โครงการ “อุบลโมเดล” คือจุดเริ่มการทำงานด้วยกลไกตลาดนำการผลิต ซึ่งสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับบริษัท อุบล ไบโอ เอทานอล จำกัด (มหาชน) หรือ UBE ดำเนินงานกับกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ ต.กู่จ่าน อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร จำนวน 60 คน พื้นที่ปลูกรวม 354 ไร่ โดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ให้ได้คุณภาพดี ซึ่งในปี 2565 สามารถสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจ 1.3 ล้านบาท จากปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นเป็น 4 ตัน/ไร่ จากเดิม 3 ตัน/ไร่ แม้ผลผลิตจะเพิ่มขึ้นไม่มาก แต่ด้วยราคารับซื้อมันสำปะหลังอินทรีย์ที่สูงและต้นทุนการผลิตที่ต่ำลง ทำให้เกษตรกรมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น ในปี พ.ศ.2565
สวทช.-อุบลไบโอเอทานอล เดินหน้า “อุบลโมเดลพลัสนวัตกรรม” ยกระดับมันสำปะหลังอินทรีย์
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ลงนามบันทึกความร่วมมือกับบริษัท อุบล ไบโอ เอทานอล จำกัด (มหาชน) หรือ UBE ภายใต้โครงการการเพิ่มประสิทธิภาพด้านเกษตรอินทรีย์ ต่อยอดการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลัง “อุบลโมเดล” ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม สู่ “อุบลโมเดลพลัสนวัตกรรม” ขยายพื้นที่ทำงานครอบคลุม 4 จังหวัดแหล่งผลิตมันสำปะหลังสำคัญของภาคอีสาน ได้แก่ อุบลราชธานี ยโสธร ศรีสะเกษ และอำนาจเจริญ ยกระดับการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ ต้นทางวัตถุดิบคุณภาพสู่การแปรรูป “ฟลาวมันสำปะหลัง” อาหารแห่งอนาคต ตอบโจทย์โมเดลเศรษฐกิจ BCG ใช้ทรัพยากรในประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ รองผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า