(วันที่ 22 สิงหาคม2566) ณ คูโบต้าฟาร์ม อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี : ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) พร้อมด้วย ดร.เจนกฤษณ์ คณาธารณา รองผู้อำนวยการ สวทช. ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยีเกษตร/เกษตรอัจฉริยะ กับบริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด โดย นางวราภรณ์ โอสถาพันธุ์ กรรมการรองผู้จัดการอาวุโส บริษัท สยามคูโบต้าคอร์-ปอเรชั่น จำกัด นายรัชกฤต สงวนชีวิน ผู้จัดการฝ่าย Business Value Creation เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้และถ่ายทอดความรู้ด้านเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่ให้เกษตรกรและชุมชน ภายใต้ความร่วมมือสนับสนุนการพัฒนาเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor
คิดอย่างสมาร์ท ใช้สมาร์ทเทคโนโลยีเพิ่มศักยภาพสวนทุเรียน
พื้นที่ EEC หรือระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor) ครอบคลุม 3 จังหวัดสำคัญของภาคตะวันออก ได้แก่ ชลบุรี ฉะเชิงเทรา และระยอง เป็นหมุดหมายการพัฒนาประเทศภายใต้ไทยแลนด์ 4.0 โดยมีเทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นเครื่องมือสำคัญ “ระบบฟาร์มรักษ์น้ำ: เทคโนโลยีการให้น้ำอัจฉริยะสำหรับควบคุมการให้น้ำในแปลงเกษตร” เป็นหนึ่งในสมาร์ทเทคโนโลยี (smart technology) ที่สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ได้ถ่ายทอดให้เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนในจังหวัดระยองมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2562 โดยมีสวนทุเรียนที่ได้ติดตั้งเทคโนโลยีดังกล่าวแล้ว 33 แห่ง (ข้อมูลปี พ.ศ.2565) แม้ระบบฟาร์มรักษ์น้ำฯ เป็นเรื่องใหม่สำหรับคนทำสวนทุเรียน แต่มีเกษตรกรจำนวนไม่น้อยที่พร้อมเปิดรับและปรับตัวกับการใช้เทคโนโลยี ด้วยมองเห็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ไม่เพียงคุณภาพของผลผลิต หากยังรวมถึงต้นทุนการผลิตของสวนด้วย อย่างไรก็ตามแม้เกษตรกรพร้อมเรียนรู้และใช้เทคโนโลยี แต่มีจำนวนไม่น้อยที่ยังขาดความรู้และความพร้อมของพื้นที่ที่จะรองรับการใช้เทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการวางระบบน้ำ ซึ่งเป็นต้นทุนค่าใช้จ่ายที่สำคัญของสวน
ASI ผู้ประกอบการบริการระบบงานเกษตรอัจฉริยะ ฟันเฟืองสู่เกษตร 4.0
“เทคโนโลยีและนวัตกรรม” เป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศภายใต้โมเดลเศรษฐกิจ BCG ซึ่งเทคโนโลยีอัจฉริยะ หรือสมาร์ทเทคโนโลยี (smart technology) ได้รับการส่งเสริมอย่างมากในภาคการเกษตร เพื่อให้เกิดการทำเกษตรในรูปแบบ “สมาร์ทฟาร์มมิ่ง” (smart farming) ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถการผลิตและเพิ่มคุณภาพผลผลิต และนำไปสู่การทำเกษตรที่ “ทำน้อย แต่ได้มาก” สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ตระหนักถึงความสำคัญของการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นเครื่องมือยกระดับการผลิตและคุณภาพชีวิตเกษตรกร ไม่เพียงการถ่ายทอดความรู้และขยายผลเทคโนโลยีสู่เกษตรกรโดยตรง สท. ยังได้ใช้กลไกการสร้างผู้ประกอบการบริการระบบงานเกษตรอัจฉริยะ หรือ ASI (Agriculture System Integrator: ASI) เป็นอีกช่องทางสำคัญที่จะทำให้เกษตรกรเข้าถึงเทคโนโลยีได้สะดวกยิ่งขึ้น ผ่านการให้บริการจากผู้ประกอบที่ได้รับการยกระดับความรู้ความสามารถในเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะของ สวทช. สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ได้บ่มเพาะผู้ประกอบการที่สนใจเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะของ สวทช. และพร้อมเป็นผู้ให้บริการเกษตรกร ซึ่งทำให้เกิดการขยายผลเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะของ สวทช. สู่การใช้งานจริงได้มากขึ้น
