เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2567 น.ส.เลอทีชา เมืองมีศรี นักวิชาการสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. และทีมงาน ลงพื้นที่ติดตามการผลิตผักอินทรีย์ของสมาชิกวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกพืชด้วยวิถีเกษตรอินทรีย์และวิสาหกิจชุมชนศูนย์เรียนรู้เกษตร Organic ของดียางสีสุราช ต.นาภู อ.ยางสีสุราช จ.มหาสารคาม ภายใต้ “โครงการการยกระดับเครือข่ายผู้ผลิตผักอินทรีย์ด้วยเทคโนโลยีโรงเรือนและการบริหารจัดการผลิตพืชผัก” ที่ได้รับสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ซึ่งเกษตรกรได้นำความรู้ที่ได้รับจากโครงการฯ ไปปรับใช้สร้างโรงเรือนปลูกพืชต้นทุนต่ำจากวัสดุในท้องถิ่นรวม 33 โรงเรือน และติดตั้งเทคโนโลยีกล่องควบคุมการให้น้ำ Water Fit Simple จำนวน 2 จุด เพื่อเรียนรู้และปรับใช้ให้เหมาะกับบริบทของพื้นที่และการผลิตผัก จากการติดตามพบว่า เกษตรกรประสบปัญหาการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวและการขนส่งผัก เช่น โรคพืช ผักช้ำ ผักเหี่ยว
คู่มือ “โรงเรือนปลูกพืชต้นทุนต่ำโดยใช้วัสดุในท้องถิ่นและการบริหารจัดการปลูกพืช”
ดาวน์โหลดคู่มือฯ ดาวน์โหลดแบบแปลนโรงเรือนปลูกพืชต้นทุนต่ำโครงสร้างไม้-เสาไม้ ดาวน์โหลดแบบแปลนโรงเรือนปลูกพืชต้นทุนต่ำโครงสร้างไม้-เสาปูน
ผักแซ่บๆ ปลูกด้วยความรู้ ดีต่อกาย ดีต่อรายได้
“แต่ก่อนไม่มีรายได้จากผัก เดี๋ยวนี้ได้วันละ 40-50 บาท บางวันได้ 100-200 บาท ผักที่เราปลูกเองกินอร่อยกว่า ไม่ต้องซื้อผักจากตลาดแล้ว” วันเพ็ญ บุญเชิด เล่าด้วยรอยยิ้มระหว่างที่รดน้ำแปลงผักน้อยๆ ของเธอ วันเพ็ญ เป็นสมาชิกกลุ่มปลูกผักบ้านบุตาโสม ต.เมืองบัว อ.ชุมพลบุรี จ.สุรินทร์ เธอได้รับจัดสรรพื้นที่ขนาด 1.5×7 เมตร เป็นหนึ่งในแปลงผักนับสิบแปลงบนพื้นที่เกือบ 1 ไร่ ด้านหลังโรงเรียนบ้านบุโสม จากพื้นที่รกร้าง สภาพดินที่ใช้ประโยชน์ไม่ได้ถูกแปรเปลี่ยนเป็นแปลงผักเขียวขจีเต็มพื้นที่ ด้วยความตั้งใจของ เสมอ กระจ่างจิต ผู้ใหญ่บ้านบุตาโสม ที่ต้องการให้ลูกบ้านได้รับประทานผักปลอดภัย “ชาวบ้านพบสารเคมีตกค้างในเลือดกันทุกคน เราทำนาปีละครั้ง การรับสารเคมีอาจไม่เยอะเท่าผักที่เราซื้อกินทุกวัน วิธีที่เราพอจะป้องกันได้ก็คือ ปลูกผักกินเอง” เสมอ ใช้เวลากว่า 2