 คน