มีอาชีพ มีรายได้ที่บ้านเกิด ด้วย ‘เกษตรอินทรีย์วิถีสะเมิง’

มีอาชีพ มีรายได้ที่บ้านเกิด ด้วย ‘เกษตรอินทรีย์วิถีสะเมิง’

“ในระยาวเกษตรอินทรีย์ไม่ใช่แค่ปลูกผักผลไม้ แต่ต่อยอดไปเรื่องท่องเที่ยวได้” มุมมองของ นที มูลแก้ว ประธานวิสาหกิจชุมชนสะเมิงออร์แกนิค อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ จากประสบการณ์ที่ได้ขับเคลื่อนการทำเกษตรอินทรีย์ในอำเภอสะเมิงมากว่า 5 ปี ซึ่งอำเภอสะเมิงเป็นหนึ่งในเส้นทางท่องเที่ยวเชียงใหม่ “Winter of CNX เมียงมองลอง (แอ่ว) เชียงใหม่ในมุมใหม่” ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สวทช. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานเชียงใหม่ และผู้ประกอบกิจการเพื่อสังคมในเชียงใหม่* *กิจกรรมภายใต้โครงการการส่งเสริมกระบวนการท่องเที่ยวเชิงเกษตรสร้างสรรค์บนฐานทรัพยากรชุมชน เพื่อขับเคลื่อน BCG สาขาท่องเที่ยว แม้เส้นทางอาชีพจะเป็นสายงานวางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ แต่ด้วยความชอบด้านเกษตร นที ศึกษาเรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์ควบคู่ไปด้วย จนมาลงหลักปักฐานที่บ้านภรรยาในอำเภอสะเมิง  “กลุ่มเรารวมตัวจากที่นายทุนเข้ามาซื้อที่มากขึ้น คนทำเกษตรลดน้อยลง พวกเราที่เป็นคนรุ่นใหม่เห็นว่าเราต้องใช้ประโยชน์จากพื้นที่แทนที่จะขายให้นายทุน ก็มองกันที่การทำเกษตรอินทรีย์ เพราะรู้อยู่แล้วเกษตรเคมีไม่ดีต่อทั้งคนปลูกและคนกิน เริ่มหาเครือข่ายคนทำเกษตรอินทรีย์ จากที่ต่างคนต่างทำเกษตรก็มาทำงานร่วมกันโดยมีเป้าหมายให้คนทำเกษตรอยู่ในพื้นที่ได้ด้วยเกษตรอินทรีย์” วิสาหกิจชุมชนสะเมิงออร์แกนิค

จาก ‘ศูนย์ (0)’ สู่ ‘ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ระดับชุมชน: สุขใจฟาร์ม’

จาก ‘ศูนย์ (0)’ สู่ ‘ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ระดับชุมชน: สุขใจฟาร์ม’

เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ สำนักงานเกษตรอำเภอวังเหนือ และองค์การบริหารส่วนตำบลวังทรายคำ เปิด “ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ระดับชุมชน” ณ สุขใจฟาร์ม ต.วังทรายคำ อ.วังเหนือ จ.ลำปาง พร้อมกิจกรรมถ่ายทอดความรู้การผลิตกล้าคุณภาพและการเพาะต้นอ่อน โดยมี นางวณิชดา ไชยศิริ นายอำเภอวังเหนือ เป็นประธานเปิดงาน “เราเริ่มต้นจากศูนย์ ไม่มีองค์ความรู้เกษตรอะไรเลย ได้แต่ดูจากยูทูป กูเกิ้ล ซึ่งไม่สามารถให้องค์ความรู้กับเราได้ 100% จนได้ไปอบรมการผลิตผักอินทรีย์คุณภาพกับ สวทช.-ม.แม่โจ้ เป็นองค์ความรู้ตามหลักวิชาการ เอามาปรับใช้กับพื้นที่ของเรา ได้ลองผิดลองถูก จนปีนี้เข้าสู่ปีที่ 6 เราพร้อมเป็นศูนย์เรียนรู้เผยแพร่ความรู้ให้คนในชุมชนได้ผลิตผักอินทรีย์มีคุณภาพ เราเชื่อว่าความรู้ที่ได้ทำให้คุณภาพของผักและคุณภาพชีวิตของเราดีขึ้นได้จริงๆ” นายภัทรพล วนะธนนนท์

สวทช. ร่วม “รวมพลังขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์ เพื่อเรา…เพื่อโลก”

สวทช. ร่วม “รวมพลังขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์ เพื่อเรา…เพื่อโลก”

เมื่อวันที่ 17-19 กุมภาพันธ์ 2566 สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรม “รวมพลังขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์ เพื่อเรา…เพื่อโลก” ในงานสังคมสุขใจ ครั้งที่ 8 ณ สวนสามพราน ต.ยายชา อ.สามพราน จ.นครปฐม ซึ่ง สท. ได้ร่วมจัดกิจกรรมเสวนา นิทรรศการให้ความรู้ และกิจกรรมฝึกปฏิบัติการ (workshop) เสวนา “ปลูกผักให้มีคุณภาพ” และ “ห่วงโซ่อาหารโมเดลถั่วเขียว KUML อินทรีย์” สองหัวข้อเสวนาที่ สท. ได้นำเสนอบทบาทการทำงานในด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตผักอินทรีย์คุณภาพและการผลิตถั่วเขียว KUML อินทรีย์ โดยมีคุณณิฎฐา คุ้มโต นักวิชาการอาวุโส ฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยี สท.

