สท.-ม.เกษตรศาสตร์-สนง.เกษตรศรีสะเกษ ยกระดับเกษตรกรผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว KUML

สท.-ม.เกษตรศาสตร์-สนง.เกษตรศรีสะเกษ ยกระดับเกษตรกรผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว KUML

เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และสำนักงานเกษตรจังหวัดศรีสะเกษ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “เทคโนโลยีการเก็บเกี่ยวและการผลิตเมล็ดพันธุ์ระดับชุมชน : ถั่วเขียวพันธุ์ KUML” ให้กลุ่มเกษตรกรจากอำเภอน้ำเกลี้ยง อำเภอเมืองจันทร์และอำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ที่พร้อมยกระดับเป็นผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว KUML (Seed) และเจ้าหน้าที่ด้านเกษตรของจังหวัด รวม 89 คน โดยมี รศ. ดร.ประกิจ สมท่า และ ผศ. ดร.กนกวรรณ เที่ยงธรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เป็นวิทยากรให้ความรู้ อีกทั้งได้รับฟังข้อมูลการรับซื้อผลผลิตจากผู้บริหารห้างหุ้นส่วนจำกัด ศิริบูรณ์จงเจริญไพศาล ตลาดรับซื้อในจังหวัดศรีสะเกษ

สท.-ม.เกษตรศาสตร์-สนง.เกษตรเพชรบูรณ์ เติมความรู้เกษตรกรผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพถั่วเขียว KUML

สท.-ม.เกษตรศาสตร์-สนง.เกษตรเพชรบูรณ์ เติมความรู้เกษตรกรผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพถั่วเขียว KUML

เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน สำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบูรณ์ และสำนักงานเกษตรอำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “เทคโนโลยีการเก็บเกี่ยวและการผลิตเมล็ดพันธุ์ระดับชุมชน: ถั่วเขียวพันธุ์ KUML” ให้กลุ่มเกษตรกรถั่วเขียวแปลงใหญ่ตำบลท่าแดง อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์ โดยมี รศ. ดร.ประกิจ สมท่า และ ผศ. ดร.กนกวรรณ เที่ยงธรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เป็นวิทยากรให้ความรู้การผลิตเมล็ดพันธุ์ (seed) เพื่อสร้างกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว KUML แก้ปัญหาการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์คุณภาพดี ซึ่งกลุ่มเกษตรกรถั่วเขียวแปลงใหญ่ตำบลท่าแดง เป็นกลุ่มเกษตรกรที่ปลูกถั่วเขียวสายพันธุ์ KUML มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562

สท. เปิด AGRITEC Station ต้อนรับคณะผู้เข้าร่วมประชุม Asian Seed Congress 2022

สท. เปิด AGRITEC Station ต้อนรับคณะผู้เข้าร่วมประชุม Asian Seed Congress 2022

18 พฤศจิกายน 2565 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี- สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ได้ต้อนรับคณะผู้เข้าร่วมประชุมงานประชุมเมล็ดพันธุ์พืชแห่งเอเชียและแปซิฟิก ประจำปี 2565 (Asian Seed Congress 2022) จำนวน 80 ท่าน เข้าเยี่ยมชม AGRITEC Station สถานีเรียนรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการเกษตร โดยได้จัดแสดงเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านเกษตรของ สวทช. และเครือข่ายพันธมิตร ทั้งเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ เทคโนโลยีด้านเมล็ดพันธุ์ เทคโนโลยีด้านสารชีวภัณฑ์และนวัตกรรมด้านการเกษตรอื่นๆ ซึ่งได้รับความสนใจอย่างมากจากคณะผู้เยี่ยมชม

สท. พร้อมเปิด AGRITEC Station ต้อนรับคณะผู้เข้าร่วมประชุม Asian Seed Congress 2022

สท. พร้อมเปิด AGRITEC Station ต้อนรับคณะผู้เข้าร่วมประชุม Asian Seed Congress 2022

สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. เตรียมพร้อมเปิด AGRITEC Station สถานีเรียนรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการเกษตร ต้อนรับคณะผู้เข้าร่วมประชุมงานประชุมเมล็ดพันธุ์พืชแห่งเอเชียและแปซิฟิก ประจำปี 2565 (Asian Seed Congress 2022) ในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 โดยจะนำเสนอเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรอัจฉริยะ อาทิ โรงเรือนอัจฉริยะ, ไวมาก: ระบบตรวจวัดสภาวะแวดล้อมด้วยเทคโนโลยี IoT, HandySense: ระบบเกษตรแม่นยำ ฟาร์มอัจฉริยะ เทคโนโลยีด้านเมล็ดพันธุ์ จัดแสดงตัวอย่างพันธุ์พืชจากผลงานวิจัยของ สวทช. และเครือข่ายพันธมิตร อาทิ พริกพันธุ์อัคนีพิโรธ เพชรมอดินแดง เรดซันอีสาน หยกขาวมอดินแดง มะเขือเทศพันธุ์นิลมณี ชายนี่ ควีน ซัมเมอร์ซัน

