ด้วยภารกิจหลักของสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ที่มุ่งเน้นปฏิรูปภาคการเกษตรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม พัฒนาความเข้มแข็งของภาคการเกษตรและชุมชน ลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเชื่อมโยงสู่เศรษฐกิจฐานรากโดยใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น สอดรับกับแนวทางการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG ที่ขับเคลื่อนประเทศด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม สท. จึงมุ่งถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรให้เกิดการขยายผลอย่างทั่วถึง เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต สร้างมูลค่าเพิ่ม ตลอดจนเชื่อมโยงเครือข่ายการทำงานและสร้างความร่วมมือระหว่างเกษตรกร/ชุมชน ภาครัฐและภาคเอกชน โดยมีกลไกการทำงานหลัก ดังนี้ • พัฒนาเชิงพื้นที่มุ่งเป้าด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (Area Based Approach) สร้างกลไกและกระบวนการขับเคลื่อนงานด้านการพัฒนาพื้นที่ร่วมกับเครือข่ายความร่วมมือทั้งภายในและภายนอก (ภาครัฐ-เอกชน-ชุมชน) ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ยกระดับการพัฒนาศักยภาพพื้นที่และพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนในมิติต่างๆ ตามบริบทของแต่ละพื้นที่ >> Read more • สถานีเรียนรู้ (Training Hub) แหล่งเรียนรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมโดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในพื้นที่ เพื่อพัฒนาทักษะเดิม (upskill)
สวทช. เดินหน้า “ยกระดับคุณภาพชีวิตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้” ด้วย “วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม”
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (สท.) และฝ่ายบริหารวิจัยเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติ สวทช. ลงพื้นที่ร่วมกับภาคเอกชน กระชับความร่วมมือกับ 5 ผู้ว่าราชการจังหวัดในพื้นที่ทุ่งกุลาฯ และ 3 มหาวิทยาลัยในพื้นที่ ขับเคลื่อน “โปรแกรมการยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้” กำหนดโจทย์มุ่งเป้าและวางแผนดำเนินงานร่วมกัน ให้สอดคล้องกับโมเดลเศรษฐกิจ BCG ตั้งเป้ายกระดับคนจนเป้าหมายในมิติเศรษฐกิจพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ มีรายได้ก้าวพ้นเส้นความยากจน ยกระดับรายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ รองผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า สวทช. ได้ดำเนินงานในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้มาตั้งแต่ปี 2562 โดยร่วมกับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานในพื้นที่นำองค์ความรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เข้าไปพัฒนาทั้งอาชีพหลักและอาชีพเสริม ตลอดจนพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้ นวัตกรชุมชน เชื่อมโยงการตลาดกับภาคเอกชน รวมถึงยกระดับเกษตรกรเป็นผู้ประกอบการ ดังนั้นเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ สวทช.
‘กล้า’ สร้างสุข กับ ‘สุขใจฟาร์ม’
คงไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับใครสักคนที่ใช้ชีวิตท่ามกลางแสงสี เสียงและเงินทองในเมืองกรุงมาค่อนชีวิต จะหันหลังให้ความสุขสนุกแล้วมาลงแรงปลูกผักที่บ้านเกิด ที่แวดล้อมด้วยแสง สีและเสียงของธรรมชาติ สุขใจ คือชื่อเล่นของ ภัทราพล วนะธนนนท์ ที่แม่ตั้งให้ด้วยหวังให้ชีวิตลูกมีความสุข จากเด็กน้อยที่เติบโตในชุมชนเล็กๆ ของต.วังทรายคำ อ.วังเหนือ จ.ลำปาง ก่อนไปใช้ชีวิตในเมืองเชียงใหม่และโลดแล่นในวงการบันเทิงที่กรุงเทพฯ พลิกชีวิตช่วงวัยกลางคนสู่อาชีพ “เกษตรกร” ที่ไม่มีใครคิดว่าเขาจะทำได้ เพียง 3 ปีบนเส้นทาง “เกษตรอินทรีย์” ผลผลิตคุณภาพของ ‘สุขใจฟาร์ม’ เดินทางสู่ตลาดโมเดิร์นเทรด และยังสร้างโอกาสให้กลุ่มผู้สูงอายุและผู้พิการ จากประสบการณ์การทำงานในฐานะผู้จัดการร้านถ่ายภาพที่จับงานเองทุกขั้นตอนกว่า 8 ปี นำทางสู่สายงานภาพยนตร์กับบริษัทดังในหน้าที่จัดหานักแสดง ทิ้งทวนชีวิตวงการมายาด้วยบทบาทผู้กำกับภาพยนตร์ก่อนกลับคืนถิ่นที่บ้านเกิด “เราทำงานในวงการบันเทิงห้อมล้อมด้วยแสงสี ทำงานหนัก พักผ่อนน้อย ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย กินดื่มเที่ยวสารพัด ไม่ได้ดูแลสุขภาพตัวเองให้ดีพอ พอเจ็บป่วยเข้าโรงพยาบาล ไม่มีใครดูแลเราเลย คนที่ดูแลเราคือแม่และคนในครอบครัว
เมื่อ “ปทุมมาสายพันธุ์ใหม่” จะผลิบานที่ “ห้วยสำราญ”
สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) มีความร่วมมือกับจังหวัดอุดรธานี ในการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) เข้าไปพัฒนาและส่งเสริมการทำเกษตรในพื้นที่ ซึ่ง “กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ไม้ดอกไม้ประดับบ้านห้วยสำราญ-ห้วยเจริญ” ต.หนองไฮ อ.เมืองอุดรธานี จ.อุดรธานี เป็นหนึ่งกลุ่มเกษตรกรที่ สท. ได้ร่วมดำเนินงานด้วย ภายใต้โครงการ “การพัฒนาพื้นที่ต้นแบบเครือข่ายผู้ผลิตปทุมมาบ้านห้วยสำราญ” โดยมุ่งหวังให้เป็นจุดสาธิตการเรียนรู้เทคโนโลยีการผลิตปทุมมาและส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวบนฐานความรู้ด้าน วทน. “กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ไม้ดอกไม้ประดับบ้านห้วยสำราญ-ห้วยเจริญ” เป็นกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตไม้ดอกไม้ประดับกลุ่มใหญ่ของจังหวัดอุดรธานี มีสมาชิก 104 ราย ปลูกไม้ดอกไม้ประดับหลากหลายพันธุ์ เช่น มะลิร้อยมาลัย เบญจมาศ ดาวเรือง ดอกพุด คัตเตอร์ กุหลาบร้อยมาลัย เป็นต้น นอกจากนี้พื้นที่ปลูกไม้ดอกไม้ประดับของกลุ่มวิสาหกิจฯ ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรในช่วงฤดูไม้ดอกผลิบาน เว้นแต่ในช่วงฤดูฝนที่ยังขาดพันธุ์ไม้ดอกที่หลากหลาย จากนโยบายของจังหวัดอุดรธานีที่ต้องการพัฒนาพื้นที่บ้านห้วยสำราญให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เปิดรับผู้คนได้ตลอดทั้งปี จึงได้ร่วมกับ สท. นำร่องจัดอบรมถ่ายทอดความรู้การผลิตปทุมมาให้สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจฯ