สุขใจฟาร์ม

สุขใจฟาร์ม

สุขใจ คือชื่อเล่นของ ภัทราพล วนะธนนนท์ ที่แม่ตั้งให้ด้วยหวังให้ชีวิตลูกมีความสุข จากเด็กน้อยที่เติบโตในชุมชนเล็กๆ ของตำบลวังทรายคำ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง ก่อนไปใช้ชีวิตวัยทำงานในวงการบันเทิงที่เมืองกรุง และพลิกชีวิตช่วงวัยกลางคนสู่อาชีพ “เกษตรกร” ที่ไม่มีใครคิดว่าเขาจะทำได้ ไม่เพียงผลผลิตคุณภาพของ ‘สุขใจฟาร์ม’ จะเป็นที่ต้องการของตลาดในพื้นที่และตลาดโมเดิร์นเทรด หากที่นี่ยังเป็น ‘ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ระดับชุมชน’ ที่พร้อมส่งต่อองค์ความรู้และประสบการณ์ให้ผู้สนใจผลิตผักอินทรีย์ด้วยความรู้ เรื่องราวของ ‘สุขใจฟาร์ม’ จากศูนย์ (0) สู่ศูนย์เรียนรู้ระดับชุมชน (บันทึกวิดีโอกิจกรรมเสวนา) แนะนำศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ระดับชุมชน: สุขใจฟาร์ม (วิดีโอ) จาก ‘ศูนย์ (0)’ สู่ ‘ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ระดับชุมชน: สุขใจฟาร์ม’ (ข่าวประชาสัมพันธ์) เคล็ด(ไม่)ลับ ปลูกผักอินทรีย์ ให้ตลาดจำ (บันทึกวิดีโอกิจกรรมเสวนา) ‘แปลงผักสุขใจ’

จาก ‘ศูนย์ (0)’ สู่ ‘ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ระดับชุมชน: สุขใจฟาร์ม’

จาก ‘ศูนย์ (0)’ สู่ ‘ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ระดับชุมชน: สุขใจฟาร์ม’

เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ สำนักงานเกษตรอำเภอวังเหนือ และองค์การบริหารส่วนตำบลวังทรายคำ เปิด “ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ระดับชุมชน: สุขใจฟาร์ม” ต.วังทรายคำ อ.วังเหนือ จ.ลำปาง พร้อมกิจกรรมถ่ายทอดความรู้การผลิตกล้าคุณภาพและการเพาะต้นอ่อน โดยมี นางวณิชดา ไชยศิริ นายอำเภอวังเหนือ เป็นประธานเปิดงาน “เราเริ่มต้นจากศูนย์ ไม่มีองค์ความรู้เกษตรอะไรเลย ได้แต่ดูจากยูทูป กูเกิ้ล ซึ่งไม่สามารถให้องค์ความรู้กับเราได้ 100% จนได้ไปอบรมการผลิตผักอินทรีย์คุณภาพกับ สวทช.-ม.แม่โจ้ เป็นองค์ความรู้ตามหลักวิชาการ เอามาปรับใช้กับพื้นที่ของเรา ได้ลองผิดลองถูก จนปีนี้เข้าสู่ปีที่ 6 เราพร้อมเป็นศูนย์เรียนรู้เผยแพร่ความรู้ให้คนในชุมชนได้ผลิตผักอินทรีย์มีคุณภาพ เราเชื่อว่าความรู้ที่ได้ทำให้คุณภาพของผักและคุณภาพชีวิตของเราดีขึ้นได้จริงๆ” นายภัทรพล วนะธนนนท์ เกษตรกรรุ่นใหม่และเจ้าของฟาร์ม “สุขใจฟาร์ม” สะท้อนความรู้สึกในวันที่ฟาร์มของเขากลายเป็นแหล่งเรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์ให้กับชุมชน

‘แปลงผักสุขใจ’ สู่ ‘สายใยรัก’

‘แปลงผักสุขใจ’ สู่ ‘สายใยรัก’

