“ฉันมีโอกาสได้ไปทำงานและรับบทเป็นนักท่องเที่ยว ไปเที่ยวชุมชนแห่งนี้พร้อมๆ กับพี่ๆ นักท่องเที่ยว 16 คน จากบ้านรวมไทย อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อช่วงวันที่ 25-27 มกราคม 2566 นี่เป็นครั้งแรกที่ชุมชนเปิดรับนักท่องเที่ยว ทดลองจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน เพื่อเรียนรู้และพัฒนาการท่องเที่ยวของชุมชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร-สุขภาพได้เต็มรูปแบบต่อไป …จากที่ฉันได้ไปสัมผัสก็บอกได้ทันทีว่าชุมชนฆ้องชัยแห่งนี้ “มีอะไรดี…” น.ส.ขวัญธิดา ดงหลง นักวิชาการ ฝ่ายจัดการความรู้และสร้างความตระหนัก หากอยากปลดปล่อยความเหนื่อยล้าจากการงาน พักสายตากับทุ่งนาเขียวขจี อิ่มหนำกับเมนูอาหารพื้นถิ่นจากแปลงเกษตรอินทรีย์ อิ่มเอมใจกับรอยยิ้มและมิตรภาพของผู้คนแล้วล่ะก็ อยากให้ได้ลองมาสัมผัสบรรยากาศของที่แห่งนี้ “ชุมชนตำบลฆ้องชัยพัฒนา อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์” อากาศดี “โฮมสเตย์กำนันแดง” ตั้งอยู่กลางทุ่งนาเขียวขจี สายหมอกจางๆ ต้องแสงแดดอ่อนยามเช้ารับกับเสียงไก่ขัน ปลุกความสดชื่นให้นักท่องเที่ยวได้สูดรับอากาศบริสุทธิ์เต็มอิ่ม บ้านไม้ชั้นเดียวร่มรื่นด้วยต้นไม้รอบบ้าน ชวนให้ลงเดินเล่นที่นี่ยังเป็นแหล่งเลี้ยงและอนุรักษ์ควายไทย 14 ตัว
มะเขือเทศอินทรีย์ที่สวนปันบุญ
“มะเขือเทศอินทรีย์” อีกหนึ่งผลผลิตคุณภาพของวิสาหกิจชุมชนปันบุญ ที่ผสานทั้งความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นของสมาชิกกลุ่ม ทำให้ได้มะเขือเทศอินทรีย์ที่มีรสชาติหวาน เป็นที่ชื่นชอบของลูกค้า โดยพันธุ์ที่กลุ่มฯ ปลูก คือ พันธุ์ซันไซน์ พันธุ์แดงโกเมน (พันธุ์ที่ปรับปรุงโดย สวทช.) และพันธุ์โซลาริโน่ (พันธุ์การค้า) เรื่องต้องรู้ก่อนตัดสินใจปลูกมะเขือเทศ เพื่อประกอบการตัดสินใจ วางแผนบริหารจัดการให้สอดคล้องกับตลาดและต้นทุนของตนเอง (ทุน แรงงาน) เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการปลูก ทั้งด้านการผลิต การตลาด การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวและการขนส่ง o รู้ตลาด ความต้องการของตลาด เพื่อเลือกชนิดพันธุ์มะเขือเทศ วางแผนการปลูก o รู้สภาพแวดล้อม อุณหภูมิ ความชื้น แสง โรคและแมลงศัตรูพืช รวมไปถึงดิน น้ำ ปัจจัยการผลิต เพื่อวางแผนการบริหารจัดการ เลือกวิธีป้องกัน/กำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชที่มีโอกาสเกิดขึ้น o รู้จักเทคโนโลยี เลือกใช้ตามความจำเป็นและทุน
วิสาหกิจชุมชนปันบุญ
