สร้างมูลค่าเพิ่มยางพารา เสริมเศรษฐกิจชุมชน ด้วย ‘นวัตกรรมและเทคโนโลยี’

สร้างมูลค่าเพิ่มยางพารา เสริมเศรษฐกิจชุมชน ด้วย ‘นวัตกรรมและเทคโนโลยี’

“เราต้องรู้ว่าเราทำอะไร เพื่ออะไร และต้องลงลึกไปทิศทางไหน ถ้าไม่รู้ เราก็พัฒนาไปไม่ได้” ประโยคที่บ่งบอกถึงความมุ่งมั่นในการทำงานของ ณฐนนท เจริญรมย์ ผู้จัดการบริษัท สไมล์ รับเบอร์ จำกัด และผู้ประกอบการเกษตร โดยมี “ที่นอนปุ่มยางพารา” สินค้าเพื่อสุขภาพที่ได้รับการขึ้นทะเบียนนวัตกรรม ปี พ.ศ. 2566 เป็นหนึ่งผลลัพธ์ที่สะท้อนประโยคข้างต้นได้ดี ทำเกษตรไม่รวยแต่ไม่จน มีกินมีใช้ คำพูดของพ่อที่เป็นทั้งผู้ใหญ่บ้านเนินสว่างและเป็นเกษตรกรปลูกมันสำปะหลัง มะพร้าว สับปะรดและอ้อย ก่อนเปลี่ยนมาทำสวนยางพาราทั้งหมดเมื่อปี พ.ศ. 2543 และส่งยางแผ่นเข้าโรงงาน ปัจจุบันพื้นที่กว่า 80% ของบ้านเนินสว่าง อ.บ้านค่าย จ.ระยอง เป็นสวนยางพารา ชาวบ้านส่วนใหญ่รับจ้างกรีดยาง หลังเรียนจบปริญญาตรีด้านบริหารการตลาดและกำลังจะไปศึกษาต่อที่ต่างประเทศ ณฐนนท ต้องเปลี่ยนเส้นทางมุ่งสู่บ้านเกิดเพื่อดูแลธุรกิจยางพาราของครอบครัว หลังจากที่พ่อล้มเจ็บและจากไป

หมอนยางพาราบ้านแพรกหา ต้นแบบการแก้ปัญหาราคาน้ำยาง ด้วยการพึ่งพาตัวเอง

หมอนยางพาราบ้านแพรกหา ต้นแบบการแก้ปัญหาราคาน้ำยาง ด้วยการพึ่งพาตัวเอง

ในภาวะวิกฤติราคาน้ำยางตกต่ำ อนันต์ จันทร์รัตน์ ผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรบ้านแพรกหา จำกัด หนึ่งในเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราที่ต้องการแก้ปัญหาราคาน้ำยางเช่นกัน ด้วยวิสัยทัศน์ที่ยาวไกลและความมุ่งมั่น จึงเกิดเป็นธุรกิจแปรรูปน้ำยางพาราในระดับชุมชนแห่งแรกที่สามารถผลิตหมอนยางได้เองทุกกระบวนการ ตั้งแต่การรับน้ำยางสดจากสมาชิกไปจนถึงการผลิตเพื่อจำหน่าย พึ่งพาตัวเองและแก้ไขปัญหาราคาน้ำยางได้อย่างยั่งยืน ย้อนหลังไปเมื่อปี 2557 อนันต์ เป็นผู้ช่วยผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรพนมวังก์ จำกัด เขามีแนวคิดผลิตหมอนยางพาราเพื่อช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับน้ำยางสด ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากคุณชาย คงแก้ว ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจ กรมส่งเสริมสหกรณ์ ดำเนินการของบประมาณตามยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ปี 2558 (โครงการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ยางพารา) จัดตั้งโรงงานผลิตหมอนและที่นอนยางพาราเพื่อสุขภาพ “โครงการที่ไม่มีวันเป็นไปได้ ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เกษตรกรไม่มีทางทำได้” คือคำสบประมาทที่ได้ยินจนชินหู แต่กลับเป็นแรงผลักดันที่ทำให้ อนันต์ เดินหน้าแก้ไขปัญหาราคาน้ำยางตามแนวคิดที่ตนเองมองแล้วว่า “เป็นไปได้” หนทางความฝันของเขาเริ่มชัดเจนขึ้น แต่กลับไม่ได้รับการตอบรับจากชุมชนให้จัดตั้งโรงงานผลิตหมอนยางพาราตามโครงการ อนันต์ นำความรู้และประสบการณ์ที่สั่งสมมาพร้อมโครงการกลับสู่บ้านเกิดที่ตำบลแพรกหา อ.ควนขนุน จ.พัทลุง หารือผู้นำท้องถิ่นและชุมชนถึงโครงการที่ได้มา จนได้รับการยอมรับ และนำมาสู่การจัดตั้ง สหกรณ์การเกษตรบ้านแพรกหา จำกัด เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2558 มีสมาชิกจัดตั้งจำนวน 50 คน เริ่มผลิตหมอนยางพาราเมื่อวันที่