ผักแซ่บๆ ปลูกด้วยความรู้ ดีต่อกาย ดีต่อรายได้

ผักแซ่บๆ ปลูกด้วยความรู้ ดีต่อกาย ดีต่อรายได้

“แต่ก่อนไม่มีรายได้จากผัก เดี๋ยวนี้ได้วันละ 40-50 บาท บางวันได้ 100-200 บาท ผักที่เราปลูกเองกินอร่อยกว่า ไม่ต้องซื้อผักจากตลาดแล้ว” วันเพ็ญ บุญเชิด เล่าด้วยรอยยิ้มระหว่างที่รดน้ำแปลงผักน้อยๆ ของเธอ วันเพ็ญ เป็นสมาชิกกลุ่มปลูกผักบ้านบุตาโสม ต.เมืองบัว อ.ชุมพลบุรี จ.สุรินทร์ เธอได้รับจัดสรรพื้นที่ขนาด 1.5×7 เมตร เป็นหนึ่งในแปลงผักนับสิบแปลงบนพื้นที่เกือบ 1 ไร่ ด้านหลังโรงเรียนบ้านบุโสม จากพื้นที่รกร้าง สภาพดินที่ใช้ประโยชน์ไม่ได้ถูกแปรเปลี่ยนเป็นแปลงผักเขียวขจีเต็มพื้นที่ ด้วยความตั้งใจของ เสมอ กระจ่างจิต ผู้ใหญ่บ้านบุตาโสม ที่ต้องการให้ลูกบ้านได้รับประทานผักปลอดภัย “ชาวบ้านพบสารเคมีตกค้างในเลือดกันทุกคน เราทำนาปีละครั้ง การรับสารเคมีอาจไม่เยอะเท่าผักที่เราซื้อกินทุกวัน วิธีที่เราพอจะป้องกันได้ก็คือ ปลูกผักกินเอง” เสมอ ใช้เวลากว่า 2

‘โรงเรือนปลูกพืช’ ตัวช่วย ‘ปลูกผักให้ได้ขาย’ สร้างอำนาจต่อรองตลาดด้วยข้อมูล

‘โรงเรือนปลูกพืช’ ตัวช่วย ‘ปลูกผักให้ได้ขาย’ สร้างอำนาจต่อรองตลาดด้วยข้อมูล

“การมีโรงเรือนเป็นการลงทุน ทำให้เราปลูกผักสลัดได้ ถ้าเราไม่มีจะหนักกว่า คำว่าปลูกได้ คือ ปลูกได้ขาย” ทวี ขาวเรือง ประธานวิสาหกิจชุมชนสวนบุญประสิทธิ์เกษตรเพื่อสุขภาพ ต.ท่าซอม อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช บอกถึงความจำเป็นที่ต้องใช้โรงเรือนปลูกผักจากสภาพอากาศฝนแปดแดดสี่ในภาคใต้และตำบลท่าซอมที่อยู่ใกล้ทะเล ในช่วงหน้ามรสุมจึงประสบปัญหาน้ำท่วมขัง และหากมีน้ำทะเลหนุน ชาวบ้านต้องรับสภาพน้ำท่วมเป็นแรมเดือน ขณะที่ช่วงหน้าแล้งขาดแคลนน้ำ ด้วยเป็นตำบลที่อยู่ปลายทางของคลองราชดำริ ส่งผลต่อการทำนา ปลูกผักและสวนผสมผสาน ซึ่งเป็นอาชีพหลักของคนในพื้นที่ “บ้านเรามีปัญหาน้ำท่วม ดินเค็ม โรคพืช ราคาผลผลิตที่คนปลูกไม่สามารถกำหนดราคาเองได้ ก็คิดว่าทำแบบนี้ยิ่งทำยิ่งจน ถ้าทำในรูปแบบกลุ่มจะมีอำนาจต่อรองเพิ่มขึ้น” อาศัยที่มีบทบาทหลายอย่างทั้งเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยไปรษณีย์และเก็บค่าน้ำในพื้นที่ ทำให้ ทวี รับรู้ถึงปัญหาและคิดหาทางออก เขาได้รู้จัก สำราญ ใหม่ยิ้ม และเกรียงไกร ถมแก้ว หรือ หลวงไก่ ซึ่งปลูกผักบริโภคและขายในชุมชน

สท. ติดตามกลุ่มเกษตรกร “ยกระดับการผลิตพืชผักในโรงเรือนแบบครบวงจร”

สท. ติดตามกลุ่มเกษตรกร “ยกระดับการผลิตพืชผักในโรงเรือนแบบครบวงจร”