เริ่มแรกเลยเราทำนาอินทรีย์ซึ่งทำยาก คนเฒ่าคนแก่หลายคนก็ท้อ ได้แต่บอกว่าให้ทำต่อ อดทน ทำนาอินทรีย์มันยาก แต่เราได้บุญ ทำผักอินทรีย์ ผักที่ไม่มียา มันก็ได้บุญ -สุจารี ธนสิริธนากร- คือที่มาของชื่อ “สวนปันบุญ” แหล่งผลิตข้าวและผักอินทรีย์ที่คนปลูกเชื่อมั่นว่าคือสิ่งดีๆ ที่อยากแบ่งปัน นับแต่ก่อตั้งกลุ่ม “วิสาหกิจชุมชนปันบุญ” เมื่อปลายปี 2555 โดยมี สุจารี ธนสิริธนากร เป็นหัวเรือสำคัญที่เปิดรับและปรับเปลี่ยนนำพากลุ่มฯ พัฒนาจนกลายเป็น “ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ปันบุญ” ที่ผลผลิตทั้งข้าวและผักได้การรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ (Organic Thailand) สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมดำเนินงานกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปันบุญเมื่อปี 2561 ผ่านการเชื่อมโยงเครือข่ายจากวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์โนนกลาง โดยทำงานร่วมกับกรมวิชาการเกษตร ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาฬสินธุ์ (ศวพ.กาฬสินธุ์) มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (ราชบุรี) และบริษัท
วิสาหกิจชุมชนปันบุญ: แบ่งปันเพื่อสุขภาพทีดี
ดาวน์โหลดเอกสาร
เกษตรอินทรีย์…วิถีปันบุญ
ดาวน์โหลดหนังสือ เกษตรอินทรีย์…วิถี ‘ปันบุญ’
สวนปันบุญ…ปันสิ่งดีๆ เพื่อทุกคน
“เริ่มแรกเลยเราทำนาอินทรีย์ซึ่งทำยาก คนเฒ่าคนแก่หลายคนก็ท้อ ได้แต่บอกว่าให้ทำต่อ อดทน ทำนาอินทรีย์มันยากแต่เราได้บุญ ทำผักอินทรีย์ ผักที่ไม่มียา มันก็ได้บุญ” คือที่มาที่ไปของชื่อ “สวนปันบุญ” แห่งบ้านดอนแคน ต.ฆ้องชัยพัฒนา อ.ฆ้องชัย จ.กาฬสินธุ์ แหล่งผลิตข้าวและผักอินทรีย์ซึ่งคนปลูกเชื่อมั่นว่าคือสิ่งดีๆ ที่อยากแบ่งปันนับตั้งแต่ก้าวแรกของการก่อตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปันบุญตั้งแต่ปลายปี 2555 ก่อนหน้านี้ชาวบ้านคุ้นชินกับการใช้ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าหญ้า และสารกำจัดศัตรูพืชในแปลงนาจนล้มป่วยด้วยโรคผิวหนัง สะเก็ดเงิน และโรคเรื้อรังอย่างเบาหวาน ความดัน และมะเร็งซึ่งคร่าชีวิตคนในหมู่บ้านไปทีละน้อย กลายเป็นคำถามที่ สุจารี ธนสิริธนากร ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปันบุญ ต้องการหาทางออกเพื่อเป็นทางเลือกทางรอดให้ชาวบ้านนับตั้งแต่ตัดสินใจลาออกจากการทำงานในกรุงเทพฯ เธอลงมือค้นหาคำตอบผ่านการทำงานวิจัยไทบ้านร่วมกับคู่ชีวิตและชาวบ้านที่สนใจ คำตอบที่ได้ในวันนั้น คือ การกลับมาทำนาแบบโบราณ หรือ การทำเกษตรอินทรีย์ เลิกการใช้สารเคมีโดยสิ้นเชิง แม้ทุกคนจะรู้ว่าดี แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะปรับเปลี่ยนวิธีคิดและพฤติกรรม สุจารี ยอมสละที่นาตัวเองให้เพื่อนสมาชิกทดลองปลูกข้าวโดยไม่ใช้สารเคมี