อยู่ดีมีแฮง..ม่วนหลายกับท่องเที่ยววิถีชุมชนตำบลฆ้องชัยพัฒนา

อยู่ดีมีแฮง..ม่วนหลายกับท่องเที่ยววิถีชุมชนตำบลฆ้องชัยพัฒนา

“ฉันมีโอกาสได้ไปทำงานและรับบทเป็นนักท่องเที่ยว ไปเที่ยวชุมชนแห่งนี้พร้อมๆ กับพี่ๆ นักท่องเที่ยว 16 คน จากบ้านรวมไทย อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อช่วงวันที่ 25-27 มกราคม 2566 นี่เป็นครั้งแรกที่ชุมชนเปิดรับนักท่องเที่ยว ทดลองจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน เพื่อเรียนรู้และพัฒนาการท่องเที่ยวของชุมชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร-สุขภาพได้เต็มรูปแบบต่อไป …จากที่ฉันได้ไปสัมผัสก็บอกได้ทันทีว่าชุมชนฆ้องชัยแห่งนี้ “มีอะไรดี…” น.ส.ขวัญธิดา ดงหลง นักวิชาการ ฝ่ายจัดการความรู้และสร้างความตระหนัก หากอยากปลดปล่อยความเหนื่อยล้าจากการงาน พักสายตากับทุ่งนาเขียวขจี อิ่มหนำกับเมนูอาหารพื้นถิ่นจากแปลงเกษตรอินทรีย์ อิ่มเอมใจกับรอยยิ้มและมิตรภาพของผู้คนแล้วล่ะก็ อยากให้ได้ลองมาสัมผัสบรรยากาศของที่แห่งนี้ “ชุมชนตำบลฆ้องชัยพัฒนา อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์” อากาศดี “โฮมสเตย์กำนันแดง” ตั้งอยู่กลางทุ่งนาเขียวขจี สายหมอกจางๆ ต้องแสงแดดอ่อนยามเช้ารับกับเสียงไก่ขัน ปลุกความสดชื่นให้นักท่องเที่ยวได้สูดรับอากาศบริสุทธิ์เต็มอิ่ม บ้านไม้ชั้นเดียวร่มรื่นด้วยต้นไม้รอบบ้าน ชวนให้ลงเดินเล่นที่นี่ยังเป็นแหล่งเลี้ยงและอนุรักษ์ควายไทย 14 ตัว

เสวนา เกษตรอินทรีย์: ทางเลือก ทางรอดของชุมชน

เสวนา เกษตรอินทรีย์: ทางเลือก ทางรอดของชุมชน

เก็บตก!! งานสัมมนาและแสดงนวัตกรรม สวทช. – วิทย์สัญจร วิจัยเข้มแข็งเสริมแกร่งภูมิภาค ในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ที่ผ่านมา จัดโดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร ภายใต้แนวคิด “นวัตกรรมสร้างสรรค์ พันธมิตรร่วมใจ ล้านนาก้าวไกลด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม” ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา จ.เชียงใหม่ ซึ่งหนึ่งในหัวข้อเสวนาที่น่าสนใจคือ “เกษตรอินทรีย์: ทางเลือก ทางรอดของชุมชน” ชีวิตที่เลือกเป็น “เกษตรกร” จากอดีตลูกจ้างองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ คุณประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ตัดสินใจนำเงินเก็บสะสมไปซื้อที่ดินในอ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง เพื่อเป็นเกษตรกรเมื่อปี 2532 เริ่มต้นจากปลูกสับปะรด ข้าวโพดอ่อน แต่การรับซื้อที่ถูกกดราคา

สวทช.-ม.แม่โจ้ เปิดตัว “สถานีเรียนรู้ด้านเกษตรและเกษตรอัจฉริยะ”

สวทช.-ม.แม่โจ้ เปิดตัว “สถานีเรียนรู้ด้านเกษตรและเกษตรอัจฉริยะ”

เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2565 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เปิด “สถานีเรียนรู้ (Training Hub) ด้านเกษตรและเกษตรอัจฉริยะ” ภายใต้ความร่วมมือในโครงการ “การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีเกษตรและเกษตรอัจฉริยะ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน” โดยมีนางสาวกัลยารัตน์ รัตนะจิตร ผู้อำนวยการฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยี (สท.) เป็นผู้แทนจาก สวทช. เข้าร่วมงาน ภายใต้ความร่วมมือดังกล่าว สวทช. โดย สท. ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พัฒนาสถานีเรียนรู้ (Training Hub) เพื่อรองรับการเรียนรู้ระดับภาคสนามให้กับเกษตรกรและผู้สนใจ โดยถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของทั้งสองหน่วยงานผ่านหลักสูตรการอบรม ฐานเรียนรู้และกิจกรรมต่างๆ โดยเริ่มต้นจากฐานเรียนรู้การผลิตผักอินทรีย์ในพื้นที่ของศูนย์การเรียนรู้การผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (ฟาร์ม 907 ไร่)

กิจกรรม เคล็ด (ไม่) ลับปลูกผักอินทรีย์ให้ตลาด ‘จำ’

สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) จัดกิจกรรม เคล็ด (ไม่) ลับ ปลูกผักอินทรีย์ให้ตลาด ‘จำ’ เมื่อวันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม 2565 ณ ศูนย์การเรียนรู้การผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้  (บนฟาร์ม 907 ไร่) โดยมี 2 กิจกรรม ได้แก่  > สาธิต “เพาะกล้าดี มีชัยไปกว่าครึ่ง”โดย อาจารย์ทวีป เสนคำวงศ์อาจารย์ประจำสาขาวิชาพืชผัก คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และผู้อำนวยการศูนย์การเรียนรู้การผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ > เสวนา เคล็ด (ไม่) ลับปลูกผักอินทรีย์ ให้ ‘ตลาด’ จำโดย คุณภัทรพล วนะธนนท์ เกษตรกรเจ้าของ