สถานีเรียนรู้ (Training Hub)

สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับสถาบันการศึกษาในแต่ละภูมิภาคของประเทศ พัฒนาสถานีเรียนรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านเกษตร (Training Hub) โดยบูรณาการองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ตลอดจนความเชี่ยวชาญของบุคลากรของ สวทช. และสถาบันการศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะเดิม (upskill) เพิ่มเติมทักษะใหม่ (reskill) ให้เกษตรกรและชุมชนผ่านหลักสูตรการอบรมและกิจกรรม ณ สถานีเรียนรู้แต่ละแห่ง นอกจากนี้ สท. ยังได้พัฒนาจุดเรียนรู้ระดับชุมชน (Learning Station) ร่วมกับเกษตรกรในเครือข่ายการทำงานของ สท. เพื่อให้เกษตรกรในพื้นที่สามารถเข้าถึงความรู้และเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีได้สะดวกยิ่งขึ้น • สถานีเรียนรู้กลาง หรือ AGRITEC Station ตั้งอยู่ในอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี เป็นสถานีสาธิตเทคโนโลยีการเกษตรครบวงจร อาทิ ปัจจัยการผลิต การจัดการโรคแมลง การทดสอบพันธุ์พืชต่างๆ และเทคโนโลยีด้านเกษตรอัจฉริยะ • สถานีเรียนรู้ระดับภูมิภาค

สวทช.-ม.แม่โจ้ เปิดตัว “สถานีเรียนรู้ด้านเกษตรและเกษตรอัจฉริยะ”

สวทช.-ม.แม่โจ้ เปิดตัว “สถานีเรียนรู้ด้านเกษตรและเกษตรอัจฉริยะ”

เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2565 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เปิด “สถานีเรียนรู้ (Training Hub) ด้านเกษตรและเกษตรอัจฉริยะ” ภายใต้ความร่วมมือในโครงการ “การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีเกษตรและเกษตรอัจฉริยะ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน” โดยมีนางสาวกัลยารัตน์ รัตนะจิตร ผู้อำนวยการฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยี (สท.) เป็นผู้แทนจาก สวทช. เข้าร่วมงาน ภายใต้ความร่วมมือดังกล่าว สวทช. โดย สท. ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พัฒนาสถานีเรียนรู้ (Training Hub) เพื่อรองรับการเรียนรู้ระดับภาคสนามให้กับเกษตรกรและผู้สนใจ โดยถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของทั้งสองหน่วยงานผ่านหลักสูตรการอบรม ฐานเรียนรู้และกิจกรรมต่างๆ โดยเริ่มต้นจากฐานเรียนรู้การผลิตผักอินทรีย์ในพื้นที่ของศูนย์การเรียนรู้การผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (ฟาร์ม 907 ไร่)

สวทช. ผนึก มทร.อีสาน พัฒนา-ถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่ พลิกทุ่งกุลาให้ “ยิ้มได้”

สวทช. ผนึก มทร.อีสาน พัฒนา-ถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่ พลิกทุ่งกุลาให้ “ยิ้มได้”

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) – มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร.อีสาน) ลงนามบันทึกความร่วมมือ “การพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่ เพื่อพัฒนาอาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิตคนในชุมชนทุ่งกุลาร้องไห้” ใช้กลไก Training Hub สถานีกระจายความรู้สร้างทักษะให้เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นต้นแบบขยายผลการใช้เทคโนโลยีให้ครอบคลุมพื้นที่เขตทุ่งกุลาร้องไห้ ตั้งเป้ายกระดับรายได้เกษตรกรก้าวพ้นขีดความยากจน สอดรับการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG มุ่งให้ประชาชนอยู่ดีกินดี นายเชวงศักดิ์ พลเยี่ยม รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า จังหวัดร้อยเอ็ดมีประวัติศาสตร์ ประเพณี และวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน มุ่งเน้นพัฒนาความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและสังคมบนพื้นฐานแหล่งผลิต สร้างมูลค่าข้าวหอมมะลิคุณภาพสูง และเป็นเมืองน่าเที่ยว น่าอยู่ การดำเนินงานของแต่ละหน่วยงานในบันทึกข้อตกลงนี้สอดคล้องกับพันธกิจของจังหวัดทั้ง 3 ประการ คือ 1) ส่งเสริมและพัฒนาการผลิตข้าวหอมมะลิ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในนวัตกรรมเพิ่มศักยภาพในการบริหารทรัพยากรและสินค้าเกษตรให้เป็นเกษตรที่ปลอดภัย เกษตรอินทรีย์