สวทช. ผนึกความร่วมมือ มจธ.-เทศบาลตำบลบูเก๊ะตา นราธิวาส พัฒนาชุมชนด้วย วทน.

สวทช. ผนึกความร่วมมือ มจธ.-เทศบาลตำบลบูเก๊ะตา นราธิวาส พัฒนาชุมชนด้วย วทน.

เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2566 ณ ห้องประชุมดาหลา เทศบาลตำบลบูเก๊ะตา อ.แว้ง จ.นราธิวาส: น.ส.อดิศัย เรืองจิระชูพร นักวิเคราะห์ สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) เป็นผู้แทน สวทช. ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การส่งเสริมการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการพัฒนาชุมชนในพื้นที่เทศบาลตำบลบูเก๊ะตา อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส” ระหว่าง สวทช. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และเทศบาลตำบลบูเก๊ะตา โดยมี รศ.ดร. สุวิทย์ แซ่เตีย อธิการบดี มจธ. และนายศุภโยค ลอดิง นายกเทศมนตรีตำบลบูเก๊ะตา ร่วมลงนาม ภายใต้บันทึกข้อตกลงดังกล่าว เป็นความร่วมมือของทั้งสามหน่วยงานในนาม “หน่วยงานความร่วมมือโครงการ Smart

กิจกรรม เคล็ด (ไม่) ลับปลูกผักอินทรีย์ให้ตลาด ‘จำ’

สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) จัดกิจกรรม เคล็ด (ไม่) ลับ ปลูกผักอินทรีย์ให้ตลาด ‘จำ’ เมื่อวันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม 2565 ณ ศูนย์การเรียนรู้การผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้  (บนฟาร์ม 907 ไร่) โดยมี 2 กิจกรรม ได้แก่  > สาธิต “เพาะกล้าดี มีชัยไปกว่าครึ่ง”โดย อาจารย์ทวีป เสนคำวงศ์อาจารย์ประจำสาขาวิชาพืชผัก คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และผู้อำนวยการศูนย์การเรียนรู้การผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ > เสวนา เคล็ด (ไม่) ลับปลูกผักอินทรีย์ ให้ ‘ตลาด’ จำโดย คุณภัทรพล วนะธนนท์ เกษตรกรเจ้าของ

การดำเนินงานของ สวทช. และเครือข่ายในพื้นที่จังหวัดลำปาง

การดำเนินงานของ สวทช. และเครือข่ายในพื้นที่จังหวัดลำปาง

สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งหน่วยงานภาครัฐในจังหวัดลำปาง สถาบันการศึกษา และบริษัทเอกชน ขับเคลื่อนการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตให้เกษตรกร/ชุมชนในพื้นที่จังหวัดลำปางด้วยองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อให้เกิดการนำไปประยุกต์ใช้ตามโจทย์ปัญหาและบริบทของพื้นที่  การดำเนินงานของ สท./สวทช. ร่วมกับภาคีเครือข่าย เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมให้เกษตรกร/ชุมชนตามโจทย์ปัญหาและบริบทของพื้นที่ นำไปสู่การยกระดับการผลิตและขยายผลสู่กลุ่มเกษตรกร/ชุมชนอื่น  ดังเช่น > ภัทราพล วนะธนนนท์ เจ้าของฟาร์ม “สุขใจฟาร์ม” ที่ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการผลิตผักอินทรีย์คุณภาพ ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สวทช. กับมหาวิทยาลัยแม่โจ้  > จุฬารัตน์ อยู่เย็น เจ้าของฟาร์ม “คนทำฟาร์ม” หนึ่งในผู้เข้าร่วมโครงการผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์รุ่นใหม่ ที่จัดโดย สวทช. มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงใหม่ และบริษัทผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ ที่มุ่งเน้นบ่มเพาะคนรุ่นใหม่สู่การเป็น “ผู้ประกอบการเมล็ดพันธุ์”  > กลุ่มแปลงใหญ่สับปะรดบ้านสา

สวทช.-อุบลไบโอเอทานอล เดินหน้า “อุบลโมเดลพลัสนวัตกรรม” ยกระดับมันสำปะหลังอินทรีย์

สวทช.-อุบลไบโอเอทานอล เดินหน้า “อุบลโมเดลพลัสนวัตกรรม” ยกระดับมันสำปะหลังอินทรีย์

