เสวนา เกษตรอินทรีย์: ทางเลือก ทางรอดของชุมชน

เสวนา เกษตรอินทรีย์: ทางเลือก ทางรอดของชุมชน

เก็บตก!! งานสัมมนาและแสดงนวัตกรรม สวทช. – วิทย์สัญจร วิจัยเข้มแข็งเสริมแกร่งภูมิภาค ในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ที่ผ่านมา จัดโดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร ภายใต้แนวคิด “นวัตกรรมสร้างสรรค์ พันธมิตรร่วมใจ ล้านนาก้าวไกลด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม” ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา จ.เชียงใหม่ ซึ่งหนึ่งในหัวข้อเสวนาที่น่าสนใจคือ “เกษตรอินทรีย์: ทางเลือก ทางรอดของชุมชน” ชีวิตที่เลือกเป็น “เกษตรกร” จากอดีตลูกจ้างองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ คุณประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ตัดสินใจนำเงินเก็บสะสมไปซื้อที่ดินในอ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง เพื่อเป็นเกษตรกรเมื่อปี 2532 เริ่มต้นจากปลูกสับปะรด ข้าวโพดอ่อน แต่การรับซื้อที่ถูกกดราคา

‘กล้า’ สร้างสุข กับ ‘สุขใจฟาร์ม’

‘กล้า’ สร้างสุข กับ ‘สุขใจฟาร์ม’

คงไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับใครสักคนที่ใช้ชีวิตท่ามกลางแสงสี เสียงและเงินทองในเมืองกรุงมาค่อนชีวิต จะหันหลังให้ความสุขสนุกแล้วมาลงแรงปลูกผักที่บ้านเกิด ที่แวดล้อมด้วยแสง สีและเสียงของธรรมชาติ สุขใจ คือชื่อเล่นของ ภัทราพล วนะธนนนท์ ที่แม่ตั้งให้ด้วยหวังให้ชีวิตลูกมีความสุข จากเด็กน้อยที่เติบโตในชุมชนเล็กๆ ของต.วังทรายคำ อ.วังเหนือ จ.ลำปาง ก่อนไปใช้ชีวิตในเมืองเชียงใหม่และโลดแล่นในวงการบันเทิงที่กรุงเทพฯ  พลิกชีวิตช่วงวัยกลางคนสู่อาชีพ “เกษตรกร” ที่ไม่มีใครคิดว่าเขาจะทำได้ เพียง 3 ปีบนเส้นทาง “เกษตรอินทรีย์” ผลผลิตคุณภาพของ ‘สุขใจฟาร์ม’ เดินทางสู่ตลาดโมเดิร์นเทรด และยังสร้างโอกาสให้กลุ่มผู้สูงอายุและผู้พิการ จากประสบการณ์การทำงานในฐานะผู้จัดการร้านถ่ายภาพที่จับงานเองทุกขั้นตอนกว่า 8 ปี นำทางสู่สายงานภาพยนตร์กับบริษัทดังในหน้าที่จัดหานักแสดง ทิ้งทวนชีวิตวงการมายาด้วยบทบาทผู้กำกับภาพยนตร์ก่อนกลับคืนถิ่นที่บ้านเกิด “เราทำงานในวงการบันเทิงห้อมล้อมด้วยแสงสี ทำงานหนัก พักผ่อนน้อย ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย กินดื่มเที่ยวสารพัด ไม่ได้ดูแลสุขภาพตัวเองให้ดีพอ พอเจ็บป่วยเข้าโรงพยาบาล ไม่มีใครดูแลเราเลย คนที่ดูแลเราคือแม่และคนในครอบครัว