“ชาวบ้านใช้เวลาว่างจากการเลี้ยงโคขุนมาเลี้ยงไก่พื้นเมืองใต้เป็นอาชีพเสริม โดยเฉลี่ยเกษตรกรเลี้ยงไก่พื้นเมืองครอบครัวละ 20–30 ตัว การเลี้ยงไก่พื้นเมืองใช้ต้นทุนต่ำ ระยะเวลาเลี้ยงจนถึงจับขายสั้นกว่าการเลี้ยงโคขุน แม้ว่าจะเลี้ยงไก่เป็นอาชีพเสริม เราต้องมีความรู้และจัดการให้ดี ไม่อย่างนั้นจะขายไม่ได้ ไก่หนึ่งตัวก็มีค่า มีต้นทุนทั้งทรัพย์สินและเวลาของเรา การพัฒนาทักษะความรู้และต่อยอดให้มีรายได้เพิ่ม นั่นคือ อาชีพเสริม” วีรชัย นิ่มโอ เจ้าของพี่น้องเจริญฟาร์ม ต.ป่าบอนต่ำ อ.ป่าบอน จ.พัทลุง แกนนำกลุ่มเกษตรผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองจังหวัดพัทลุง และอดีตนักส่งเสริมการเกษตรของฟาร์มไก่บริษัทเอกชน สะท้อนแนวคิดการสร้างรายได้เสริมให้ชาวบ้านนอกจากการทำสวนยางพาราและการเลี้ยงโคขุนที่เป็นอาชีพหลัก “เราต้องการทำเป็นอาชีพและมีรายได้ ไม่ใช่เลี้ยงสะเปะสะปะ พ่อค้ามาเป็นคนกำหนดราคา เราไม่ต้องการแบบนั้น ถ้าจะขายเราต้องเป็นคนกำหนดราคา ตลาดต้องไปแบบนี้นะ ไม่ใช่ต่างคนต่างเลี้ยง ต่างคนต่างขายเหมือนเมื่อก่อน เราก็มาจัดตั้งกลุ่มเพื่อให้การจัดการเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น การเลี้ยง การให้อาหาร การให้วัคซีนจนถึงแปรรูป” แม้จะคลุกคลีกับแวดวงฟาร์มไก่เอกชนมากว่า 10 ปี แต่
พลิกฟื้น รักษา พัฒนา ‘พริกไทยตรัง’ เสริมรายได้ชาวสวนตรัง
แม้จะมีทั้งสวนยางพาราและสวนส้มโอ แต่เมื่อต้องหันหลังให้ชีวิตมนุษย์เงินเดือนในเมืองหลวงกลับมาดูแลพ่อที่เจ็บป่วย กิตติ ศิริรัตนบุญชัย กลับเลือกปลูก “พริกไทย” และต้องเป็น “พริกไทยตรัง” เท่านั้น “ผมอยากให้คนตรังกินพริกไทยตรัง คนอายุ 70-80 ปี เขาภูมิใจพริกไทยพันธุ์พื้นเมืองของจังหวัดตรังมาก ด้วยรสชาติอร่อย เผ็ดร้อน กลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ พริกไทยตรังเป็นพันธุ์ที่ดังไปถึงยุโรป แต่หากินไม่ได้แล้ว การปลูกพริกไทยถึงขายไม่ได้วันนี้ ผลผลิตก็ยังทำแห้งและเก็บไว้ได้นาน” ไม่เพียงคิดฟื้นพริกไทยตรังให้กลับคืนมาในพื้นที่อำเภอวังวิเศษ จ.ตรัง แต่ ยังเลือกปลูกพริกไทยเพียงอย่างเดียวและมุ่งเป้าผลิตในเชิงพาณิชย์ ด้วยเชื่อว่า “ถ้าจะทำให้สำเร็จ ต้องทำอย่างเดียว” เขาศึกษาและหาข้อมูลแหล่งปลูกพริกไทยสายพันธุ์ตรังที่แท้จริง สอบถามปราชญ์ชาวบ้าน ตรวจสอบย้อนกลับไปถึงเอกสารจดหมายเหตุ ควบคู่กับการลงเรียนด้านเกษตร โดยเฉพาะ “การปลูกส้ม” ไม้ผลที่ กิตติ มองว่า หากปลูกส้มได้จะปลูกพืชทุกอย่างได้ “ถ้าไม่สูงต้องเขย่ง ถ้าไม่เก่งต้องขยัน”
สท.-ม.บูรพาฯ จันทบุรี เสริมความรู้ด้าน “สัตว์น้ำ” สร้างอาชีพ “เพาะเห็ดมิลกี้เชิงพาณิชย์”
เมื่อวันที่ 17-18 กันยายน 2566 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี จัดอบรมหัวข้อ “การจัดการสภาพแวดล้อมภายในบ่อและการดูแลสุขภาพสัตว์น้ำ” และ “เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเห็ดมิลค์กี้เชิงพาณิชย์” โดยได้รับความสนใจจากเกษตรกร ผู้ประกอบการและนักศึกษารวมกว่า 60 คน ทั้งนี้การอบรมดังกล่าวเป็นกิจกรรมภายใต้โครงการ “การพัฒนาสถานีเรียนรู้และการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนในจังหวัดจันทบุรี” โดยความร่วมมือระหว่าง สวทช.-มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี การอบรมในหัวข้อ “การจัดการสภาพแวดล้อมภายในบ่อและการดูแลสุขภาพสัตว์น้ำ” จัดขึ้น ณ ห้องประชุมประถม ใจจิตร อาคารกุลละวณิชย์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี โดยมี ดร.สรวิศ เผ่าทองศุข นักวิจัย สวทช. เป็นวิทยากรบรรยายเรื่อง “สิ่งแวดล้อมและการจัดการสิ่งแวดล้อมในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ และโมเดลการเลี้ยงกุ้งแบบธรมชาติ: ลดต้นทุน
สท.-ม.บูรพาฯ จันทบุรี เติมความรู้ชาวสวน “เพิ่มผลผลิตทุเรียนในสภาวะเอลนีโญ-ลานีญา”
เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2566 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี จัดอบรมออนไลน์หัวข้อ “การเพิ่มผลผลิตทุเรียนภายใต้ปรากฎการณ์เอลนีโญ-ลานีญา” โดยมี ผศ.ดร.ยศพล ผลาผล ประธานกลุ่มสาขาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี เป็นวิทยากรให้ความรู้เกษตรกรชาวสวนทุเรียน เพื่อสร้างความเข้าใจและเตรียมพร้อมรับมือการผลิตทุเรียนในสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง คลิกชมวิดีโอย้อนหลัง อนึ่ง กิจกรรมครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้โครงการ “การพัฒนาสถานีเรียนรู้และการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนในจังหวัดจันทบุรี” โดยความร่วมมือระหว่าง สวทช.-มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี
สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี พัฒนาสถานีเรียนรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านเกษตร (Training Hub) โดยมุ่งเน้นเป็นแหล่งเรียนรู้เทคโนโลยีด้านเกษตรและประมง บูรณาการองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ตลอดจนความเชี่ยวชาญของบุคลากรของ สวทช. และมหาวิทยาลัยฯ เพื่อพัฒนาทักษะเดิม (upskill) เพิ่มเติมทักษะใหม่ (reskill) ให้เกษตรกรและชุมชนผ่านหลักสูตรการอบรมและกิจกรรม กิจกรรม/ประชาสัมพันธ์ สท.-ม.บูรพาฯ จันทบุรี เสริมความรู้ด้าน “สัตว์น้ำ” สร้างอาชีพ “เพาะเห็ดมิลกี้เชิงพาณิชย์” สท.-ม.บูรพาฯ จันทบุรี เติมความรู้ชาวสวน “เพิ่มผลผลิตทุเรียนในสภาวะเอลนีโญ-ลานีญา” สท.-ม.บูรพาฯ จันทบุรี จัดเต็มอบรม “เทคโนโลยีการจัดการฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำสมัยใหม่ด้วยระบบ IoT” สท.-ม.บูรพา วิทยาเขตจันทบุรี จัดอบรมเกษตรกรเสริมความรู้การทำท่องเที่ยวเชิงเกษตร
สท.-ม.บูรพาฯ จันทบุรี จัดเต็มอบรม “เทคโนโลยีการจัดการฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำสมัยใหม่ด้วยระบบ IoT”
เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2566 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “เทคโนโลยีการจัดการฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำสมัยใหม่ด้วยระบบ IoT” ณ ห้องประชุมประถมใจจิตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี โดยมีนักวิจัย สวทช. และผู้ประกอบการฟาร์มสัตว์น้ำ เป็นวิทยากรให้ความรู้ในหัวข้อต่างๆ อีกทั้งยังมีเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์การใช้เทคโนโลยี ดร.