เมื่อวันที่ 20-22 กรกฎาคม 2566 นักวิชาการ สท. และผู้เชี่ยวชาญ ลงพื้นที่ติดตามและให้คำแนะนำกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดนครศรีธรรมราชและสงขลา ที่ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีภายใต้โครงการ “การยกระดับการผลิตพืชผักในโรงเรือนแบบครบวงจร” “วิสาหกิจชุมชนสวนบุญประสิทธิ์เกษตรเพื่อสุขภาพ” ต.ท่าซอม อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช และ “วิสาหกิจชุมชนหม่อนผลแปรรูปกลุ่มใต้ร่มบุญ” ต.พะตง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เป็นกลุ่มเกษตรกรที่ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีโรงเรือนพลาสติกปลูกพืชและการบริหารจัดการ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 และเกิดการสร้างเครือข่ายการผลิตผักอินทรีย์และขยายผลเทคโนโลยีไปกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่อีกหลายกลุ่ม จากการติดตามการผลิตผักในระบบโรงเรือน พบว่าเกษตรกรยังขาดความรู้ด้านพืชและการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ ดังเช่น ปัจจัยที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช (ดิน ธาตุอาหาร สภาพอากาศ) การวางแผนการปลูก และการใช้โรงเรือนปลูกพืชอย่างมีประสิทธิภาพ สื่อความรู้ โรงเรือนปลูกพืช  บทความ เครือข่ายเกษตรอินทรีย์ PGS ใต้ร่มบุญ: ปันความรู้

เทคโนโลยีการทำเกษตรอินทรีย์ @ ฆ้องชัยพัฒนา

การผลิตมะเขือเทศอินทรีย์ที่สวนปันบุญ การเพาะกล้าที่สวนปันบุญ การเลี้ยงชันโรงที่สวนจิราภาออร์แกนิค

ลงทุนโรงเรือน (ไม้ไผ่) อย่างไรให้คุ้มทุน

ลงทุนโรงเรือน (ไม้ไผ่) อย่างไรให้คุ้มทุน

น.ส.เลอทีชา เมืองมีศรีนักวิชาการฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยีสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) เกือบทุกครั้งที่เราพูดถึงโรงเรือนไม้ไผ่ มักจะมีคำถามว่า ต้นทุนเท่าไหร่? แพงไหม? อายุกี่ปี? คุ้มไหม? ปลูกผักอะไรได้บ้าง? …. วันนี้จะพาไปเรียนรู้จาก “กลุ่มเกษตรกรบ้านแป้น” ต.บ้านแป้น อ.เมือง จ.ลำพูน กลุ่มเกษตรกรที่ปลูกผักจริง ใช้โรงเรือนจริง ที่นี่สร้างโรงเรือนไม้ไผ่หลังคาจั่ว 2 ชั้นรูปแบบของ สวทช. ขนาด 6×15 เมตร ใช้ไม้ไผ่จากสวน ป่าหัวไร่ปลายนา หรือหาซื้อในพื้นที่ ตีมูลค่าตามราคาพื้นที่ ค่าแรงไม่มี เพราะอาศัยความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจของคนในชุมชนช่วยกันสร้าง หากจะตีราคาก็คงเป็นค่าอาหาร เครื่องดื่ม ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง คือ พลาสติกคลุมหลังคาขนาด 4×48 เมตร ราคาประมาณ 3,500 บาท+

ปลูกพืชผักใน “โรงเรือน” ให้ได้คุณภาพ ได้ราคา

ปลูกพืชผักใน “โรงเรือน” ให้ได้คุณภาพ ได้ราคา

ดาวน์โหลดเอกสารปลูกพืชผักใน “โรงเรือน” ให้ได้คุณภาพ ได้ราคา ดาวน์โหลดแบบแปลนโรงเรือนพลาสติกสำหรับการผลิตพืชผักคุณภาพ ขนาด 6×24 เมตร สูง 4.8 เมตร  ชุดสื่อวิดีโอความรู้ “เทคโนโลยีโรงเรือนปลูกพืช”  ข้อควรรู้! พลาสติกโรงเรือน UV7% หมายถึง มีส่วนผสมของสารเพิ่มความทนทานต่อ UV ในเนื้อพลาสติก 7% พลาสติกโรงเรือนที่ผสมสารเพิ่มความทนทานต่อ UV มากกว่า จะทนทานต่อแสงแดดได้ยาวนานกว่า ทำให้พลาสติกทนทาน ใช้งานกลางแจ้งได้นาน ดังเช่น พลาสติกโรงเรือน UV7% เมื่อเทียบกับพลาสติกโรงเรือน UV3%    ตาข่ายกันแมลง ขนาดตาถี่มาก มีผลต่อการระบายอากาศและความชื้น ข้อควรคำนึง!  กรณีโรงเรือนปลูกพืชต้นทุนต่ำ ควรเลือกไม้ไผ่ที่รองรับน้ำหนักเหล็กได้และเหมาะสมกับการใช้งาน เช่น

โรงเรือนปลูกพืชผักต้นทุนต่ำ “จะณะแบ่งสุข”

โรงเรือนปลูกพืชผักต้นทุนต่ำ “จะณะแบ่งสุข”

ดาวน์โหลดเอกสาร โรงเรือนปลูกพืชต้นทุนต่ำ “จะณะแบ่งสุข” ดาวน์โหลดเอกสาร โรงเรือนปลูกพืชต้นทุนต่ำ

เรื่องต้องรู้ “การผลิตพืชผักในโรงเรือนต้นทุนต่ำ”

เรื่องต้องรู้ “การผลิตพืชผักในโรงเรือนต้นทุนต่ำ”

ดาวน์โหลดเอกสาร เรื่องต้องรู้ “การผลิตพืชผักในโรงเรือนต้นทุนต่ำ” ดาวน์โหลดเอกสาร โรงเรือนปลูกพืชต้นทุนต่ำ