เกษตรกรยโสธรเฮ ปลูก ‘ถั่วเขียว KUML’ 2 เดือน สร้างรายได้หลักหมื่น สวทช.-ธ.ก.ส.-สนง.เกษตรยโสฯ นำปลูกครบวงจร ขยายปลูกพันไร่ ปี 69

เกษตรกรยโสธรเฮ ปลูก ‘ถั่วเขียว KUML’ 2 เดือน สร้างรายได้หลักหมื่น สวทช.-ธ.ก.ส.-สนง.เกษตรยโสฯ นำปลูกครบวงจร ขยายปลูกพันไร่ ปี 69

(11 มีนาคม 2568) ณ บ้านกุดเสถียร ตำบลสร้างมิ่ง อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร น.ส.วิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และผู้อำนวยการ สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) นำสื่อมวลชนร่วมงานวันเก็บเกี่ยวถั่วเขียว KUML และเปิดตัวศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีการผลิตถั่วเขียว KUML ระดับชุมชน จากงานวิจัยสู่แปลงผลิตด้วยความรู้และเทคโนโลยี โดยมีนายสันชัย พัฒนะวิชัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร เป็นประธานเปิดงาน น.ส.วิราภรณ์ กล่าวว่า สท. สวทช. ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับ ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน กลุ่มส่งเสริมพืชน้ำมันและพืชตระกูลถั่ว สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร

สท. จับมือ ม.เกษตรศาสตร์-สนง.เกษตรยโสธร ลงพื้นที่ติดตามการปลูกถั่วเขียว KUML

สท. จับมือ ม.เกษตรศาสตร์-สนง.เกษตรยโสธร ลงพื้นที่ติดตามการปลูกถั่วเขียว KUML

เมื่อวันที่ 8-9 กุมภาพันธ์ 2568 น.ส.ณิฏฐา คุ้มโต นักวิชาการอาวุโส สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. พร้อมด้วย รศ.ดร.ประกิจ สมท่า ผศ.ดร.กนกวรรณ เที่ยงธรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดยโสธร ลงพื้นที่ติดตามและให้คำปรึกษาเกษตรกรผู้ปลูกถั่วเขียว KUML ในอำเภอเลิงนกทา อำเภอทรายมูล อำเภอค้อวัง อำเภอมหาชนะชัย และอำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร ซึ่งเกษตรกรเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว แต่จากสภาพอากาศที่หนาวเย็นต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมาส่งผลต่อการเจริญเติบโตของถั่วเขียวและปริมาณผลผลิตที่จะได้รับ อย่างไรก็ตามเกษตรกรยังให้ความสนใจที่จะเรียนรู้และผลิตในฤดูกาลต่อไป

สท. ร่วมงาน Green Day จังหวัดยโสธร ให้ความรู้ปลูกถั่วเขียว KUML พืชหลังนา ใช้น้ำน้อย

สท. ร่วมงาน Green Day จังหวัดยโสธร ให้ความรู้ปลูกถั่วเขียว KUML พืชหลังนา ใช้น้ำน้อย

เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมจัดกิจกรรมให้ความรู้ “การปลูกพืชหลังนา ใช้น้ำน้อย : ถั่วเขียว KUML” ในงานเวทีรณรงค์สร้างการรับรู้และการเรียนรู้การเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Day) จังหวัดยโสธร ณ แปลงเกษตรกรต้นแบบนายบุญเรือง กองคำ บ้านผักบุ้งหมู่ที่ 6 ต.ดงแคนใหญ่ อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร โดยมีนายชาญชัย ศรศรีวิชัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร เป็นประธานในพิธีเปิดและได้ร่วมกิจกรรมสาธิตการหยอดเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว KUML งาน Green Day ครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนเกษตร ป้องกันและแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่การเกษตร มีเกษตรกรกว่า 200 คนเข้าร่วมกิจกรรมผ่านฐานเรียนรู้ของหน่วยงานต่างๆ อาทิ การไถกลบตอซัง

