สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน เทศบาลตำบลคำพอุงและวิสาหกิจชุมชนกลุ่ม ทสม.อนุรักษ์ซากดึกดำบรรพ์ (ภูกุ้มข้าว) จัดกิจกรรม “ส่งเสริมท่องเที่ยวชุมชน ภูกุ้มข้าวงามสง่า ปทุมมาเบ่งบาน หอย 130 ล้านปี แหล่งธรณีคำพอุง” เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2565 ณ วัดภูกุ้มข้าว ต.คำพอุง อ.โพธิ์ชัย จ.ร้อยเอ็ด ภายใต้โครงการ “การพัฒนาเครือข่ายผู้ผลิตปทุมมาและกระเจียวคุณภาพเพื่อการค้าในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” เพื่อประชาสัมพันธ์เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ แหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น แหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์ชุมชน และส่งเสริมปทุมมาให้เป็นพืชทางเลือก ส่งเสริมการท่องเที่ยวและเพิ่มรายได้ให้ชุมชน ภายในงานมีกิจกรรมที่หลากหลาย อาทิ นิทรรศการแสดงการใช้ประโยชน์จากดอกปทุมมา แปลงสาธิตปทุมมาสายพันธุ์จากงานวิจัย การประกวดอาหารพืชถิ่นจากพืชในชุมชน เช่น กระเจียว
สวทช. ผนึก มทร.อีสาน พัฒนา-ถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่ พลิกทุ่งกุลาให้ “ยิ้มได้”
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) – มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร.อีสาน) ลงนามบันทึกความร่วมมือ “การพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่ เพื่อพัฒนาอาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิตคนในชุมชนทุ่งกุลาร้องไห้” ใช้กลไก Training Hub สถานีกระจายความรู้สร้างทักษะให้เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นต้นแบบขยายผลการใช้เทคโนโลยีให้ครอบคลุมพื้นที่เขตทุ่งกุลาร้องไห้ ตั้งเป้ายกระดับรายได้เกษตรกรก้าวพ้นขีดความยากจน สอดรับการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG มุ่งให้ประชาชนอยู่ดีกินดี นายเชวงศักดิ์ พลเยี่ยม รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า จังหวัดร้อยเอ็ดมีประวัติศาสตร์ ประเพณี และวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน มุ่งเน้นพัฒนาความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและสังคมบนพื้นฐานแหล่งผลิต สร้างมูลค่าข้าวหอมมะลิคุณภาพสูง และเป็นเมืองน่าเที่ยว น่าอยู่ การดำเนินงานของแต่ละหน่วยงานในบันทึกข้อตกลงนี้สอดคล้องกับพันธกิจของจังหวัดทั้ง 3 ประการ คือ 1) ส่งเสริมและพัฒนาการผลิตข้าวหอมมะลิ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในนวัตกรรมเพิ่มศักยภาพในการบริหารทรัพยากรและสินค้าเกษตรให้เป็นเกษตรที่ปลอดภัย เกษตรอินทรีย์
สวทช.-พันธมิตรจับมือจังหวัดร้อยเอ็ด เดินหน้า Smart Tambon Model
(20 พฤศจิกายน 2562) ที่เทศบาลตำบลคำพอุง อ.โพธิ์ชัย จ.ร้อยเอ็ด – สวทช. ลงนามบันทึกความร่วมมือกับจังหวัดร้อยเอ็ด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน และเครือเบทาโกร เดินหน้าโครงการ Smart Tambol Model นำร่องที่เทศบาลตำบลคำพอุง พัฒนาชุมชนเชิงพื้นที่แบบองค์รวม 5 ด้านด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และผู้อำนวยการสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) กล่าวว่า การส่งเสริมการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ในการพัฒนาชุมชนเชิงพื้นที่แบบองค์รวมในระดับตำบล หรือ Smart Tambon Model เป็นต้นแบบการพัฒนาท้องถิ่นที่เกิดจากการบูรณาการความร่วมมือของหน่วยงานทั้งภาครัฐ สถาบันการศึกษา และภาคเอกชน เพื่อพัฒนาชุมชนเชิงพื้นที่แบบองค์รวม 5