นักวิชาการ สท. นำเสนอผลงานโครงการผลิตถั่วเขียวคุณภาพ KUML-มันสำปะหลังอินทรีย์ด้วยกลไกตลาดนำการผลิตในงาน TRIUP Fair 2024

นักวิชาการ สท. นำเสนอผลงานโครงการผลิตถั่วเขียวคุณภาพ KUML-มันสำปะหลังอินทรีย์ด้วยกลไกตลาดนำการผลิตในงาน TRIUP Fair 2024

เมื่อวันที่ 24-26 กันยายน 2567 น.ส.ณิฎฐา คุ้มโต นักวิชาการอาวุโส สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. หัวหน้าโครงการ “การผลิตถั่วเขียวคุณภาพสายพันธุ์ KUML ด้วยกลไกตลาดนำการผลิต” และนายชวินทร์ ปลื้มเจริญ นักวิชาการ สท./สวทช. หัวหน้าโครงการ “การผลิตมันสำปะหลังในระบบอินทรีย์ด้วยกลไกตลาดนำการผลิต” ร่วมนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมจากการดำเนินโครงการฯ ในโซน Innovation Showcase ภายในงาน “มหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม ประจำปี ๒๕๖๗ (TRIUP Fair 2024)” ด้วยแนวคิด “Impact Journey to Ignite Thailand” ณ รอยัลพารากอน ฮอลล์

สท. ร่วมกับ บ.อุบล ไบโอฯ ให้ความรู้เกษตรกรลาวใช้ชุดตรวจโรคใบด่างมันสำปะหลัง

สท. ร่วมกับ บ.อุบล ไบโอฯ ให้ความรู้เกษตรกรลาวใช้ชุดตรวจโรคใบด่างมันสำปะหลัง

สวทช. โดย สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับบริษัท อุบล ไบโอ เอทานอล จำกัด (มหาชน) จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การตรวจโรคใบด่างมันสำปะหลังโดยชุดตรวจแบบรวดเร็ว SLCMV Strip Test ระหว่างวันที่ 6–7 สิงหาคม 2567 ณ เมืองจำปาสักและเมืองสาละวัน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีนายชวินทร์ ปลื้มเจริญ นักวิชาการฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยี สท. และทีมงาน เป็นวิทยากรให้ความรู้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังอินทรีย์ทั้งสองพื้นที่ เพื่อป้องกันการระบาดของโรคไวรัสใบด่างมันสำปะหลังที่กำลังระบาดในภูมิภาคประเทศลุ่มแม่น้ำโขง กิจกรรมครั้งนี้ดำเนินงานภายใต้โครงการ Promotion of Sustainable Cassava Production in the Mekong Region through

ใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน เพิ่มผลผลิต เพิ่มรายได้มันสำปะหลังอินทรีย์

ใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน เพิ่มผลผลิต เพิ่มรายได้มันสำปะหลังอินทรีย์

“ภูมิใจที่เราได้ทำของปลอดภัยให้คนอื่นกิน และยังเป็นผลิตภัณฑ์ส่งออก ได้ช่วยคนต่างประเทศให้มีสุขภาพที่แข็งแรง” ความรู้สึกของ หลุยส์ ธรรมเที่ยง เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังอินทรีย์บ้านผาชัน ต.สำโรง อ.โพธิ์ไทร จ.อุบลราชธานี ไม่ต่างจาก รังสรรค์ อยู่สุข เกษตรกรบ้านคำฮี ต.นาคาย อ.ตาลสุม จ.อุบลราชธานี “ดีใจและภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์ปลอดภัยที่เริ่มต้นจากเกษตรกร” หลุยส์ และ รังสรรค์ เป็นเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังในระบบอินทรีย์ด้วยกลไกตลาดนำการผลิต ซึ่งสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับบริษัท อุบล ไบโอเอทานอล จำกัด (มหาชน) หรือ UBE นำองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ให้ได้คุณภาพ โดยดำเนินงานกับกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดอุบลราชธานี ยโสธร ศรีสะเกษและอำนาจเจริญ การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ตามค่าวิเคราะห์ดินด้วยเทคโนโลยี Smart NPK