สท.-สนง.เกษตรยโสธร-ธ.ก.ส. ลงพื้นที่ประเมินเกษตรกรร่วมปลูกถั่วเขียว KUML

สท.-สนง.เกษตรยโสธร-ธ.ก.ส. ลงพื้นที่ประเมินเกษตรกรร่วมปลูกถั่วเขียว KUML

เมื่อวันที่ 8-10 ตุลาคม 2567 น.ส.ณิฎฐา คุ้มโต นักวิชาการอาวุโส สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) และทีมงาน พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดยโสธร เกษตรอำเภอและเจ้าหน้าที่ ธ.ก.ส. ลงพื้นที่ชี้แจงโครงการและประเมินศักยภาพกลุ่มเกษตรกรที่จะปลูกถั่วเขียวเป็นพืชหลังนา โดยใช้กลไกตลาดนำการผลิต โดยมีเกษตรกรจาก 8 อำเภอของจังหวัดยโสธรให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการ ได้แก่ ตำบลกุดน้ำใส อำเภอค้อวัง ตำบลม่วง อำเภอมหาชนะชัย ตำบลดงแคนใหญ่และตำบลลุมพุก อำเภอคำเขื่อนแก้ว ตำบลน้ำคำใหญ่ อำเภอเมืองยโสธร ตำบลไผ่และตำบลดุลาด อำเภอทรายมูล ตำบลกำแมด อำเภอกุดชุม ตำบลคำไผ่ อำเภอไทยเจริญ ตำบลโคกสำราญและตำบลกุดเชียงหมี อำเภอเลิงนกทา ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่จากสหกรณ์เกษตรอินทรีย์เลิงนกทาและไทยเจริญ ตลาดรับซื้อผลผลิตได้ร่วมลงพื้นที่สร้างความเชื่อมั่นการรับซื้อผลผลิตถั่วเขียว KUML ให้เกษตรกรด้วย

สท. ผนึกกรมส่งเสริมการเกษตร-ธ.ก.ส. เดินหน้าส่งเสริมเกษตรกรยโสธรปลูกถั่วเขียว KUML ด้วยกลไกตลาดนำการผลิต

สท. ผนึกกรมส่งเสริมการเกษตร-ธ.ก.ส. เดินหน้าส่งเสริมเกษตรกรยโสธรปลูกถั่วเขียว KUML ด้วยกลไกตลาดนำการผลิต

เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. โดยน.ส.ณิฏฐา คุ้มโต นักวิชาการอาวุโส และทีมงาน ประชุมชี้แจงและสร้างความร่วมมือกับสำนักงานเกษตรจังหวัดยโสธร กรมส่งเสริมการเกษตร ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จังหวัดยโสธร สหกรณ์เกษตรอินทรีย์เลิงนกทาและไทยเจริญ จำกัด ซึ่งเป็นตลาดรับซื้อในพื้นที่ และประธานกลุ่มเกษตรกรที่จะยกระดับเป็นผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว KUML โดยมีเกษตรอำเภอจากทั้ง 9 อำเภอของจังหวัดยโสธร เข้าร่วมรับฟังข้อมูลและกระบวนการทำงานร่วมกัน จากการประชุมมีแผนการขยายพื้นที่ปลูกถั่วเขียว KUML ในจังหวัดยโสธรในฤดูกาลผลิต 2567/2568 จำนวน 350 ไร่ นอกจากการประชุมสร้างความเข้าใจการทำงานร่วมกันแล้ว ทีมนักวิชาการ สท. ยังได้ลงพื้นที่ในช่วงวันที่ 8-11 ตุลาคมนี้ เพื่อประชุมชี้แจงโครงการและประเมินศักยภาพกลุ่มเกษตรกรที่จะปลูกถั่วเขียวเป็นพืชหลังนา โดยใช้กลไกตลาดนำการผลิต