ยิ่งเราทำบ่อยก็ยิ่งเชี่ยวชาญ ดูคุณภาพจากสปอร์ฟุ้ง ไม่มีเส้นใย ส่งตรวจมีปริมาณสปอร์ตามมาตรฐานที่ได้รับถ่ายทอดจาก สวทช. -สุนทร ทองคำ- “ไม่ได้มองว่าชีวภัณฑ์ที่เราผลิตจะเป็นรายได้หลัก แต่การส่งเสริมให้คนใช้ เป็นสิ่งที่ต้องทำมากกว่า” คำบอกเล่าจาก สุนทร ทองคำ ประธานกลุ่มเกษตรอินทรีย์ตำบลวังท่าช้าง อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี บ่งบอกความตั้งใจของเขาบนเส้นทางเกษตรอินทรีย์ที่มี ‘ชีวภัณฑ์’ เป็นอาวุธสำคัญ สุนทร เติบโตในครอบครัวชาวนา เห็นความยากลำบากในงานเกษตรมาแต่เล็ก เขาจึงปฏิเสธที่จะเดินตามอาชีพของครอบครัว มุ่งสู่ชีวิตมนุษย์เงินเดือนที่เอื้อความสะดวกสบาย แต่เมื่อภาระงานประจำที่ถาโถม ทำให้เขาเริ่มหวนคิดถึงห้องทำงานในธรรมชาติ “ตอนนั้นมองทุกอาชีพ ถ้าไปขายของ ก็มองความแน่นอนไม่มี ถ้าจะไปรับจ้าง แล้วเราจะลาออกมาทำไม พรสวรรค์ตัวเองก็ไม่มี ก็เลยมองว่าเกษตรนี่ล่ะน่าจะตอบโจทย์ตัวเองที่สุด” สุนทร วางแผนและเตรียมตัวก่อนลาออกจากงานอยู่ 2 ปี เริ่มต้นเป็น “เกษตรกรวันหยุด” เรียนรู้การทำเกษตรบนพื้นที่
รู้จัก “บิวเวอเรีย” อย่างเข้าใจ จัดการศัตรูพืชด้วยความรู้
“ผมไม่ได้มองว่าต้องประสบความสำเร็จที่รุ่นผม แต่ทำเพื่อสร้างพื้นฐานให้รุ่นต่อไป การทำเกษตรทุกวันนี้สาหัสทั้งจากการใช้ยาเคมี ปัจจัยการผลิตและภูมิปัญญาที่หายไป แล้วก็คนไม่ได้มองว่าตัวเองเป็นต้นเหตุด้วย …อาชีพเกษตรยังต้องอยู่กับประเทศ ความปลอดภัยจากการใช้สารเคมีจะสร้างความยั่งยืนให้เกษตรได้” ชนะพล โห้หาญ อดีตพนักงานบริษัทที่หันมาทำสวนผลไม้ตั้งแต่ปี 2543 บนพื้นที่ 16 ไร่ของภรรยา ในตำบลตรอกนอง อ.ขลุง จ.จันทบุรี เริ่มต้นทำสวนมังคุดด้วยความรู้ที่เท่ากับศูนย์ อาศัยขอความรู้และทำตามเกษตรกรเพื่อนบ้าน แต่ผลผลิตกลับได้ไม่เท่าเขาและยังเสียหายมากกว่า “ช่วง 3-4 ปีแรกยังใช้สารเคมี ทำสวนแบบไม่มีความรู้ ทำตามเขา ใช้ยาเคมี ก็ใช้ไม่เป็น จนมีช่วงที่เกษตรกรตื่นตัวเรื่องน้ำหมักชีวภาพ ได้ไปอบรม ก็รู้สึกว่าตรงจริตเรา ไม่ต้องซื้อ ใช้วัตถุดิบในสวนมาใช้ได้” ชนะพล เริ่มใช้น้ำหมักชีวภาพในสวนโดยลดสัดส่วนการใช้สารเคมี เพื่อตอบโจทย์ “ทำอย่างไรให้ได้ผลผลิต” ซึ่งเขาก็ไม่ผิดหวัง และเห็นคล้อยตามเกษตรกรคนอื่นที่ว่า “ผลผลิตดีขึ้นเพราะน้ำหมัก” แต่เมื่อเข้าสู่ปีที่