“เขาเป็นคนพิการ แต่เขาไม่ได้ทำให้ดูเป็นคนพิการเลย เขาทำงานได้เหมือนคนปกติ ถากหญ้าได้ ทำโน่นนี่ได้ ขนาดเขาไม่ปกติ เขายังสู้เลย” น้องแนน-นางสาวนลินี พรมสังข์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สะท้อนความรู้สึกที่เกิดขึ้นหลังจากที่ “โรงเรือนไม้ไผ่ปลูกพืชต้นทุนต่ำ” ของ “ชมรมคนพิการสายใยรักตำบลร่องเคาะ” เสร็จสมบูรณ์ น้องแนนและเพื่อนๆ ชั้นปี 4 จากสาขาพืชผัก คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นแรงกำลังสำคัญสร้างโรงเรือนไม้ไผ่ปลูกพืชต้นทุนต่ำและปรับปรุงแปลงผักบนพื้นที่ของ “ชมรมคนพิการสายใยรักตำบลร่องเคาะ” อ.เวียงเหนือ จ.ลำปาง ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นเมื่อช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน 2563 จากความร่วมมือของสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ลักกี้ซี้ด อโกร และบริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด “ชมรมคนพิการสายใยรักตำบลร่องเคาะ” เป็นหนึ่งในเครือข่ายผู้ผลิตผักอินทรีย์ของนายภัทราพล วนะธนนนท์ เจ้าของ

กิจกรรม เคล็ด (ไม่) ลับปลูกผักอินทรีย์ให้ตลาด ‘จำ’

สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) จัดกิจกรรม เคล็ด (ไม่) ลับ ปลูกผักอินทรีย์ให้ตลาด ‘จำ’ เมื่อวันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม 2565 ณ ศูนย์การเรียนรู้การผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้  (บนฟาร์ม 907 ไร่) โดยมี 2 กิจกรรม ได้แก่  > สาธิต “เพาะกล้าดี มีชัยไปกว่าครึ่ง”โดย อาจารย์ทวีป เสนคำวงศ์อาจารย์ประจำสาขาวิชาพืชผัก คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และผู้อำนวยการศูนย์การเรียนรู้การผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ > เสวนา เคล็ด (ไม่) ลับปลูกผักอินทรีย์ ให้ ‘ตลาด’ จำโดย คุณภัทรพล วนะธนนท์ เกษตรกรเจ้าของ

‘แปลงผักสุขใจ’ สู่ ‘สายใยรัก’

‘แปลงผักสุขใจ’ สู่ ‘สายใยรัก’

“เขาเป็นคนพิการ แต่เขาไม่ได้ทำให้ดูเป็นคนพิการเลย เขาทำงานได้เหมือนคนปกติ ถากหญ้าได้ ทำโน่นนี่ได้ ขนาดเขาไม่ปกติ เขายังสู้เลย” น้องแนน-นางสาวนลินี พรมสังข์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สะท้อนความรู้สึกที่เกิดขึ้นหลังจากที่ “โรงเรือนไม้ไผ่ปลูกพืชต้นทุนต่ำ” ของ “ชมรมคนพิการสายใยรักตำบลร่องเคาะ” เสร็จสมบูรณ์ น้องแนนและเพื่อนๆ ชั้นปี 4 จากสาขาพืชผัก คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นแรงกำลังสำคัญสร้างโรงเรือนไม้ไผ่ปลูกพืชต้นทุนต่ำและปรับปรุงแปลงผักบนพื้นที่ของ “ชมรมคนพิการสายใยรักตำบลร่องเคาะ” อ.เวียงเหนือ จ.ลำปาง ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นเมื่อช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน 2563 จากความร่วมมือของสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ลักกี้ซี้ด อโกร และบริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด “ชมรมคนพิการสายใยรักตำบลร่องเคาะ” เป็นหนึ่งในเครือข่ายผู้ผลิตผักอินทรีย์ของนายภัทราพล วนะธนนนท์ เจ้าของ

สท.-ม.แม่โจ้ ร่วมกับภาคเอกชน หนุนอาชีพให้ “ผู้พิการ” สร้าง “โรงเรือนไม้ไผ่ปลูกพืชต้นทุนต่ำ” ขยายเครือข่ายผู้ผลิตผักอินทรีย์คุณภาพ

