สท.-ม.กาฬสินธุ์ เดินหน้ายกระดับ “ผ้าไหมทอมือพื้นเมืองสุรินทร์” ด้วยเทคโนโลยี

สท.-ม.กาฬสินธุ์ เดินหน้ายกระดับ “ผ้าไหมทอมือพื้นเมืองสุรินทร์” ด้วยเทคโนโลยี

เมื่อวันที่ 8-9 กุมภาพันธ์ 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติ์ธนัตถ์ ญาณพิสิษฐ์ ผู้อำนวยศูนย์ความเป็นเลิศด้านสิ่งทอพื้นเมืองแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ จัดอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยียกระดับคุณภาพผ้าไหมทอมือพื้นเมืองบ้านแสนสุข ต.ยะวึก อ.ชุมพลบุรี จ.สุรินทร์ โดยมีคุณเอี้ยง วันดี ผู้นำกลุ่มผ้าไหมทอมือประยุกต์บ้านแสนสุข และสมาชิกในชุมชนกว่า 40 คน ร่วมเรียนรู้และทดสอบใช้เอนไซม์เอนอีซ (ENZease) ทำความสะอาดเส้นไหมของกลุ่มฯ กว่า 10 กิโลกรัม พร้อมทั้งสำรวจและเก็บตัวอย่างพืชในชุมชนเพื่อนำมาสกัดสี ได้แก่ เปลือกต้นธนนไชย (ภาษาเขมรเรียก หล่งจี๊) ใบต้นสะแบง (ภาษาเขมรเรียก ตราย) ร่วมกับการใช้มอร์แดนท์ต่างๆ ทำให้ได้สีทั้งหมด 6

สท.-ม.กาฬสินธุ์เติมความรู้เพิ่มทักษะกลุ่มทอผ้าไหมอำเภอชุมพลบุรีด้วยเทคโนโลยี

สท.-ม.กาฬสินธุ์เติมความรู้เพิ่มทักษะกลุ่มทอผ้าไหมอำเภอชุมพลบุรีด้วยเทคโนโลยี

เมื่อวันที่ 24-26 มกราคม 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติ์ธนัตถ์ ญาณพิสิษฐ์ สาขาวิชานวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ นำองค์ความรู้การใช้เอนไซม์เอนอีซ (ENZease) ทำความสะอาดเส้นไหม เทคนิคการสกัดสีและการย้อมสีธรรมชาติ ถ่ายทอดให้กลุ่มอาชีพทอผ้าไหมบ้านม่วงสวรรค์ กลุ่มทอผ้าไหมบ้านยางใหม่อำเภอชุมพลบุรี และเครือข่ายชุมชนทอผ้าของสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ รวมกว่า 90 คน โดยได้ร่วมทดสอบใช้เอนไซม์เอนอีซทำความสะอาดเส้นไหม ประหยัดเวลาการเตรียมเส้นไหมสำหรับการย้อมสีได้มากกว่า 50% และฝึกทักษะการสกัดสีจากพืชในท้องถิ่น ได้แก่ ใบสักแห้ง ใบขี้เหล็ก ต้นเข ประโหด (มะพูด) ฝักคูนอ่อนฝักคูนแก่ ร่วมกับการใช้สารมอร์แดนท์ต่างๆ ทำให้ได้เส้นไหมมากกว่า 10 เฉดสี

สท.-มทร.ศรีวิชัย ยกระดับสิ่งทอภาคใต้-ผ้าทอนาหมื่นศรีด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม

สท.-มทร.ศรีวิชัย ยกระดับสิ่งทอภาคใต้-ผ้าทอนาหมื่นศรีด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม

เมื่อวันที่ 18-19 มกราคม 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับมหาวิทยาเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย (มทร.ศรีวิชัย) จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “การยกระดับผลิตภัณฑ์สิ่งทอในพื้นที่ภาคใต้: วิสาหกิจชุมชนผ้าทอนาหมื่นศรี” ให้สมาชิกวิสาหกิจชุมชนผ้าทอนาหมื่นศรี ต.นาหมื่นศรี อ.นาโยง จ.ตรัง จำนวน 31 คน เพื่อให้สมาชิกได้พัฒนาทักษะใหม่ๆ และปรับใช้องค์ความรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมยกระดับประสิทธิภาพการผลิต สร้างมูลค่าเพิ่มและพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด โดยมี รศ.ดร.มาหามะสูไฮมี มะแซ มทร.ศรีวิชัย ผู้เชี่ยวชาญด้านวัสดุวิศวกรรมและสิ่งทอ นางดรุณี ภู่ทับทิม และนายประวิทย์ ภู่ทับทิม ปราชญ์ด้านสีย้อมธรรมชาติ กลุ่มดรุณีสีย้อมธรรมชาติ อ.ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช เป็นวิทยากรให้ความรู้การย้อมสีเส้นไหมโดยใช้สีธรรมชาติจากเปลือกไม้มะฮอกกานีและคลั่ง และการปรับใช้มอร์แดนท์หรือสารช่วยย้อมชนิดต่างๆ เช่น มะขามเปียก สารส้ม