สรวิศ เผ่าทองศุข ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยเทคโนโลยีสัตว์น้ำแบบบูรณาการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ให้ความรู้เรื่อง “เทคโนโลยีการจัดการฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำสมัยใหม่” คุณเสกสรรค์ ศาสตร์สถิต นักวิจัยทีมเทคโนโลยีเกษตรดิจิทัล ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ให้ความรู้เรื่อง “เทคโนโลยีการเลี้ยงสัตว์น้ำสมัยใหม่ด้วยเทคโนโลยีชุด Aqua IoT ของ สวทช.” คุณวีระ
สท.-ม.บูรพา วิทยาเขตจันทบุรี จัดอบรมเกษตรกรเสริมความรู้การทำท่องเที่ยวเชิงเกษตร
เมื่อวันที่ 23-24 สิงหาคม 2566 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การประชาสัมพันธ์อย่างไรให้โดนใจและเข้าถึงกลุ่มนักท่องเที่ยว” และ “การถ่ายภาพสวนเกษตรเชิงท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ ผลไม้ อาหาร” ณ ห้องประชุมประถมใจจิตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี โดยมีคุณธนอิน ตุ้มหิรัญ (โค้ชโซดา) ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตสื่อออนไลน์ เป็นวิทยากรให้ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับเกษตรกร ชุมชนและผู้ประกอบการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดจันทบุรีและใกล้เคียงจำนวน 36 คน ที่ให้ความสนใจเข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ ผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้กลยุทธ์การขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ การสร้างเนื้อหา (content) เทคนิคการสร้างยอดขาย/ผู้ติดตาม การสร้างตัวตน เทคนิคการถ่ายภาพ/วิดีโอ การโพสต์ เป็นต้น ซึ่งผู้เข้าอบรมสามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะกับผลิตภัณฑ์ของตนเอง นอกจากนี้ผู้เข้าอบรมยังได้ทำความรู้จักร่วมกัน เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำกิจกรรมท่องเที่ยวของแต่ละสวน และสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกันต่อไปในอนาคต
สท. ต้อนรับภาคเอกชนเยี่ยมชม AGRITEC Station
9 สิงหาคม 2566 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี -นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. และผู้อำนวยการสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ต้อนรับนายกสมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์กวางโจว ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน และประธานกรรมการบริษัท ซานยี่ สหสิงห์ ซีดส์ จำกัด พร้อมด้วยพนักงาน บริษัทฯ เยี่ยมชม Smart greenhouse & Smart farm technology ณ AGRITEC Station สถานีเรียนรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการเกษตร ในช่วงบ่ายเจ้าหน้าที่ สท. ให้การต้อนรับคณะผู้ประกอบการจากโครงการ “สร้างเครือข่ายการลงทุนและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ SMEs/Startups: อุตสาหกรรมอาหารและบรรจุภัณฑ์ มุ่งสู่ระบบเกษตรอัจฉริยะ” ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
‘นวัตกรรม’ ขับเคลื่อนเกษตรและชุมชน
ดาวน์โหลดหนังสือ