เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2567 น.ส.เลอทีชา เมืองมีศรี นักวิชาการสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. และทีมงาน ลงพื้นที่ติดตามการผลิตผักอินทรีย์ของสมาชิกวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกพืชด้วยวิถีเกษตรอินทรีย์และวิสาหกิจชุมชนศูนย์เรียนรู้เกษตร Organic ของดียางสีสุราช ต.นาภู อ.ยางสีสุราช จ.มหาสารคาม ภายใต้ “โครงการการยกระดับเครือข่ายผู้ผลิตผักอินทรีย์ด้วยเทคโนโลยีโรงเรือนและการบริหารจัดการผลิตพืชผัก” ที่ได้รับสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ซึ่งเกษตรกรได้นำความรู้ที่ได้รับจากโครงการฯ ไปปรับใช้สร้างโรงเรือนปลูกพืชต้นทุนต่ำจากวัสดุในท้องถิ่นรวม 33 โรงเรือน และติดตั้งเทคโนโลยีกล่องควบคุมการให้น้ำ Water Fit Simple จำนวน 2 จุด เพื่อเรียนรู้และปรับใช้ให้เหมาะกับบริบทของพื้นที่และการผลิตผัก จากการติดตามพบว่า เกษตรกรประสบปัญหาการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวและการขนส่งผัก เช่น โรคพืช ผักช้ำ ผักเหี่ยว
คู่มือ “โรงเรือนปลูกพืชต้นทุนต่ำโดยใช้วัสดุในท้องถิ่นและการบริหารจัดการปลูกพืช”
ดาวน์โหลดคู่มือฯ ดาวน์โหลดแบบแปลนโรงเรือนปลูกพืชต้นทุนต่ำโครงสร้างไม้-เสาไม้ ดาวน์โหลดแบบแปลนโรงเรือนปลูกพืชต้นทุนต่ำโครงสร้างไม้-เสาปูน
สท.-ม.เกษตรศาสตร์-สนง.เกษตรศรีสะเกษ เดินหน้าขยายผลหนุนเกษตรกร 7 อำเภอปลูกถั่วเขียว KUML
เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และสำนักงานเกษตรจังหวัดศรีสะเกษ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “เทคโนโลยีการผลิตพืชหลังนาแบบครบวงจร : ถั่วเขียวพันธุ์ KUML” ณ โรงแรมศรีลำดวน อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีกลุ่มเกษตรกรจากอำเภอขุนหาญ อำเภอเมือง อำเภอราษีไศล อำเภอเมืองจันทร์ อำเภอน้ำเกลี้ยง อำเภอปรางค์กู่ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ รวม 329 คน เข้าร่วมอบรมรับความรู้เรื่อง “เทคนิคการปลูกถั่วเขียวเพื่อยกระดับคุณภาพและปริมาณผลผลิต” และ “การเก็บเกี่ยวและการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง” จาก รศ. ดร.ประกิจ สมท่า และ ผศ.
สท.-ม.เกษตรศาสตร์-สนง.เกษตรศรีสะเกษ ยกระดับเกษตรกรผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว KUML
เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และสำนักงานเกษตรจังหวัดศรีสะเกษ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “เทคโนโลยีการเก็บเกี่ยวและการผลิตเมล็ดพันธุ์ระดับชุมชน : ถั่วเขียวพันธุ์ KUML” ให้กลุ่มเกษตรกรจากอำเภอน้ำเกลี้ยง อำเภอเมืองจันทร์และอำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ที่พร้อมยกระดับเป็นผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว KUML (Seed) และเจ้าหน้าที่ด้านเกษตรของจังหวัด รวม 89 คน โดยมี รศ. ดร.ประกิจ สมท่า และ ผศ. ดร.กนกวรรณ เที่ยงธรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เป็นวิทยากรให้ความรู้ อีกทั้งได้รับฟังข้อมูลการรับซื้อผลผลิตจากผู้บริหารห้างหุ้นส่วนจำกัด ศิริบูรณ์จงเจริญไพศาล ตลาดรับซื้อในจังหวัดศรีสะเกษ
สท.-ม.เกษตรศาสตร์-สนง.เกษตรสุพรรณบุรี เดินหน้าส่งเสริมเกษตรกรปลูกถั่วเขียว KUML
เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และสำนักงานเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี จัดอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “เทคโนโลยีการผลิตพืชหลังนาแบบครบวงจร : ถั่วเขียวพันธุ์ KUML” ให้เกษตรกรและเจ้าหน้าที่จากอำเภอดอนเจดีย์ อำเภอหนองหญ้าไซ อำเภออู่ทอง อำเภอเดิมบางนางบวช และอำเภอสามชุก ณ สหกรณ์การเกษตรสามชุก จำกัด โดยมี รศ. ดร.ประกิจ สมท่า และ ผศ. ดร.กนกวรรณ เที่ยงธรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เป็นวิทยากรให้ความรู้การปลูกถั่วเขียว KUML (Grain) ให้ได้คุณภาพดี รวมทั้งคุณมนตรี สมงาม บริษัท