สวทช.-สวก.-กรมส่งเสริมการเกษตร ถ่ายทอดเทคโนโลยีผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ นำร่อง 160 ราย พื้นที่ 500 ไร่ ผลผลิตเพิ่ม 20-30%

สวทช.-สวก.-กรมส่งเสริมการเกษตร ถ่ายทอดเทคโนโลยีผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ นำร่อง 160 ราย พื้นที่ 500 ไร่ ผลผลิตเพิ่ม 20-30%

เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 ณ แปลงเกษตรกรต้นแบบ (นายรังสรรค์ อยู่สุข) หมู่ 10 ต.นาคาย อ.ตาลสุม จ.อุบลราชธานี: นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นประธานเปิดงานวันถ่ายทอดผลงานวิจัยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ตามค่าวิเคราะห์ดินสำหรับมันสำปะหลังอินทรีย์สู่เกษตรกรเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ (Field Day) ประจำปี 2567  โดยมีนางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) พร้อมด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. เกษตรจังหวัดอุบลราชธานี ภาคเอกชนและเกษตรกรในพื้นที่เข้าร่วมงาน นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า กรมส่งเสริมการเกษตรมีความมุ่งมั่นส่งเสริมให้เกษตรกรมีความเข้มแข็งพึ่งพาตนเองได้ มีรายได้เพิ่มขึ้น โดยได้รับการส่งเสริมพัฒนาขีดความสามารถการผลิตและจัดการสินค้าตามความต้องการของตลาดได้  เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยได้รับบริการทางการเกษตรและองค์ความรู้จากการศึกษา

เมื่อ ‘ตลาดนำการผลิต’ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์

เมื่อ ‘ตลาดนำการผลิต’ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์

โครงการ “อุบลโมเดล” คือจุดเริ่มการทำงานด้วยกลไกตลาดนำการผลิต ซึ่งสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับบริษัท อุบล ไบโอ เอทานอล จำกัด (มหาชน) หรือ UBE ดำเนินงานกับกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ ต.กู่จ่าน อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร จำนวน 60 คน พื้นที่ปลูกรวม 354 ไร่ โดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ให้ได้คุณภาพดี ซึ่งในปี 2565 สามารถสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจ 1.3 ล้านบาท จากปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นเป็น 4 ตัน/ไร่ จากเดิม 3 ตัน/ไร่ แม้ผลผลิตจะเพิ่มขึ้นไม่มาก แต่ด้วยราคารับซื้อมันสำปะหลังอินทรีย์ที่สูงและต้นทุนการผลิตที่ต่ำลง ทำให้เกษตรกรมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น ในปี พ.ศ.2565

สวทช.-อุบลไบโอเอทานอล เดินหน้า “อุบลโมเดลพลัสนวัตกรรม” ยกระดับมันสำปะหลังอินทรีย์

สวทช.-อุบลไบโอเอทานอล เดินหน้า “อุบลโมเดลพลัสนวัตกรรม” ยกระดับมันสำปะหลังอินทรีย์

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ลงนามบันทึกความร่วมมือกับบริษัท อุบล ไบโอ เอทานอล จำกัด (มหาชน) หรือ UBE ภายใต้โครงการการเพิ่มประสิทธิภาพด้านเกษตรอินทรีย์ ต่อยอดการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลัง “อุบลโมเดล” ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม สู่ “อุบลโมเดลพลัสนวัตกรรม” ขยายพื้นที่ทำงานครอบคลุม 4 จังหวัดแหล่งผลิตมันสำปะหลังสำคัญของภาคอีสาน ได้แก่ อุบลราชธานี ยโสธร ศรีสะเกษ และอำนาจเจริญ ยกระดับการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ ต้นทางวัตถุดิบคุณภาพสู่การแปรรูป “ฟลาวมันสำปะหลัง” อาหารแห่งอนาคต ตอบโจทย์โมเดลเศรษฐกิจ BCG ใช้ทรัพยากรในประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ รองผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า