ระบบให้น้ำอัจฉริยะสำหรับพืชแปลงเปิด ยกระดับสวนทุเรียนไทย

ระบบให้น้ำอัจฉริยะสำหรับพืชแปลงเปิด ยกระดับสวนทุเรียนไทย

สมัยนี้เป็นยุคนวัตกรรม เป็นยุคของคนรุ่นใหม่ เรามีที่ดินอยู่แล้ว เอาเทคโนโลยีมาช่วยทำสวน คนรุ่นใหม่จะได้อยากทำสวนมากขึ้น -ชาลี จันทร์แสง- สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ได้ดำเนินโครงการ “การขยายผลและถ่ายทอดเทคโนโลยี Smart farm ด้านการเกษตร กลุ่มไม้ผลภาคตะวันออก ผู้ปลูกทุเรียน พื้นที่จังหวัดระยอง” โดยร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่จังหวัดระยองขยายผลการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรอัจฉริยะใน 30 จุด ใน 5 อำเภอของจังหวัดระยอง ได้แก่ อำเภอแกลง อำเภอเขาชะเมา อำเภอวังจันทร์ อำเภอเมืองระยอง และอำเภอบ้านค่าย เพื่อให้เกษตรกรนำไปประยุกต์ใช้บริหารจัดการแปลงทุเรียนได้อย่างแม่นยำ สร้างเศรษฐกิจฐานรากให้พื้นที่และเป็นต้นแบบการทำเกษตรสมัยใหม่ให้พื้นที่อื่นๆ ต่อไป ชาลี จันทร์แสง เกษตรกรดีเด่นระดับจังหวัด (สาขาสวนผลไม้) และ ปรีชา กาละวัย อดีตโปรแกรมเมอร์บริษัทเอกชน

ปลูก ‘มะยงชิดคุณภาพ’ ให้ ‘สมาร์ทเทคโนโลยี’ เป็นตัวช่วย

ปลูก ‘มะยงชิดคุณภาพ’ ให้ ‘สมาร์ทเทคโนโลยี’ เป็นตัวช่วย

“เทคโนโลยีช่วยทุ่นเวลาและให้ความรู้” คำตอบสั้นๆ จาก ฉัตรชนก ทองเรือง หรือ ลุงแดง วัย 59 ปี เจ้าของสวนมะยงชิด “ทองเรือง” เมื่อพูดถึง เทคโนโลยีการให้น้ำอัจฉริยะสำหรับพืชแปลงเปิด ที่เขาได้คลุกคลีมาเกือบ 2 ปี “มะยงชิด” เป็นผลไม้ขึ้นชื่อของจังหวัดนครนายกและเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ของจังหวัด ซึ่งสวนทองเรือง แห่งนี้เป็นแหล่งผลิตมะยงชิดพันธุ์ทูลเกล้าที่คว้ารางวัลการประกวดมานับไม่ถ้วน ผลผลิตของสวนเฉลี่ยปีละ 2 ตัน ถูกจับจองล่วงหน้าและจำหน่ายที่หน้าสวนเท่านั้น ในราคากิโลกรัมละ 350-400 บาท ด้วยความชอบรสชาติที่หวานและหอมกรอบของมะยงชิด ทำให้ ลุงแดง หันมาปลูกมะยงชิดอย่างจริงจังตั้งแต่ปี 2535 เรียนรู้ สังเกต จดบันทึกการปลูกและพัฒนาการปลูกมะยงชิดของตนเอง จนได้ผลผลิตที่ “รสชาติหวาน

