คลิปวิดีโอย้อนหลัง https://youtu.be/3ujl7grRsPQ คำถาม-คำตอบจากเวทีเสวนา เกี่ยวกับชีวภัณฑ์ การผลิตและการใช้ชีวภัณฑ์ ไตรโคเดอร์มา แบคทีเรียปฏิปักษ์ (บีเอส, บีเอ) บิวเวอเรีย-เมตาไรเซียม อื่นๆ เกี่ยวกับชีวภัณฑ์ Q: ปัจจัยใดที่ทำให้ชีวภัณฑ์ตายหรือไม่ได้ประสิทธิภาพ หลังจากฉีดพ่นไปแล้วA: อากาศร้อน แสงแดด การใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อจุลินทรีย์ที่เป็นชีวภัณฑ์นั้นๆ Q: จำนวนสปอร์ชีวภัณฑ์แบบผงกับแบบสดแบบไหนมีประสิทธิภาพมากกว่ากันA: สปอร์ในชีวภัณฑ์แบบสดมีประสิทธิภาพจัดการกับศัตรูพืชมากกว่าแบบผงหรือแบบแห้ง แต่จะมีอายุสั้นกว่า ทนกับสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้น้อยกว่าแบบผง Q: สารชีวภัณฑ์สามารถเป็นสารกลายพันธุ์ในมนุษย์ได้หรือไม่A: อาจจะส่งผลต่อมนุษย์ ถ้าสารชีวภัณฑ์นั้นเป็นสารสกัดหรือสารพิษที่มีความจำเพาะเจาะจงต่อระบบในร่างกายมนุษย์ด้วย แต่ถ้าเป็นชีวภัณฑ์ของจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ที่มีชีวิตและผ่านการตรวจสอบพิษวิทยาแล้ว ทั้งหมดไม่มีผลต่อมนุษย์ Q: สารชีวภัณฑ์กลุ่มจุลินทรีย์เป็นอันตรายต่อตัวห้ำ ตัวเบียนและผึ้งหรือไม่ A: การเลือกชนิดและสายพันธุ์ของจุลินทรีย์ปฏิปักษ์มาเพื่อใช้ในการจัดการศัตรูพืช จะต้องมีการทดสอบมาก่อนแล้วว่าไม่เป็นอันตรายต่อ ตัวห้ำ ตัวเบียน ผึ้ง รวมถึงมนุษย์ และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม Q:
เสวนาออนไลน์ AGRITEC Live: ถ่ายทอดความรู้เรื่องไผ่
AGRITEC Live : ถ่ายทอดความรู้เรื่อง “ไผ่”วันที่ 13–15 กันยายน 2564 เวลา 09.00–16.00น.เผยแพร่ผ่าน Facebook: NSTDAAGRITECและ Youtube: AGRITEC Channel “สถานการณ์ของไผ่ไทยในเวทีโลก | ทำไมไผ่ไทย ถึงไม่ก้าวไกลในเวทีโลก | แนวทางการใช้ประโยชน์จากไผ่ | ปัญหา อุปสรรคและข้อจำกัดและการแก้ปัญหา ในการใช้ประโยชน์จากไผ่ | ทิศทางของไผ่ไทยในอนาคต” (คลิกชมเสวนา) โดย 1. รศ.ดร.สราวุธ สังข์แก้ว ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านไผ่ 2. คุณสภลท์