สท.-ม.เกษตรศาสตร์-สนง.เกษตรเพชรบูรณ์ ลงพื้นที่ประเมินเกษตรกรร่วมปลูกถั่วเขียว KUML
เมื่อวันที่ 29-31 ตุลาคม 2567 น.ส.ณิฎฐา คุ้มโต นักวิชาการอาวุโส สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) และทีมงาน ลงพื้นที่ร่วมกับ รศ. ดร.ประกิจ สมท่า และผศ. ดร.กนกวรรณ เที่ยงธรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบูรณ์ และสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ อำเภอหล่มสัก อำเภอวิเชียรบุรีและอำเภอวังโป่ง เพื่อประเมินศักยภาพเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมปลูกถั่วเขียว KUML ภายใต้ “โครงการการขยายผลเทคโนโลยีการผลิตถั่วเขียวคุณภาพสายพันธุ์ KUML ด้วยกลไกตลาดนำการผลิต” ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. จากการลงพื้นที่พบว่า เกษตรกรให้ความสนใจถั่วเขียวสายพันธุ์ใหม่นี้ โดยโครงการฯ จะจัดถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการผลิตถั่วเขียว KUML ให้เกษตรกรจังหวัดเพชรบูรณ์อีกครั้งในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนนิ้
สท.-ม.เกษตรศาสตร์-สนง.เกษตรเพชรบูรณ์ เติมความรู้เกษตรกรผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพถั่วเขียว KUML
เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน สำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบูรณ์ และสำนักงานเกษตรอำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “เทคโนโลยีการเก็บเกี่ยวและการผลิตเมล็ดพันธุ์ระดับชุมชน: ถั่วเขียวพันธุ์ KUML” ให้กลุ่มเกษตรกรถั่วเขียวแปลงใหญ่ตำบลท่าแดง อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์ โดยมี รศ. ดร.ประกิจ สมท่า และ ผศ. ดร.กนกวรรณ เที่ยงธรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เป็นวิทยากรให้ความรู้การผลิตเมล็ดพันธุ์ (seed) เพื่อสร้างกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว KUML แก้ปัญหาการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์คุณภาพดี ซึ่งกลุ่มเกษตรกรถั่วเขียวแปลงใหญ่ตำบลท่าแดง เป็นกลุ่มเกษตรกรที่ปลูกถั่วเขียวสายพันธุ์ KUML มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562
สท. จับมือ สนง.เกษตรฯ ศรีสะเกษและภาคเอกชนลงพื้นที่ประเมินเกษตรกรปลูกถั่วเขียว KUML
เมื่อวันที่ 21-23 ตุลาคม 2567 น.ส.ณิฏฐา คุ้มโต นักวิชาการอาวุโส และนายชนะชัย แสนทวีสุข ผู้ช่วยปฏิบัติงานวิจัย สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานเกษตรอำเภอจาก 7 อำเภอของศรีสะเกษ (อ.น้ำเกลี้ยง อ.เมืองศรีสะเกษ อ.ราษีไศล อ.อุทุมพรพิสัย อ.ปรางค์กู่ อ.เมืองจันทร์ อ.ขุนหาญ) และห้างหุ้นส่วนจำกัด ศิริบูรณ์จงเจริญไพศาล ผู้รับซื้อผลผลิตถั่วเขียว KUML ลงพื้นที่ประเมินศักยภาพเกษตรกรเพื่อคัดเลือกกลุ่มเกษตรกรผลิตถั่วเขียว KUML และยกระดับเป็นกลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว (seed) และกลุ่มผู้ผลิตเมล็ดถั่วเขียว (grain) ภายใต้โครงการการขยายผลเทคโนโลยีการผลิตถั่วเขียวคุณภาพสายพันธุ์ KUML ด้วยกลไกตลาดนำการผลิต ที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ
นักวิชาการ สท. นำเสนอผลงานโครงการผลิตถั่วเขียวคุณภาพ KUML-มันสำปะหลังอินทรีย์ด้วยกลไกตลาดนำการผลิตในงาน TRIUP Fair 2024
เมื่อวันที่ 24-26 กันยายน 2567 น.ส.ณิฎฐา คุ้มโต นักวิชาการอาวุโส สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. หัวหน้าโครงการ “การผลิตถั่วเขียวคุณภาพสายพันธุ์ KUML ด้วยกลไกตลาดนำการผลิต” และนายชวินทร์ ปลื้มเจริญ นักวิชาการ สท./สวทช. หัวหน้าโครงการ “การผลิตมันสำปะหลังในระบบอินทรีย์ด้วยกลไกตลาดนำการผลิต” ร่วมนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมจากการดำเนินโครงการฯ ในโซน Innovation Showcase ภายในงาน “มหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม ประจำปี ๒๕๖๗ (TRIUP Fair 2024)” ด้วยแนวคิด “Impact Journey to Ignite Thailand” ณ รอยัลพารากอน ฮอลล์