แปลง “ความรู้สึก” เป็น “ค่าตัวเลข” เพิ่มคุณภาพให้สวนทุเรียน

แปลง “ความรู้สึก” เป็น “ค่าตัวเลข” เพิ่มคุณภาพให้สวนทุเรียน

“เกษตรกรควรเปิดโอกาสให้ตัวเองได้เรียนรู้และมีความอยากเรียนรู้” สมบูรณ์ งามเสงี่ยม เจ้าของสวนทุเรียนบัวแก้ว และรองประธานกลุ่มปรับปรุงคุณภาพทุเรียนบ้านวังจันทร์ ต.วังจันทร์ อ.วังจันทร์ จ.ระยอง ให้มุมมองการทำเกษตรในยุคสมัยนี้ “คนทำสวนที่ทำตามพ่อแม่มา ถามว่าปีนี้คิดว่าจะได้ทุเรียนเท่าไหร่ ไม่รู้ จะออกดอกเมื่อไหร่ ไม่รู้ แต่ตัวผมทำสวนเป็นธุรกิจ ต้องคาดการณ์ว่าจะต้องได้เท่าไหร่” ด้วยบุคลิกที่เป็นนักทดลองและมองหาวิธีที่จะทำให้การทำสวนทุเรียนได้ทั้งคุณภาพและราคา สมบูรณ์และภรรยาตัดสินใจทำสวนทุเรียนนอกฤดูเมื่อเกือบสิบปีก่อน เพื่อหนีปัญหาผลผลิตทุเรียนในฤดูที่ล้นตลาดและราคาตก ท่ามกลางเสียงคัดค้านและคำสบประมาท เขาและภรรยาไม่ตอบโต้ แต่ลงมือทำให้เห็นจากพื้นที่ 24 ไร่ และเพิ่มเป็น 70 ไร่ในปัจจุบัน สร้างรายได้ถึงสิบล้านบาทต่อปี แม้ประสบความสำเร็จจากการทำสวนทุเรียนนอกฤดู แต่ สมบูรณ์ ไม่หยุดที่จะเรียนรู้ ยังคงเปิดโอกาสให้ตัวเองรับความรู้ใหม่ๆ มาทดลองและปรับใช้กับสวนทุเรียนของเขา ดังที่เขายินดีให้ใช้ต้นทุเรียน 30 ต้น บนพื้นที่ 2 ไร่

สมาร์ทเทคโนโลยี

สมาร์ทเทคโนโลยี

“เกษตรแม่นยำ (Precision agriculture)” เป็นหนึ่งในกลุ่มเทคโนโลยีเป้าหมายการทำงานของ สวทช. ที่ตอบโจทย์การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศด้วยนวัตกรรม เพื่อให้ประเทศไทยก้าวสู่ประเทศที่มีรายได้สูง โรงเรือนอัจฉริยะ ระบบการให้น้ำอัตโนมัติสำหรับพืชไร่และพืชสวน และระบบเซนเซอร์ไร้สายสำหรับการติดตามสภาวะแวดล้อมในฟาร์มเพื่อการควบคุมและบริหารจัดการ เป็นสมาร์ทเทคโนโลยี (smart technology) ที่สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ได้ถ่ายทอดความรู้และการใช้งานให้กับเกษตรกรไทย โดยมุ่งหวังให้เกษตรกรในพื้นที่ต่างๆ ได้เข้าถึงความรู้ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสมกับการใช้งานและสภาพความพร้อมในแต่ละพื้นที่ เน้นแนวคิดการใช้สมาร์ทเทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและคุณภาพผลผลิต บริหารจัดการทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเป็นต้นแบบแหล่งเรียนรู้การใช้สมาร์ทเทคโนโลยีให้กับเกษตรกรรายอื่น เกิดการสร้างเครือข่ายและขยายผลการใช้เทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น เป็นการขับเคลื่อนการใช้นวัตกรรมในภาคการเกษตรสอดคล้องวิสัยทัศน์ประเทศ “ไทยแลนด์ 4.0” บทความ สิ่งพิมพ์ วิดีโอ บทความ Aqua-IoT ตัวช่วยฟาร์มกุ้ง เลี้ยงรอด ได้คุณภาพ ลดต้นทุน ระบบให้น้ำอัจฉริยะสำหรับพืชแปลงเปิด ยกระดับสวนทุเรียนไทย ปลูก ‘มะยงชิดคุณภาพ’