สท.-สนง.เกษตรอำเภอราษีไศล ขยายผลเทคโนโลยียกระดับกลุ่มทอผ้าบ้านกอย

สท.-สนง.เกษตรอำเภอราษีไศล ขยายผลเทคโนโลยียกระดับกลุ่มทอผ้าบ้านกอย

เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับสำนักงานเกษตรอำเภอราษีไศล จ.ศรีสะเกษ จัดอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยี “การใช้เอนไซม์เอนอีซ (ENZease) และเทคนิคการสกัดสีจากพืชในท้องถิ่น” ให้สมาชิกกลุ่มทอผ้าบ้านกอย ต.ดู่ อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ ผู้เข้าอบรมได้ทดลองใช้เอนไซม์เอนอีซทำความสะอาดเส้นไหมบ้าน (ได้จากหนอนไหมพันธุ์พื้นเมือง) ช่วยให้ติดสีมากขึ้นและลดระยะเวลาย้อมสีจากเดิม 1 วัน เหลือเพียง 1-2 ชั่วโมง พร้อมทั้งร่วมเรียนรู้การสกัดสีจากก้านบัวแดงและใบสาบเสือ ใช้สารส้ม ปูนขาว โคลนในพื้นที่ทุ่งกุลาและขี้เถ้าเป็นสารมอร์แดนท์ พบว่า ก้านบัวแดงให้โทนสีเทาและเขียว ใบสาบเสือให้สีโทนเหลืองเข้ม น้ำตาล หลังเสร็จสิ้นการอบรม คุณจันทรา คำพัน ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าไหมมัดหมี่ ได้ขอรับตัวอย่างเอนไซม์ให้สมาชิกทั้ง 26 คน ได้ทดลองใช้

สท.-พัฒนาชุมชนยโสธร เสริมความรู้-เพิ่มทักษะชุมชนทอผ้าด้วยเทคโนโลยี

สท.-พัฒนาชุมชนยโสธร เสริมความรู้-เพิ่มทักษะชุมชนทอผ้าด้วยเทคโนโลยี

เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดยโสธร จัดอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยี “การใช้เอนไซม์เอนอีซ (ENZease) และเทคนิคการสกัดสีจากพืชในท้องถิ่น” ให้ชุมชนทอผ้า อำเภอค้อวัง จังหวัดยโสธร ผู้เข้าอบรมได้ทดลองใช้เอนไซม์เอนอีซทำความสะอาดเส้นไหม ช่วยลดความมันลื่นและย้อมติดสีได้ดี นอกจากนี้ยังได้นำพืชในท้องถิ่น ได้แก่ ดอกบัว ก้านบัว เปลือกและใบของสบู่เลือด (พรรณไม้เถา) มาต้มสกัดสีนำไปย้อมเส้นไหมที่ทำความสะอาดแล้ว โดยใช้สารส้มและปูนแดงเป็นสารมอแดนท์ ได้เส้นไหม 9 เฉดสี ก้านบัวให้โทนสีเทาเข้ม ดอกบัวให้โทนสีเขียวใส เปลือกและใบของสบู่เลือดให้โทนสีน้ำตาลเหลือง ผู้เข้าอบรมให้ความสนใจนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในงานทอผ้าของชุมชน ซึ่ง สท. จะลงพื้นที่ติดตามอีกครั้งเพื่อผลักดันและเพิ่มทักษะให้ชุมชนต่อไป

สท.-พัฒนาชุมชนศรีสะเกษยกระดับผลิตผ้าไหมพื้นเมืองด้วยเทคโนโลยี

สท.-พัฒนาชุมชนศรีสะเกษยกระดับผลิตผ้าไหมพื้นเมืองด้วยเทคโนโลยี

เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับโครงการส่งเสริมศิลปาชีพอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.ศิลาลาด จ.ศรีสะเกษ และสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดเทคโนโลยี “ยกระดับการผลิตผ้าไหมพื้นเมือง” ให้กลุ่มเกษตรกร ผู้ประกอบการทอผ้ามาตรฐานนกยูง จำนวน 25 คน ได้ร่วมเรียนรู้และทดลองใช้เอนไซม์ ENZease กำจัดกาวไหม โดยแช่เส้นไหมในน้ำอุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส นาน 3 ชั่วโมง ช่วยประหยัดพลังงานเชื้อเพลิงในการต้ม และประหยัดเวลามากกว่าร้อยละ 50 นอกจากนี้ผู้เข้าอบรมยังได้เรียนรู้การสกัดสีธรรมชาติจากพืชในท้องถิ่น ได้แก่ ใบยูคาลิปตัสและเปลือกมะพร้าวอ่อน โดยใช้สารส้ม ปูนแดงและสนิมเป็นสารมอร์แดนท์ ได้ 6 เฉดสี ได้แก่ สีโทนเทา

