เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตวสระแกว ปศุสัตว์อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และองค์การบริหารส่วนตำบลท่าตะเกียบ จัดเสวนา “การเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงโคเนื้อและการผลิตอาหารโคคุณภาพ” ณ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าตะเกียบ อ.ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา โดยได้รับเกียรติจากนายทวี สาธุชาติ นายก อบต.ท่าตะะเกียบ เป็นประธานเปิดงาน กิจกรรมเสวนาครั้งนี้มีผู้เชี่ยวชาญและเกษตรกรแกนนำร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์การเลี้ยงโคเนื้อ ได้แก่ นายกฤษณะ เกาะแก้ว ปศุสัตว์อำเภอท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา นายอดิศักดิ์ แพทย์พิพัฒน์ นักวิชาการสัตวบาล ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์จังหวัดสระแก้ว รศ. ดร.สินีนาฏ พลโยราช สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง น.ส.สมจิต สาธุชาติ ประธานกลุ่มโคเนื้อท่าตะเกียบ
สท. จับมือศูนย์วิจัยฯ อาหารสัตว์สระแก้ว ให้ความรู้กลุ่มเกษตรกรท่าตะเกียบเพิ่มประสิทธิภาพเลี้ยงโคเนื้อและผลิตอาหาร TMR คุณภาพ
เมื่อวันที่ 4-5 กันยายน 2567 นายนิคม กันยานะ นักวิชาการ สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์สระแก้ว จัดอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยี “การเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงโคเนื้อและการผลิตอาหารโคคุณภาพ” ณ หมู่บ้านเขาวงค์และหมู่บ้านอ่างเตย ต.ท่าตะเกียบ อ.ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา มีสมาชิกวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้เลี้ยงวัวท่าตะเกียบและเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมอบรมรวม 94 คน โดยได้รับความรู้เทคโนโลยีการคัดเลือกพันธุ์โคเนื้อ โภชนะวัตถุดิบอาหาร การผลิตอาหารโคคุณภาพที่เหมาะสมกับช่วงวัย เทคนิคการเลี้ยงโคขุน เทคนิคการรักษาคุณภาพอาหาร หรือการทำอาหาร TMR หมัก (FTMR) และฝึกปฏิบัติทักษะการผสมอาหาร TMR (Total Mixed Ration) สำหรับโคขุน ซึ่งเป็นอาหารผสมสำเร็จรูปที่นำอาหารหยาบ อาหารข้น แร่ธาตุและวิตามินผสมกันในอัตราส่วนที่เหมาะสม ทำให้โคได้รับโภชนะครบถ้วนตามความต้องการของร่างกายในแต่ละช่วงวัย
โคขุน ขุนโค สร้างอาชีพที่ชายแดนใต้
“โค” เป็นส่วนหนึ่งในวิถีการดำเนินชีวิตของพี่น้องในสามจังหวัดชายแดนใต้ ชาวบ้านนิยมเลี้ยงโคพื้นเมืองเพื่อบริโภคในชีวิตประจำวันและใช้บริจาคทานในช่วงเทศกาลรอมฎอน หรือที่เรียกว่า วัวบุญ ซึ่งทำให้ความต้องการโคมีสูงมาก จึงมีโคจากที่ต่างๆ ส่งมาขายในพื้นที่และที่นี่จึงเป็นตลาดโคที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศก็ว่าได้ เมื่อปริมาณความต้องการโคในพื้นที่มีมาก แต่เม็ดเงินจากการซื้อขายโคกลับไม่หมุนเวียนถึงเกษตรกรในพื้นที่ จึงมีความพยายามของหลายหน่วยงานที่จะสนับสนุนและยกระดับการเลี้ยงโคให้เป็นอาชีพหลักในพื้นที่นี้ ผศ.ดร.จักรพันธ์ พิชญพิพัฒน์กุล คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เล่าว่า วิถีการเลี้ยงโคในพื้นที่ยังเลี้ยงแบบดั้งเดิม คือปล่อยให้โคหากินตามสวนหรือพื้นที่ว่างเปล่า การพัฒนาการเลี้ยงแบบจริงจังในเชิงธุรกิจหรือยกระดับให้เป็นอาชีพหลัก จึงต้องให้ความรู้เกษตรกรและมีช่องทางตลาดที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้เกษตรกรได้ ผศ.ดร.จักรพันธ์ พิชญพิพัฒน์กุล มาหะมะนาเซ และฆาเยาะ หรือ ฎอน นั่นจึงเป็นที่มาของ สหกรณ์โคเนื้อมือนารอ ที่จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2561 เพื่อส่งเสริมให้ชาวบ้านหันมาเลี้ยงโคพันธุ์ลูกผสมมากขึ้น นอกจากสหกรณ์ฯ รับซื้อ ชำแหละ จำหน่ายและแปรรูปเนื้อโคแล้ว สหกรณ์ฯ ยังเป็นแหล่งความรู้การเลี้ยงโคพันธุ์ลูกผสมและการขุนโคให้ได้คุณภาพ รวมถึงเป็นแหล่งวัตถุดิบอาหารโคคุณภาพให้สมาชิก “ตอนเริ่มต้นตั้งสหกรณ์ฯ มีสมาชิก
วิทย์พลิกชุมชน: ปรับวิธีคิด เปลี่ยนวิธีทำ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
ดาวน์โหลดหนังสือ คลิก