สท.-มรภ.อุบลฯ หารือเชื่อมโยงตลาดโคเนื้อทุ่งกุลาฯ พร้อมติดตามการขยายผลความรู้เกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อโคขุน

สท.-มรภ.อุบลฯ หารือเชื่อมโยงตลาดโคเนื้อทุ่งกุลาฯ พร้อมติดตามการขยายผลความรู้เกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อโคขุน

เมื่อวันที่ 4–8 พฤศจิกายน 2567 น.ส.วิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) พร้อมด้วยน.ส.อดิศัย เรืองจิระชูพร นักวิเคราะห์ นายนิคม กันยานะ นักวิชาการ และ ผศ.กฤษฎา บูรณารมย์ อาจารย์ประจำคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ร่วมประชุมหารือแผนงานการเชื่อมโยงตลาดโคเนื้อในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ เพื่อเชื่อมโยงการซื้อขายโคเนื้อระหว่างเกษตรกรเลี้ยงโคแม่พันธุ์ผลิตลูกกับเกษตรกรเลี้ยงโคขุนคุณภาพ ภายใต้การดำเนินงานโครงการ “การพัฒนายกระดับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมปีที่ 2” นอกจากนี้ได้ลงพื้นที่ติดตามกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อและโคขุนหารือแผนงานการผลิตโคเนื้อลูกผสม สายพันธุ์ชาโรเล่ แองกัส และวากิว ที่เข้าร่วมโครงการฯ ส่งขายให้กับ อัมรีฟาร์ม ต.ปราสาท อ.ห้วยทับทัน จ.ศรีสะเกษ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงโคขุนสุรินทร์โกเบครบวงจร ต.สลักได อ.เมืองสุรินทร์ จ.สุรินทร์ สหกรณ์การเกษตรเกษตรวิสัย อ.เกษตรวิสัย

สท. จับมือศูนย์วิจัยฯ อาหารสัตว์สระแก้ว ให้ความรู้กลุ่มเกษตรกรท่าตะเกียบเพิ่มประสิทธิภาพเลี้ยงโคเนื้อและผลิตอาหาร TMR คุณภาพ

สท. จับมือศูนย์วิจัยฯ อาหารสัตว์สระแก้ว ให้ความรู้กลุ่มเกษตรกรท่าตะเกียบเพิ่มประสิทธิภาพเลี้ยงโคเนื้อและผลิตอาหาร TMR คุณภาพ

เมื่อวันที่ 4-5 กันยายน 2567 นายนิคม กันยานะ นักวิชาการ สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์สระแก้ว จัดอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยี “การเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงโคเนื้อและการผลิตอาหารโคคุณภาพ” ณ หมู่บ้านเขาวงค์และหมู่บ้านอ่างเตย ต.ท่าตะเกียบ อ.ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา มีสมาชิกวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้เลี้ยงวัวท่าตะเกียบและเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมอบรมรวม 94 คน โดยได้รับความรู้เทคโนโลยีการคัดเลือกพันธุ์โคเนื้อ โภชนะวัตถุดิบอาหาร การผลิตอาหารโคคุณภาพที่เหมาะสมกับช่วงวัย เทคนิคการเลี้ยงโคขุน เทคนิคการรักษาคุณภาพอาหาร หรือการทำอาหาร TMR หมัก (FTMR) และฝึกปฏิบัติทักษะการผสมอาหาร TMR (Total Mixed Ration) สำหรับโคขุน ซึ่งเป็นอาหารผสมสำเร็จรูปที่นำอาหารหยาบ อาหารข้น แร่ธาตุและวิตามินผสมกันในอัตราส่วนที่เหมาะสม  ทำให้โคได้รับโภชนะครบถ้วนตามความต้องการของร่างกายในแต่ละช่วงวัย

ฐานเรียนรู้ “การผลิตอาหารโคคุณภาพ”

ฐานเรียนรู้ “การผลิตอาหารโคคุณภาพ”