จากถิ่น คืนถิ่น …เมื่อเมล็ดพันธุ์งอกงามในชุมชน

จากถิ่น คืนถิ่น …เมื่อเมล็ดพันธุ์งอกงามในชุมชน

“ได้ลงมือทำ ได้เห็นความเบิกบานและการเจริญเติบโตของพืชผักในทุกวัน” คือนิยามความสุขการทำเกษตรของ จุฬารัตน์ อยู่เย็น สาวน้อยบ้านทุ่งโป่ง ต.เมืองปาน อ.เมืองปาน จ.ลำปาง แต่กว่าที่จะสัมผัสถึงความสุขนี้ได้ เธอต้องฟันฝ่ากับความคาดหวังของใครต่อใคร เพื่อไปให้ถึงความพอดีของชีวิตบนเส้นทางเกษตรที่เธอเลือก ชีวิตที่เติบโตในชุมชนที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และผลิตเมล็ดพันธุ์ส่งบริษัท ผลผลิตมากมายแต่รายได้ที่ครอบครัวเธอและชาวบ้านได้รับกลับสวนทาง จึงเป็นแรงผลักให้ จุฬารัตน์ ฝันที่จะเป็นนักส่งเสริมการเกษตรของบริษัท ด้วยหวังกลับมาช่วยชุมชนให้มีรายได้มากขึ้น เธอจึงตั้งใจเข้าเรียนที่คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อนำทางสู่อาชีพในฝัน “จากที่เคยเห็นแต่ข้าวโพด พอเข้ามาเรียนทำให้เห็นว่ามีหลายพืชมากทั้งผัก ไม้ผล ไม้ประดับ รุ่นพี่ก็แนะนำให้เรียนสาขาพืชผัก เพราะเป็นพืชที่คนเรากินทุกวันและมีงานให้ทำได้หลายอย่าง” ช่วงปลายของการเรียน จุฬารัตน์ รับรู้ว่ามีรุ่นพี่คณะเข้าร่วม “โครงการพัฒนาทักษะผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์รุ่นใหม่” ได้ฝึกงานกับบริษัทเมล็ดพันธุ์และได้กลับไปทำงานที่บ้านเกิดด้วย เธอจึงติดตามกิจกรรมของโครงการฯ และตัดสินใจเข้าร่วมโครงการฯ ในรุ่นที่ 2 โดยไม่ลังเล และได้ไปเรียนรู้งานกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ลักกี้ซีดส์อะโกร เป็นเวลา

“ผักสดคุณภาพ” ผลผลิตจากเมล็ดพันธุ์ ต้นกล้าและ “คนปลูกมีความรู้”

“ผักสดคุณภาพ” ผลผลิตจากเมล็ดพันธุ์ ต้นกล้าและ “คนปลูกมีความรู้”

กลางปี 2562 ดิเรก ขำคง เจ้าของฟาร์ม Be Believe Organic Farm จ.ราชบุรี และ ภัทรนิษฐ์ ภุมมา เจ้าของสวนกล้วยภัทรนิษฐ์ จ.นครปฐม ต่างเป็นตัวแทนของกลุ่มภายใต้เครือข่ายสามพรานโมเดล เข้าร่วมอบรม “การผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์คุณภาพดีไว้ใช้เอง” ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ใครจะคิดว่าหลังการอบรมวันนั้นเพียง 6 เดือน ชีวิตของเขาทั้งสองได้เปลี่ยนไป ดิเรก อดีตวิศวกรหนุ่มที่อิ่มตัวกับงานประจำ จับพลัดจับผลูเดินบนเส้นทางเกษตรอินทรีย์กับผลผลิต “ต้นอ่อนผักบุ้ง” ที่เขาและภรรยาใช้เวลาถึงสองปีลองผิดลองถูกเพื่อหวังเป็นอาชีพใหม่ “แฟนผมแพ้เคมีทุกอย่าง แม้แต่ผงชูรส ตอนนั้นต้นอ่อนผักบุ้งมีน้อย เป็นต้นสั้นและใช้เคมี เรามองว่าถ้าปลูกเป็น ใช้เวลา 7 วันก็สร้างรายได้ แต่ข้อมูลการปลูกต้นอ่อนผักบุ้งแทบไม่มี เราต้องลองผิดลองถูกกันเอง ทิ้งไปเยอะมาก กว่าจะได้ความยาวต้นที่เหมาะ

“เก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง” อีกย่างก้าวของ “กลุ่มเกษตรกรอินทรีย์โนนกลาง”

“ปลูกสลัดรอบนึง มีต้นทุนเมล็ดพันธุ์ 40 บาท แต่ไม่งอกทุกเมล็ด ได้ประมาณ 70% ถึงได้อยากทำเมล็ดพันธุ์เก็บไว้ใช้เอง ถ้าเราทำเอง ได้เท่าไหร่ก็ช่างมัน เสียหายเท่าไหร่ก็ไม่เป็นไร เพราะไม่มีต้นทุน” คุณพนมนคร ทำมาทอง เกษตรกรบอกถึงเหตุผลที่ต้องการทำเมล็ดพันธุ์ผักสลัดไว้ใช้เอง และวันนี้เขาและเพื่อนๆ สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์โนนกลาง ต.โนนกลาง อ.สำโรง จ.อุบลราชธานี ได้มาร่วมเรียนรู้ “การผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์ไว้ใช้เอง” จาก รศ.ดร.บุญส่ง เอกพงษ์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จัดโดยฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเกษตรและชุมชน สท. “ลดต้นทุนการผลิต มีเมล็ดพันธุ์ไว้เพาะปลูกตลอดไป อนุรักษ์พันธุ์พืช และเพื่อความมั่นคงทางอาหาร” เป็นคำตอบว่าทำไมต้องเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง แล้วเมล็ดพันธุ์ที่เก็บเองจะมีคุณภาพเหมือนเมล็ดพันธุ์ที่ซื้อมาหรือไม่นั้น อาจารย์บุญส่ง บอกว่า มีหลายพืชสามารถทำได้หากมีการจัดการที่ถูกต้อง รวบรวมพันธุกรรมพืช โดยเก็บรวบรวมตัวอย่างพันธุ์พืชที่ต้องการจากแหล่งต่างๆ