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ลงนามบันทึกความร่วมมือกับบริษัท อุบล ไบโอ เอทานอล จำกัด (มหาชน) หรือ UBE ภายใต้โครงการการเพิ่มประสิทธิภาพด้านเกษตรอินทรีย์ ต่อยอดการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลัง “อุบลโมเดล” ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม สู่ “อุบลโมเดลพลัสนวัตกรรม” ขยายพื้นที่ทำงานครอบคลุม 4 จังหวัดแหล่งผลิตมันสำปะหลังสำคัญของภาคอีสาน ได้แก่ อุบลราชธานี ยโสธร ศรีสะเกษ และอำนาจเจริญ ยกระดับการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ ต้นทางวัตถุดิบคุณภาพสู่การแปรรูป “ฟลาวมันสำปะหลัง” อาหารแห่งอนาคต ตอบโจทย์โมเดลเศรษฐกิจ BCG ใช้ทรัพยากรในประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ รองผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า

มูลนิธิโครงการหลวง-สวทช. ลงนามความร่วมมือขับเคลื่อนงานวิจัย ถ่ายทอดเทคโนโลยี พัฒนาคน ยกระดับอาชีพและคุณภาพชีวิตชุมชนบนพื้นที่สูง

มูลนิธิโครงการหลวง-สวทช. ลงนามความร่วมมือขับเคลื่อนงานวิจัย ถ่ายทอดเทคโนโลยี พัฒนาคน ยกระดับอาชีพและคุณภาพชีวิตชุมชนบนพื้นที่สูง

มูลนิธิโครงการหลวงและสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ลงนามบันทึกความร่วมมือ “การพัฒนางานวิจัยและการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อพัฒนาอาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิตในชุมชน” สอดคล้องตามแนวทางของมูลนิธิที่มุ่งให้ “เกษตรกรมีรายได้พอเพียง ชุมชนเข้มแข็ง ป่าต้นน้ำลำธารได้รับการฟื้นฟู” นายจรัลธาดา กรรณสูต ประธานกรรมการมูลนิธิโครงการหลวง กล่าวว่า สวทช. เป็นหน่วยงานสำคัญของประเทศที่สนับสนุนให้เกิดการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวไทย สอดคล้องตามพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการสืบสาน รักษา และต่อยอดงานของมูลนิธิโครงการหลวงให้เป็นไปตามพระราชประสงค์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงก่อตั้งโครงการหลวงขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2512 ที่ได้พระราชทานแนวทางสำคัญของการดำเนินงาน คือ “เมื่อไม่รู้ต้องวิจัย” ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นสู่การพัฒนาพื้นที่สูงสู่ความยั่งยืน “มูลนิธิโครงการหลวงได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานจาก สวทช. ผ่านการสนับสนุนทุนวิจัยให้แก่หน่วยงานต่างๆ ได้เข้ามาศึกษาวิจัยและพัฒนานวัตกรรมองค์ความรู้ ตลอดจนการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีต่างๆ ให้แก่บุคลากรและเกษตรกรของมูลนิธิฯ มาอย่างต่อเนื่อง ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนบนพื้นที่สูงในทุกมิติให้ดีขึ้น การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้จึงนับเป็นโอกาสอันดียิ่งที่จะได้ร่วมกับโครงการในการต่อยอดและขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชนในพื้นที่โครงการหลวง เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งและมั่นคงในทุกมิติ เพื่อให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการสืบสาน

สวทช. เดินหน้า “ยกระดับคุณภาพชีวิตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้” ด้วย “วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม”

สวทช. เดินหน้า “ยกระดับคุณภาพชีวิตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้” ด้วย “วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม”

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (สท.) และฝ่ายบริหารวิจัยเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติ สวทช. ลงพื้นที่ร่วมกับภาคเอกชน กระชับความร่วมมือกับ 5 ผู้ว่าราชการจังหวัดในพื้นที่ทุ่งกุลาฯ และ 3 มหาวิทยาลัยในพื้นที่ ขับเคลื่อน “โปรแกรมการยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้” กำหนดโจทย์มุ่งเป้าและวางแผนดำเนินงานร่วมกัน ให้สอดคล้องกับโมเดลเศรษฐกิจ BCG ตั้งเป้ายกระดับคนจนเป้าหมายในมิติเศรษฐกิจพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ มีรายได้ก้าวพ้นเส้นความยากจน ยกระดับรายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ รองผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า สวทช. ได้ดำเนินงานในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้มาตั้งแต่ปี 2562 โดยร่วมกับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานในพื้นที่นำองค์ความรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เข้าไปพัฒนาทั้งอาชีพหลักและอาชีพเสริม ตลอดจนพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้ นวัตกรชุมชน เชื่อมโยงการตลาดกับภาคเอกชน รวมถึงยกระดับเกษตรกรเป็นผู้ประกอบการ ดังนั้นเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ สวทช.