“การเลี้ยงโคแม่พันธุ์เพื่อเลี้ยงเอาลูกโค แต่ก่อนที่ฟาร์มผมเน้นให้อาหารหยาบที่หาวัตถุดิบได้ง่ายในท้องถิ่น จะเป็นพืชชนิดไหนก็ได้ ขอให้ต้นทุนถูกที่สุด เอามาผสมกับอาหารข้น โรยวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ด้านบนเป็นท็อปปิ้งให้โคกินจนอิ่ม จนได้มาอบรมกับ สวทช. ถึงได้รู้ว่า อาหารหยาบหรือพืชแต่ละชนิดให้สารอาหารและพลังงานที่แตกต่างกัน” “FP Samanmit Farm” ของ ภุมรินทร์ สมานมิตร-สุนันทา สังข์ทอง ได้รับคัดเลือกจากสมาชิกกลุ่มโคเนื้อทาจิมะในจังหวัดระยอง ให้เป็นต้นแบบฐานเรียนรู้การเลี้ยงโคเนื้อของพื้นที่ ด้วยบริหารจัดการฟาร์มขนาดกลางที่มีโคราว 60 ตัว ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โคมีคุณภาพ ได้น้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐาน รวมถึงการดูและสภาพแวดล้อมฟาร์มให้สะอาด อีกทั้งยังได้รับการสนับสนุนความรู้เทคโนโลยีการผลิต­­อาหารโค ภายใต้โครงการ การผลิตอาหารโคเพื่อความยั่งยืนด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) พัฒนาสูตรอาหารโคที่เน้นการใช้วัตถุดิบหลักในท้องถิ่น สำรวจและเก็บตัวอย่างวัตถุดิบเพื่อตรวจวิเคราะห์คุณภาพทางโภชนะ สร้างทางเลือกให้เกษตรนำไปปรับใช้เพื่อให้ได้คุณค่าตามความต้องการโภชนะของโค

โคขุน ขุนโคด้วยอาหารหมักคุณภาพ

โคขุน ขุนโคด้วยอาหารหมักคุณภาพ

ทุกๆ วันก่อนไปทำงานและเลิกงานจากศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์พะเยา สุริยะ ทองสา จะแบ่งเวลามาดูแลโคสายพันธุ์ลูกผสมบราห์มัน-ชาโลเล่ย์ที่ “สุนิสาฟาร์ม” ต.แม่กา อ.เมือง จ.พะเยา ฟาร์มเลี้ยงโคเนื้อที่เขาตั้งใจทำไว้รองรับชีวิตหลังเกษียณ ด้วยคลุกคลีอยู่ในแวดวงการเลี้ยงสัตว์ สุริยะ มองว่าหากเลี้ยงสัตว์เป็นรายได้เสริม “โค” หรือ “วัว” เป็นตัวเลือกที่ให้ราคางาม แม้จะมีต้นทุนค่าอาหารสูง แต่วัตถุดิบทางการเกษตรที่มีมากมายในท้องถิ่นเป็นตัวช่วยได้ “ถ้าลดต้นทุนได้มาก จะมีกำไรมาก แม้ว่าขายราคาเท่ากัน แต่ต้นทุนจะเป็นตัวกำหนดว่าได้กำไรมากหรือน้อย” เป็นแนวคิดการทำฟาร์มเลี้ยงโคเนื้อของ สุริยะ ที่เริ่มจากเลี้ยงปล่อยทุ่งและขายให้พ่อค้าทั่วไป ก่อนเปลี่ยนมาเลี้ยงวัวแบบไขมันแทรกหรือ “โคขุน” ส่งให้ “สหกรณ์โคขุนดอกคำใต้” ด้วยเหตุผลตลาดรับซื้อแน่นอนและราคารับซื้อสูงกิโลกรัมละไม่ต่ำกว่า 110 บาท ขณะที่วัวเนื้อทั่วไปราคากิโลกรัมละ 80 บาท เมื่อตัดสินใจหันมาเลี้ยงวัวไขมันแทรก สุริยะ หาความรู้จากหน่วยงานที่สังกัดและค้นคว้าข้อมูลจากวารสารต่างๆ ทำให้พบว่านอกจากสายพันธุ์และการจัดการสภาพแวดล้อมในฟาร์มแล้ว “อาหาร” เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้วัวมีไขมันแทรก “เดิมเน้นให้หญ้าเนเปียร์ รูซี่ กินนี่ แต่วัวที่ต้องการไขมันแทรก ไม่เน้นหญ้า จะเน้นฟาง อาหารข้น อาหารประเภทแป้ง เคยเอาเปลือกข้าวโพดมาให้วัวกิน เพราะคิดว่าคล้ายฟางและเป็นของเหลือทิ้งอยู่แล้ว เห็นแล้วเสียดาย