สท. พร้อมเปิด AGRITEC Station ต้อนรับคณะผู้เข้าร่วมประชุม Asian Seed Congress 2022
สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. เตรียมพร้อมเปิด AGRITEC Station สถานีเรียนรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการเกษตร ต้อนรับคณะผู้เข้าร่วมประชุมงานประชุมเมล็ดพันธุ์พืชแห่งเอเชียและแปซิฟิก ประจำปี 2565 (Asian Seed Congress 2022) ในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 โดยจะนำเสนอเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรอัจฉริยะ อาทิ โรงเรือนอัจฉริยะ, ไวมาก: ระบบตรวจวัดสภาวะแวดล้อมด้วยเทคโนโลยี IoT, HandySense: ระบบเกษตรแม่นยำ ฟาร์มอัจฉริยะ เทคโนโลยีด้านเมล็ดพันธุ์ จัดแสดงตัวอย่างพันธุ์พืชจากผลงานวิจัยของ สวทช. และเครือข่ายพันธมิตร อาทิ พริกพันธุ์อัคนีพิโรธ เพชรมอดินแดง เรดซันอีสาน หยกขาวมอดินแดง มะเขือเทศพันธุ์นิลมณี ชายนี่ ควีน ซัมเมอร์ซัน
การขยายผลและถ่ายทอดเทคโนโลยี Smart farm ด้านเกษตร กลุ่มไม้ผล ภาคตะวันออก
ดาวน์โหลดเอกสาร
ปลูก ‘มะยงชิดคุณภาพ’ ให้ ‘สมาร์ทเทคโนโลยี’ เป็นตัวช่วย
“เทคโนโลยีช่วยทุ่นเวลาและให้ความรู้” คำตอบสั้นๆ จาก ฉัตรชนก ทองเรือง หรือ ลุงแดง วัย 59 ปี เจ้าของสวนมะยงชิด “ทองเรือง” เมื่อพูดถึง เทคโนโลยีการให้น้ำอัจฉริยะสำหรับพืชแปลงเปิด ที่เขาได้คลุกคลีมาเกือบ 2 ปี “มะยงชิด” เป็นผลไม้ขึ้นชื่อของจังหวัดนครนายกและเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ของจังหวัด ซึ่งสวนทองเรือง แห่งนี้เป็นแหล่งผลิตมะยงชิดพันธุ์ทูลเกล้าที่คว้ารางวัลการประกวดมานับไม่ถ้วน ผลผลิตของสวนเฉลี่ยปีละ 2 ตัน ถูกจับจองล่วงหน้าและจำหน่ายที่หน้าสวนเท่านั้น ในราคากิโลกรัมละ 350-400 บาท ด้วยความชอบรสชาติที่หวานและหอมกรอบของมะยงชิด ทำให้ ลุงแดง หันมาปลูกมะยงชิดอย่างจริงจังตั้งแต่ปี 2535 เรียนรู้ สังเกต จดบันทึกการปลูกและพัฒนาการปลูกมะยงชิดของตนเอง จนได้ผลผลิตที่ “รสชาติหวาน
วิทย์พลิกชุมชน: ปรับวิธีคิด เปลี่ยนวิธีทำ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
ดาวน์โหลดหนังสือ คลิก
7 ความรู้เกษตรที่ไม่ควรพลาด!!
คลิกเลือกชมวิดีโอความรู้แต่ละเรื่อง
ก้าวทันสมาร์ทเทคโนโลยีที่สถานีเรียนรู้ “โรงเรือนอัจฉริยะ”
“ตื่นเต้น รู้สึกว่าเท่ แปลกใหม่ โรงเรือนที่เคยเห็นก็ธรรมดา ไม่มีเทคโนโลยี” มายด์-สุภนิดา นามโบราณ นักเรียนทวิศึกษาสาขาเกษตรนวัต โรงเรียนจิตรลดาวิชาชีพ โรงเรียนวังจันทร์วิทยา เล่าถึงความรู้สึกแรกที่ได้รู้จักโรงเรือนอัจฉริยะ “โรงเรือนอัจฉริยะ” คือโรงเรือนปลูกพืชที่ติดตามและควบคุมสภาวะแวดล้อมภายในโรงเรือน ได้แก่ อุณหภูมิอากาศ ความชื้นอากาศ ความเข้มแสง และความชื้นดิน โดยใช้ชุดเซนเซอร์และระบบควบคุมการให้น้ำและปุ๋ยอัตโนมัติตามความต้องการของพืช สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ติดตั้งโรงเรือนอัจฉริยะ ณ ศูนย์เรียนรู้ป่าวังจันทร์ จ.ระยอง เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้เทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่ให้เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดระยองและใกล้เคียง ขณะเดียวกันยังเป็นหนึ่งในหัวข้อเรียนรู้ของนักเรียนหลักสูตร “เกษตรนวัต” อีกหนึ่งโครงการความร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา ในภาคเรียนแรกของปีการศึกษา 2562 เหล่านักเรียนเกษตรนวัตจำนวน 21 คน ใช้เวลาช่วงบ่ายในแต่ละวันเรียนรู้เรื่องพืช