สวนปันบุญ…ปันสิ่งดีๆ เพื่อทุกคน

สวนปันบุญ…ปันสิ่งดีๆ เพื่อทุกคน

“เริ่มแรกเลยเราทำนาอินทรีย์ซึ่งทำยาก คนเฒ่าคนแก่หลายคนก็ท้อ ได้แต่บอกว่าให้ทำต่อ อดทน ทำนาอินทรีย์มันยากแต่เราได้บุญ ทำผักอินทรีย์ ผักที่ไม่มียา มันก็ได้บุญ” คือที่มาที่ไปของชื่อ “สวนปันบุญ” แห่งบ้านดอนแคน ต.ฆ้องชัยพัฒนา อ.ฆ้องชัย จ.กาฬสินธุ์ แหล่งผลิตข้าวและผักอินทรีย์ซึ่งคนปลูกเชื่อมั่นว่าคือสิ่งดีๆ ที่อยากแบ่งปันนับตั้งแต่ก้าวแรกของการก่อตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปันบุญตั้งแต่ปลายปี 2555 ก่อนหน้านี้ชาวบ้านคุ้นชินกับการใช้ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าหญ้า และสารกำจัดศัตรูพืชในแปลงนาจนล้มป่วยด้วยโรคผิวหนัง สะเก็ดเงิน และโรคเรื้อรังอย่างเบาหวาน ความดัน และมะเร็งซึ่งคร่าชีวิตคนในหมู่บ้านไปทีละน้อย กลายเป็นคำถามที่ สุจารี ธนสิริธนากร ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปันบุญ ต้องการหาทางออกเพื่อเป็นทางเลือกทางรอดให้ชาวบ้านนับตั้งแต่ตัดสินใจลาออกจากการทำงานในกรุงเทพฯ เธอลงมือค้นหาคำตอบผ่านการทำงานวิจัยไทบ้านร่วมกับคู่ชีวิตและชาวบ้านที่สนใจ คำตอบที่ได้ในวันนั้น คือ การกลับมาทำนาแบบโบราณ หรือ การทำเกษตรอินทรีย์ เลิกการใช้สารเคมีโดยสิ้นเชิง แม้ทุกคนจะรู้ว่าดี แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะปรับเปลี่ยนวิธีคิดและพฤติกรรม สุจารี ยอมสละที่นาตัวเองให้เพื่อนสมาชิกทดลองปลูกข้าวโดยไม่ใช้สารเคมี

ใช้เป็น ใช้จริง ใช้ “โรงเรือนพลาสติกปลูกพืช” อย่างมีความรู้

โรงเรือนพลาสติกสำหรับการผลิตพืชผักคุณภาพ

“โรงเรือนปลูกพืช” เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือการเกษตรที่เกษตรกรให้ความสนใจมากขึ้น ด้วยตอบโจทย์ปลูกพืชได้ทุกฤดูกาล ซึ่งรูปแบบโรงเรือนปลูกพืชมีหลากหลาย ขึ้นอยู่กับชนิดพืชและเงินทุนของเกษตรกร วิรัตน์  โปร่งจิต ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผักสดและผลไม้แปรรูปบ้านหนองทราย อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา หนึ่งในเกษตรกรที่เห็นความสำคัญของการใช้โรงเรือนปลูกพืช ซึ่งพื้นที่เพาะปลูกกว่า 3 ไร่ของเขา ติดตั้งโรงเรือนปลูกพืช 5 หลัง โดยเป็น “โรงเรือนพลาสติกเพื่อการผลิตพืชผักคุณภาพ” ของ สวทช. ถึง 4 หลัง สร้างรายได้จากการปลูกผักต่อเดือน 30,000-40,000 บาท/เดือน จากเดิมที่ได้ไม่ถึง 20,000 บาท/เดือน “แต่ก่อนไม่มีโรงเรือน ปลูกผักหน้าฝนไม่ค่อยได้ผลผลิต อย่างผักบุ้งเจอโรคราสนิม แต่พอปลูกในโรงเรือน ไม่เจอปัญหาและยังได้ราคาดีด้วย” โรงเรือนปลูกพืชหลังแรกของวิรัตน์เป็นโรงเรือนทรงหลังคาฟันเลื่อย หรือที่เรียกว่า หลังคา ก.ไก่ ซึ่งได้รับสนับสนุนจากหน่วยงานท้องถิ่น

โรงเรือนปลูกพืช

โรงเรือนปลูกพืช

จากสภาพภูมิอากาศโลกที่เปลี่ยนแปลง ความไม่แน่นอนของฤดูกาล ภัยธรรมชาติและการระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืช การนำ “เทคโนโลยีโรงเรือนปลูกพืช” มาปรับใช้ จึงเป็นทางเลือกที่ได้รับการตอบรับมากขึ้น เพราะช่วยให้เกษตรกรสามารถเพาะปลูกพืชได้ทุกฤดูกาล ควบคุมการให้น้ำและปุ๋ยได้ง่าย ลดการระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืช อีกทั้งยังวางแผนการผลิตได้อย่างแม่นยำและได้ผลผลิตตามแผน ซึ่งเทคโนโลยีโรงเรือนปลูกพืชมีหลายรูปแบบ การเลือกใช้จึงขึ้นอยู่กับงบประมาณ สภาพแวดล้อม และความรู้ของผู้ใช้ สท. ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยี “โรงเรือนพลาสติกเพือ่การผลิตพืชผักคุณภาพ” ที่พัฒนาโดย สวทช.  เป็นรูปแบบโรงเรือนสองชั้น ออกแบบโดยใช้หลักการลอยตัวของอากาศ เมื่ออากาศร้อนลอยตัวสูงขึ้น จะไหลออกช่องระหว่างหลังคาล่างและหลังคาบนได้ทั้งซ้ายและขวา และดึงอากาศเย็นภายนอกเข้ามาแทนที่ภายในโรงเรือน เกิดการไหลเวียนอากาศแบบธรรมชาติ (natural flow) อีกทั้งการกระจายแสงที่ครอบคลุมทุกจุดในโรงเรือนพลาสติก ทำให้พืชได้รับแสงอย่างทั่วถึง ส่งผลต่อการสังเคราะห์แสงและการสร้างอาหารของพืช ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพภายใต้ระยะเวลาการเพาะปลูกที่สั้นลง นอกจากรูปแบบโรงเรือนของ สวทช. แล้ว สท. ยังได้สนับสนุนความรู้การใช้ “โรงเรือนปลูกพืชต้นทุนต่ำ” สำหรับผู้เริ่มต้นเรียนรู้การปลูกผัก ต้องการปลูกไว้เพื่อบริโภคในครัวเรือน