สท.-สนง.เกษตรอำเภอราษีไศลยกระดับกลุ่มผลิตผ้าไหมสีธรรมชาติด้วยเทคโนโลยี

สท.-สนง.เกษตรอำเภอราษีไศลยกระดับกลุ่มผลิตผ้าไหมสีธรรมชาติด้วยเทคโนโลยี

เมื่อวันที่ 21-23 ธันวาคม 2566 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับ สำนักงานเกษตรอำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “การใช้เทคโนโลยีเอนไซม์และการออกแบบลายอัตลักษณ์สิ่งทอพื้นเมือง” ให้วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านทอผ้าไหมสีธรรมชาติ ตำบลด่าน อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ เป็นกลุ่มผลิตผ้าไหมที่ได้รับรองตรานกยูงพระราชทาน* มีนายกนก วงศ์รัฐปัญญา น.ส.ปวีณา ทองเกร็ด นักวิจัย สวทช. และนายวิวัฒน์ พร้อมพูน ผู้ช่วยปฏิบัติงานวิจัย สวทช. เป็นวิทยากรให้ความรู้คุณสมบัติของเอนไซม์กับการทำความสะอาดเส้นไหม ทำให้ได้เส้นไหมนุ่ม ลื่น ติดสีได้ดีขึ้น ผู้เข้าอบรมร่วมทดสอบนำเส้นไหมมาย้อมสีธรรมชาติจากสะเดาและเปลือกอะลาง โดยใช้โคลน สารส้มและปูนใสเป็นสารมอร์แดนท์ ทำให้เกิดโทนสีน้ำตาลมากกว่า 6 เฉดสี นอกจากนี้ผู้เข้าอบรมยังได้รับความรู้เรื่องการออกแบบลายผ้าอัตลักษณ์ของท้องถิ่น โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติ์ธนัตถ์

สท. ถ่ายทอดความรู้การใช้เอนไซม์เอนอีซ-สกัดสีธรรมชาติให้กลุ่มผู้ทอผ้าอำเภอราษีไศล

สท. ถ่ายทอดความรู้การใช้เอนไซม์เอนอีซ-สกัดสีธรรมชาติให้กลุ่มผู้ทอผ้าอำเภอราษีไศล

เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2566 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับสำนักงานเกษตรอำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดเทคโนโลยีเอนไซม์เอนอีซและการสกัดสีธรรมชาติ ให้กลุ่มผู้ทอผ้าเครือข่ายเกษตรอำเภอและเครือข่ายสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอราษีไศล จำนวน 61 คน โดยมีนายวิวัฒน์ พร้อมพูน ผู้ช่วยปฏิบัติงานวิจัย สวทช. บรรยายให้ความรู้การใช้เอนไซม์เอนอีซ และร่วมกับผู้เข้าอบรมทดสอบการใช้เอนไซม์เอนอีซ ซึ่งเป็นผลงานวิจัยของ สวทช. ที่ใช้กำจัดสิ่งสกปรกและลอกแป้งเส้นใยฝ้ายในขั้นตอนเดียว เอนไซม์เอนอีซยังช่วยให้เส้นใยฝ้ายสะอาด สัมผัสนิ่มขึ้น ไม่ต้องต้มฝ้าย ขณะที่การทำความสะอาดเส้นใยต้องต้มไม่น้อยกว่า 2-3 ชั่วโมง ทำให้ประหยัดพลังงาน ลดการใช้สารเคมี และเมื่อนำมาย้อมจะติดสีได้ดีและสีสม่ำเสมอกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการไม่ใช้เอนไซม์ นอกจากนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติ์ธนัตถ์ ญาณพิสิษฐ์ ผู้อำนวยศูนย์ความเป็นเลิศด้านสิ่งทอพื้นเมืองแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ได้ถ่ายทอดความรู้วิธีการสกัดสีธรรมชาติจากเปลือกต้นเพกาให้สีเหลือง ดินทุ่งกุลาให้สีดำ

สวทช. ต้อนรับคณะผู้ตรวจ อว. ติดตามการดำเนินงานในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้

สวทช. ต้อนรับคณะผู้ตรวจ อว. ติดตามการดำเนินงานในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้

20​ กรกฎาคม ​2566​ ณ จังหวัดศรีสะเกษ- นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. และนายอนุรัตน์​ ธรรมประจำจิต​ รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารส่วนราชการในจังหว​ัด ให้การต้อนรับ ดร.จันทร์เพ็ญ เมฆาอภิรักษ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงการอุดมศึกษา​ วิทยาศาสตร์​ วิจัยและนวัตกรรม​ ลงพื้นที่พบปะกลุ่มเกษตรกร 3 กลุ่มในพื้นที่อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ ซึ่ง สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ได้ดำเนินงานถ่ายทอดเทคโนโลยีภายใต้โปรแกรมการยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ บ้านอุ่มแสง ต.ดู่ อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ: สท. ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยี “เอนไซม์เอนอีซ (ENZease)” ให้กลุ่มชาวบ้านบ้านอุ่มแสง เพื่อยกระดับผ้าไหมพื้นเมือง ซึ่งเอนไซม์เอนอีซเป็นสารจากธรรมชาติที่ช่วยทำความสะอาดและลอกแป้งออกจากเส้นใยในขั้นตอนเดียว