การทอผ้าเป็นศิลปะวัฒนธรรมของคนไทยที่สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ด้วยกรรมวิธีการถักทอเส้นใยธรรมชาติและการออกแบบลวดลายอันประณีตเป็นภูมิปัญญาเฉพาะที่สร้างอัตลักษณ์ให้ผ้าทอในแต่ละภูมิภาค แม้ปัจจุบันผ้าทอจากเส้นใยธรรมชาติถูกแทนที่ด้วยเส้นใยสังเคราะห์ แต่ด้วยองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสามารถสานต่อภูมิปัญญาการทอผ้าพื้นเมืองให้คงอยู่ ทั้งยังลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มคุณสมบัติพิเศษที่เพิ่มมูลค่าให้ผ้าทอพื้นเมืองอีกด้วย สท. ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านสิ่งทอที่นักวิจัย สวทช. ได้พัฒนาขึ้น เพื่อเพิ่มคุณภาพผ้าทอพื้นเมืองตั้งแต่กระบวนการผลิตเส้นใย การออกแบบ จนถึงการเพิ่มคุณสมบัติพิเศษ สร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์สิ่งทอพื้นเมืองและเพิ่มรายได้ให้ชุมชน 1. การใช้เอนไซม์ ENZease (เอนอีซ) ในกระบวนการเตรียมผ้าฝ้าย โดยลอกแป้งและกำจัดสิ่งสกปรกในขั้นตอนเดียว 2. การผลิตสีผงธรรมชาติจากพืชในท้องถิ่นและการเตรียมสีธรรมชาติสำหรับแม่พิมพ์จากวัสดุในท้องถิ่น 3. การเพิ่มคุณสมบัติพิเศษผ้าทอพื้นเมืองตั้งแต่ระดับเส้นใยจนถึงผลิตภัณฑ์ด้วยนาโนเทคโนโลยี บทความ สิ่งพิมพ์ วิดีโอ บทความ สืบสาน ต่อยอด ‘จกโหล่งลี้’ ลายผ้าโบราณด้วยนวัตกรรม “ทากิริ” ผ้าทอมือสร้างสมดุลธรรมชาติด้วยความรู้ สะท้อนภูมิปัญญาชาวกะเหรี่ยงบ้านดอยยาว ยกระดับ “ผ้าทอฝ้ายสามสี” ของดีบ้านก้อทุ่ง ด้วยนวัตกรรม ชีวนวัตกรรมผสานภูมิปัญญา สร้างคุณค่า
นวัตกรรมเพื่อการสร้างสรรค์-ยกระดับผ้าทอพื้นเมือง ผ้าชาติพันธุ์ จ.แม่ฮ่องสอน
สื่อความรู้ในโครงการ “นวัตกรรมเพื่อการสร้างสรรค์และยกระดับผ้าทอพื้นเมือง ผ้าชาติพันธุ์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน” ได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
อว. -สวทช. จับมือภาคเอกชน ปูพรมพัฒนาคุณภาพชีวิต 5 จังหวัด พื้นที่ ‘ทุ่งกุลาร้องไห้’ ด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG
รัฐมนตรีฯ กระทรวง อว. นำนักวิจัย สวทช. ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม สู่ชุมชน ยกระดับ-เพิ่มมูลค่าผ้าทอของทุ่งกุลาร้องไห้ด้วยเทคโนโลยีนาโน พร้อมหนุนปลูก ‘ถั่วเขียว KUML’ เป็นพืชหลังนา จับมือภาคเอกชนรับซื้อผลผลิต สร้างอาชีพ เสริมรายได้ สอดคล้องพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG ประชาชนอยู่ดี กินดี คุณภาพชีวิตดีขึ้น มีรายได้เพิ่ม ข้ามพ้นความยากจน ศ. (พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ศ. นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวง อว. ผศ. ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง
‘ผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ’ ผลิตภัณฑ์ Zero waste จากสวนมะพร้าว
“คิดให้ไกล ไปทีละก้าว” คือแนวคิดการขับเคลื่อนผลิตภัณฑ์แบรนด์ We VergiN และ Buppha ของกลุ่มวิสาหกิจเกษตรสวนดอก ต.บางยี่รงค์ อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม ที่มีน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นเป็นส่วนประกอบหลัก ผลิตภัณฑ์แรกของกลุ่มฯ ที่นำทางไปสู่การจัดการวัสดุเหลือทิ้งในสวนมะพร้าว จากพนักงานบริษัทที่กลับมารับช่วงดูแลสวนมะพร้าวและลิ้นจี่ของพ่อแม่บนพื้นที่ 18 ไร่ บุปผา ไวยเจริญ คิดหาหนทางเพิ่มมูลค่ามะพร้าวจากราคาที่ตกต่ำเหลือลูกละ 3 บาท “ช่วงปี 2555 ราคามะพร้าวตกต่ำมาก จากลูกละ 15 บาท เหลือลูกละ 3 บาท จะทำยังไงได้บ้างที่จะเพิ่มมูลค่าได้ จนได้ไปดูงานการแปรรูปมะพร้าวและได้แนวคิดกลับมาผลิตน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น” บุปผา นำเทคนิคที่ได้จากการดูงานมาผสมผสานกับภูมิปัญญาดั้งเดิมที่ใช้กรรมวิธีไม่ผ่านความร้อน ทำให้ได้น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นแบบบริสุทธิ์ที่คงสารสำคัญไว้มากสุด และกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการตอบรับจากลูกค้าอย่างดี เธอจึงต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์อื่นๆ โดยมีน้ำมันมะพร้าวเป็นส่วนประกอบหลัก อาทิ
เทคโนโลยีอื่นๆ
เกริ่น บทความ สิ่งพิมพ์ วิดีโอ บทความ “ทากิริ” ผ้าทอมือสร้างสมดุลธรรมชาติด้วยความรู้ สะท้อนภูมิปัญญาชาวกะเหรี่ยงบ้านดอยยาว ยกระดับ “ผ้าทอฝ้ายสามสี” ของดีบ้านก้อทุ่ง ด้วยนวัตกรรม ชีวนวัตกรรมผสานภูมิปัญญา สร้างคุณค่า “หม้อห้อมโบราณ” ‘ผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ’ ผลิตภัณฑ์ Zero waste จากสวนมะพร้าว ยกระดับอาชีพกลุ่มสตรี ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม สานต่อ “ผ้าทอโบราณ” ด้วยความรู้และเทคโนโลยี สิ่งพิมพ์ วิสาหกิจชุมชนบ้านหนองเงือก: ชุมชนนวัตกรรมสิ่งทอ ชีวนวัตกรรม ‘ปุ๋ยชีวภาพอัดแท่ง’ เพิ่มผลผลิต ‘ต้นห้อม’ คุณภาพ กี่ทอมือยกดอกอัตโนมัติ นวัตกรรมยกระดับกี่ทอไทย สานต่อภูมิปัญญา “ผ้าทอพื้นเมือง” ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมสิ่งทอพื้นเมือง วิดีโอ