“ตอนเช้าถ้ามีน้ำค้างที่ยอดหญ้า แสดงว่าความชื้นสูง แต่ถ้ายอดหญ้าแห้ง ความชื้นต่ำ แมลงปอบินต่ำ ฝนจะตกหนัก หรือลมโยกๆ ต้นไม้โศก เตรียมให้น้ำได้…” ปรากฏการณ์ของธรรมชาติที่ชาวสวนผลไม้มักใช้ควบคู่กับข้อมูลพยากรณ์อากาศของหน่วยงานภาครัฐเพื่อบริหารจัดการแปลงของตนเอง แต่สิ่งเหล่านี้อาจไม่เพียงพอสำหรับการทำสวนของเกษตรกรรุ่นใหม่ ดวงพร เวชสิทธิ์, ธรรมรัตน์ จันทร์ดี, กิตติภัค ศรีราม และณฐรดา พิศาลธนกุล สมาชิก Young Smart Farmer จังหวัดจันทบุรี กลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่ที่มองเห็นความสำคัญของเทคโนโลยีที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำสวนผลไม้ โดยพวกเขาเริ่มใช้เทคโนโลยีสถานีตรวจวัดอากาศ (weather station) เมื่อปี 2561 “รุ่นพ่อแม่สังเกตจากธรรมชาติ ดูใบ ดูลม ใช้ความรู้สึกวัด สังเกตและจด แต่ไม่มีข้อมูลหรือสถิติที่จับต้องได้ ถ้าเรามีข้อมูลแล้วมาจับคู่กับภูมิความรู้ของพ่อแม่ จะได้องค์ความรู้ที่ชัด แล้วเราเอามาบริหารจัดการพื้นที่ของเราได้” ธรรมรัตน์ อดีตพนักงานบริษัทที่กลับมาทำสวนผลไม้ผสมผสานในพื้นที่ 14 ไร่ สะท้อนถึงสิ่งที่จะได้จากการใช้ข้อมูลที่แม่นยำ
“สถานีตรวจวัดสภาพอากาศ” เครื่องมือช่วยทำเกษตร
การปลูกพืชให้ได้ผลผลิตที่ดีและมีคุณภาพประกอบด้วยหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง หนึ่งในนั้นคือ สภาพอากาศ ที่หมายรวมถึงอุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณน้ำฝน หรือแม้แต่แรงลม ซึ่งเกษตรกรอาศัยข้อมูลพยากรณ์อากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาเพื่อบริหารจัดการการเพาะปลูก แต่ด้วยสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงและแปรปรวนยิ่งขึ้นในปัจจุบัน ข้อมูลสภาพอากาศที่ใช้อาจไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจของเกษตรกร นักวิจัย สวทช. ได้พัฒนาสถานีตรวจวัดสภาพอากาศ (Weather Station) เป็นเทคโนโลยีระบบตรวจวัดด้วยเซนเซอร์แบบเครือข่ายไร้สายและควบคุมอัตโนมัติ เพื่อเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศและการเพาะปลูก ไม่ว่าจะเป็น ปริมาณน้ำฝน ปริมาณแสงแดด ความเร็วลม อุณหภูมิ/ความชื้นอากาศ และความชื้นดิน ซึ่งการเก็บข้อมูลครอบคลุมพื้นที่ 10 ตารางกิโลเมตร (พื้นที่โล่ง) เพิ่มความแม่นยำของสภาพอากาศในพื้นที่ เกษตรกรสามารถใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจวัดสภาพอากาศช่วยตัดสินใจบริหารจัดการการเพาะปลูกในพื้นที่ตนเองได้ คุณปุ้ย-ดวงพร เวชสิทธิ์ รองประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนมังคุดแปลงใหญ่เขาคิฌชกูฏ อ.เขาคิฌชกูฏ จ.จันทบุรี เป็นอีกหนึ่งเกษตรกรรุ่นใหม่ที่เปิดรับเทคโนโลยีสถานีตรวจวัดสภาพอากาศที่สวนมังคุดของตนเอง เพื่อทดสอบ สังเคราะห์และปรับแต่งเทคโนโลยีดังกล่าวให้เหมาะสมกับการใช้งานจริง “อากาศ” กับ “การทำสวนผลไม้” มังคุดเป็นพืชที่อาศัยจังหวะอากาศในการออกดอกมากถึง
สวทช.-ม.แม่โจ้ ร่วมพัฒนาแหล่งเรียนรู้เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ
สวทช. ลงนามความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในโครงการ “การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีเกษตรและเกษตรอัจฉริยะ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน” โดยมี ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการ สวทช. และผศ.พาวิน มะโนชัย รักษาการแทนรองอธิการบดี ม.แม่โจ้ ร่วมลงนามภายในงาน สวทช.-วิทย์สัญจร จ.เชียงใหม่ ประจำปี 2563 เพื่อร่วมพัฒนาองค์ความรู้ หลักสูตร แหล่งเรียนรู้ และความร่วมมือวิชาการในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มุ่งเน้นด้านเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farming) ยกระดับประสิทธิภาพการผลิตของภาคการเกษตรไทย พร้อมกันนี้คณะผู้บริหาร สวทช. และสื่อมวลชน ลงพื้นที่ม.แม่โจ้ สัมผัสตัวอย่างความร่วมมือด้านเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะที่แปลงวิจัยลำไย ทดสอบการใช้เทคโนโลยีสถานีตรวจวัดสภาพอากาศเพื่อการเกษตร และระบบการให้น้ำอัตโนมัติสำหรับพืชไร่และพืชสวน ผ่าน Smart IoT รวมถึงเยี่ยมชมแปลงทดสอบผลิตมะเขือเทศสายพันธุ์ใหม่ของ สวทช.