เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2567 นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในฐานะผู้อำนวยการสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ดร.มีชัย เซี่ยงหลิว นักวิจัยทีมวิจัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีชีวภาพพืชและการเกษตรแบบแม่นยำ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) นำคณะนักวิเคราะห์จากสำนักงบประมาณ ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานโครงการยกระดับคุณภาพชีวิต พื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ในโครงการการยกระดับคุณภาพมาตรฐานการผลิตข้าวและสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกรพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้: วิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพดีบ้านโนนทองหลาง จ.สุรินทร์ นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า สวทช. ได้ดำเนินงานในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ตั้งแต่ปี 2562 โดยมีเป้าหมายในการนำองค์ความรู้และเทคโนโลยียกระดับและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ เพื่อให้เกษตรกรในเขตพื้นที่มีความมั่นคงด้านอาหาร เพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และลดความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ต่อมาในปี 2567
สท.-มรภ.อุบลฯ หารือเชื่อมโยงตลาดโคเนื้อทุ่งกุลาฯ พร้อมติดตามการขยายผลความรู้เกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อโคขุน
เมื่อวันที่ 4–8 พฤศจิกายน 2567 น.ส.วิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) พร้อมด้วยน.ส.อดิศัย เรืองจิระชูพร นักวิเคราะห์ นายนิคม กันยานะ นักวิชาการ และ ผศ.กฤษฎา บูรณารมย์ อาจารย์ประจำคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ร่วมประชุมหารือแผนงานการเชื่อมโยงตลาดโคเนื้อในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ เพื่อเชื่อมโยงการซื้อขายโคเนื้อระหว่างเกษตรกรเลี้ยงโคแม่พันธุ์ผลิตลูกกับเกษตรกรเลี้ยงโคขุนคุณภาพ ภายใต้การดำเนินงานโครงการ “การพัฒนายกระดับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมปีที่ 2” นอกจากนี้ได้ลงพื้นที่ติดตามกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อและโคขุนหารือแผนงานการผลิตโคเนื้อลูกผสม สายพันธุ์ชาโรเล่ แองกัส และวากิว ที่เข้าร่วมโครงการฯ ส่งขายให้กับ อัมรีฟาร์ม ต.ปราสาท อ.ห้วยทับทัน จ.ศรีสะเกษ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงโคขุนสุรินทร์โกเบครบวงจร ต.สลักได อ.เมืองสุรินทร์ จ.สุรินทร์ สหกรณ์การเกษตรเกษตรวิสัย อ.เกษตรวิสัย
สท.-หน่วยงานพันธมิตร จัดเวทีเสวนา “เพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงโคเนื้อและการผลิตอาหารโคคุณภาพ” ยกระดับโคเนื้อจังหวัดฉะเชิงเทรา
เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตวสระแกว ปศุสัตว์อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และองค์การบริหารส่วนตำบลท่าตะเกียบ จัดเสวนา “การเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงโคเนื้อและการผลิตอาหารโคคุณภาพ” ณ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าตะเกียบ อ.ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา โดยได้รับเกียรติจากนายทวี สาธุชาติ นายก อบต.ท่าตะะเกียบ เป็นประธานเปิดงาน กิจกรรมเสวนาครั้งนี้มีผู้เชี่ยวชาญและเกษตรกรแกนนำร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์การเลี้ยงโคเนื้อ ได้แก่ นายกฤษณะ เกาะแก้ว ปศุสัตว์อำเภอท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา นายอดิศักดิ์ แพทย์พิพัฒน์ นักวิชาการสัตวบาล ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์จังหวัดสระแก้ว รศ. ดร.สินีนาฏ พลโยราช สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง น.ส.สมจิต สาธุชาติ ประธานกลุ่มโคเนื้อท่าตะเกียบ
การพัฒนายกระดับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
แผนงานและผลการดำเนินงานปี 2566 คลิกดาวน์โหลดเอกสาร
การพัฒนายกระดับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
แผนงานและผลการดำเนินงานปี 2566 คลิกดาวน์โหลดเอกสาร
การพัฒนายกระดับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
แผนงานและผลการดำเนินงานปี 2566 คลิกดาวน์โหลดเอกสาร
การพัฒนายกระดับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
คลิกดาวน์โหลดเอกสาร
การพัฒนายกระดับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
แผนงานและผลดำเนินงานปี 2566 คลิกดาวน์โหลดเอกสาร
สท. ผนึกหน่วยงานเครือข่าย เดินหน้ายกระดับผลิตโคเนื้อในพื้นที่ทุ่งกุลาฯ ตั้งเป้าผสมเทียมโคคุณภาพ 400 ตัว
สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับศูนย์วิจัยการผสมเทียมและเทคโนโลยีชีวภาพอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ปศุสัตว์จังหวัดศรีสะเกษ ปศุสัตว์จังหวัดสุรินทร์ ปศุสัตว์จังหวัดมหาสารคาม ปศุสัตว์จังหวัดร้อยเอ็ด และปศุสัตว์จังหวัดยโสธร ยกระดับประสิทธิภาพการผลิตโคเนื้อให้เกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อใน 5 จังหวัดพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ได้แก่ สุรินทร์ ยโสธร มหาสารคาม ศรีสะเกษ และร้อยเอ็ด ด้วย 3 กลุ่มเทคโนโลยี ได้แก่ กลุ่มเทคโนโลยีด้านการพัฒนาพันธุ์และการดูแลโคเนื้อ กลุ่มเทคโนโลยีด้านอาหารโคเนื้อ และกลุ่มเทคโนโลยีด้านมาตรฐานฟาร์มโคเนื้อและการเพิ่มมูลค่าโคเนื้อ หลังจากเมื่อกลางเดือนมกราคมได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีปฏิบัติการตามโปรแกรมการเหนี่ยวนำให้เกิดการตกไข่และผสมเทียมโคเนื้อให้แม่พันธุ์โคเนื้อจำนวน 100 ตัวแรก ใน 5 จังหวัดพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ นักวิชาการ สท. พร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานเครือข่ายได้ลงพื้นที่อีกครั้งเมื่อวันที่ 29 มกราคม-2 กุมภาพันธ์ 2567 เพื่อถอด