สท.-ม.แม่โจ้ ร่วมกับภาคเอกชน หนุนอาชีพให้ “ผู้พิการ” สร้าง “โรงเรือนไม้ไผ่ปลูกพืชต้นทุนต่ำ” ขยายเครือข่ายผู้ผลิตผักอินทรีย์คุณภาพ

สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด และห้างหุ้นส่วนลักกี้ ซี้ดอโกร จัดสร้างต้นแบบ “โรงเรือนไม้ไผ่ปลูกพืชต้นทุนต่ำ” ให้ “ชมรมคนพิการสายใยรักตำบลร่องเคาะ” อ.วังเหนือ จ.ลำปาง สนับสนุนการสร้างอาชีพและรายได้ให้สมาชิกชมรมและผู้ดูแลผู้พิการ พร้อมขยายเครือข่ายผู้ผลิตผักอินทรีย์คุณภาพในพื้นที่จังหวัดลำปาง นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) เป็นหน่วยงานภายใต้ สวทช. ที่มีบทบาทหนึ่งในการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเผยแพร่สู่ชุมชน ซึ่งปัญหาที่พบจากชุมชนหรือเกษตรกรคือ ขาดองค์ความรู้การทำการเกษตร “สท. ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และเครือข่ายภาคเอกชน ดำเนินโครงการ “การพัฒนาเครือข่ายเกษตรอินทรีย์และผู้ผลิตผักสดและเมล็ดพันธุ์ในชุมชน” ผ่านกระบวนการให้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านเกษตรอินทรีย์ เรื่องการผลิตผักสดคุณภาพ การเก็บเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์ไว้ใช้เอง และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตผักสดคุณภาพ เพื่อให้เกษตรกรเกิดความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องในการผลิตผักสดคุณภาพและการผลิตเมล็ดพันธุ์ผักในระบบเกษตรอินทรีย์ไว้ใช้เอง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของเกษตรกร ตลอดจนสร้างรายได้และอาชีพ

‘กล้า’ สร้างสุข กับ ‘สุขใจฟาร์ม’

‘กล้า’ สร้างสุข กับ ‘สุขใจฟาร์ม’

คงไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับใครสักคนที่ใช้ชีวิตท่ามกลางแสงสี เสียงและเงินทองในเมืองกรุงมาค่อนชีวิต จะหันหลังให้ความสุขสนุกแล้วมาลงแรงปลูกผักที่บ้านเกิด ที่แวดล้อมด้วยแสง สีและเสียงของธรรมชาติ สุขใจ คือชื่อเล่นของ ภัทราพล วนะธนนนท์ ที่แม่ตั้งให้ด้วยหวังให้ชีวิตลูกมีความสุข จากเด็กน้อยที่เติบโตในชุมชนเล็กๆ ของต.วังทรายคำ อ.วังเหนือ จ.ลำปาง ก่อนไปใช้ชีวิตในเมืองเชียงใหม่และโลดแล่นในวงการบันเทิงที่กรุงเทพฯ  พลิกชีวิตช่วงวัยกลางคนสู่อาชีพ “เกษตรกร” ที่ไม่มีใครคิดว่าเขาจะทำได้ เพียง 3 ปีบนเส้นทาง “เกษตรอินทรีย์” ผลผลิตคุณภาพของ ‘สุขใจฟาร์ม’ เดินทางสู่ตลาดโมเดิร์นเทรด และยังสร้างโอกาสให้กลุ่มผู้สูงอายุและผู้พิการ จากประสบการณ์การทำงานในฐานะผู้จัดการร้านถ่ายภาพที่จับงานเองทุกขั้นตอนกว่า 8 ปี นำทางสู่สายงานภาพยนตร์กับบริษัทดังในหน้าที่จัดหานักแสดง ทิ้งทวนชีวิตวงการมายาด้วยบทบาทผู้กำกับภาพยนตร์ก่อนกลับคืนถิ่นที่บ้านเกิด “เราทำงานในวงการบันเทิงห้อมล้อมด้วยแสงสี ทำงานหนัก พักผ่อนน้อย ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย กินดื่มเที่ยวสารพัด ไม่ได้ดูแลสุขภาพตัวเองให้ดีพอ พอเจ็บป่วยเข้าโรงพยาบาล ไม่มีใครดูแลเราเลย คนที่ดูแลเราคือแม่และคนในครอบครัว