เทคโนโลยีการทำเกษตรอินทรีย์ @ ฆ้องชัยพัฒนา

การผลิตมะเขือเทศอินทรีย์ที่สวนปันบุญ การเพาะกล้าที่สวนปันบุญ การเลี้ยงชันโรงที่สวนจิราภาออร์แกนิค

มะเขือเทศอินทรีย์ที่สวนปันบุญ

มะเขือเทศอินทรีย์ที่สวนปันบุญ

“มะเขือเทศอินทรีย์” อีกหนึ่งผลผลิตคุณภาพของวิสาหกิจชุมชนปันบุญ ที่ผสานทั้งความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นของสมาชิกกลุ่ม ทำให้ได้มะเขือเทศอินทรีย์ที่มีรสชาติหวาน เป็นที่ชื่นชอบของลูกค้า โดยพันธุ์ที่กลุ่มฯ ปลูก คือ พันธุ์ซันไซน์ พันธุ์แดงโกเมน (พันธุ์ที่ปรับปรุงโดย สวทช.) และพันธุ์โซลาริโน่ (พันธุ์การค้า) เรื่องต้องรู้ก่อนตัดสินใจปลูกมะเขือเทศ เพื่อประกอบการตัดสินใจ วางแผนบริหารจัดการให้สอดคล้องกับตลาดและต้นทุนของตนเอง (ทุน แรงงาน) เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการปลูก ทั้งด้านการผลิต การตลาด การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวและการขนส่ง o รู้ตลาด ความต้องการของตลาด เพื่อเลือกชนิดพันธุ์มะเขือเทศ วางแผนการปลูก  o รู้สภาพแวดล้อม อุณหภูมิ ความชื้น แสง โรคและแมลงศัตรูพืช รวมไปถึงดิน น้ำ ปัจจัยการผลิต เพื่อวางแผนการบริหารจัดการ เลือกวิธีป้องกัน/กำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชที่มีโอกาสเกิดขึ้น o รู้จักเทคโนโลยี เลือกใช้ตามความจำเป็นและทุน

วิสาหกิจชุมชนปันบุญ

วิสาหกิจชุมชนปันบุญ

เริ่มแรกเลยเราทำนาอินทรีย์ซึ่งทำยาก คนเฒ่าคนแก่หลายคนก็ท้อ ได้แต่บอกว่าให้ทำต่อ อดทน ทำนาอินทรีย์มันยาก แต่เราได้บุญ ทำผักอินทรีย์ ผักที่ไม่มียา มันก็ได้บุญ -สุจารี ธนสิริธนากร- คือที่มาของชื่อ “สวนปันบุญ” แหล่งผลิตข้าวและผักอินทรีย์ที่คนปลูกเชื่อมั่นว่าคือสิ่งดีๆ ที่อยากแบ่งปัน นับแต่ก่อตั้งกลุ่ม “วิสาหกิจชุมชนปันบุญ” เมื่อปลายปี 2555 โดยมี สุจารี ธนสิริธนากร เป็นหัวเรือสำคัญที่เปิดรับและปรับเปลี่ยนนำพากลุ่มฯ พัฒนาจนกลายเป็น “ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ปันบุญ” ที่ผลผลิตทั้งข้าวและผักได้การรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ (Organic Thailand) สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมดำเนินงานกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปันบุญเมื่อปี 2561 ผ่านการเชื่อมโยงเครือข่ายจากวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์โนนกลาง โดยทำงานร่วมกับกรมวิชาการเกษตร ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาฬสินธุ์ (ศวพ.กาฬสินธุ์) มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (ราชบุรี) และบริษัท