เมื่อวันที่ 21-23 ตุลาคม 2567 นักวิชาการสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับนักวิจัยกลุ่มวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพพืชและการจัดการแบบบูรณาการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) และเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์ ลงพื้นที่ติดตามแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวสายพันธุ์ใหม่และพัฒนาศักยภาพผู้ตรวจสอบแปลงนาในพื้นที่อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม อำเภอชุมพลบุรี และอำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเป็นกิจกรรมภายใต้โครงการ “การถ่ายทอดเทคโนโลยีข้าวสายพันธุ์ใหม่และการผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพดี เพื่อยกระดับการผลิตข้าวของเกษตรกรพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้” โดยมีแปลงเกษตรกร 5 ราย ร่วมทดสอบผลิตข้าวสายพันธุ์ใหม่ 6 สายพันธุ์ ได้แก่ หอมสยาม 2 ไรซ์เบอร์รี่ 2 แดงจรูญ นิลละมุน ธัญสิรินต้นเตี้ย และข้าวเหนียวดำ จากการลงพื้นที่ครั้งนี้พบว่า ข้าวสายพันธุ์ใหม่สามารถปรับตัวและเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ของจังหวัดมหาสารคามและสุรินทร์ เกษตรกรยังสนใจทดสอบผลิตข้าวสายพันธุ์ใหม่ตามความสนใจ ได้แก่ หอมสยาม 2 จำนวน
สท. ร่วมแชร์การถ่ายทอดเทคโนโลยีชุดตรวจโรคใบด่างมันสำปะหลังสู่เกษตรกร
เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2566 นายชวินทร์ ปลื้มเจริญ นักวิชาการฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยี สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมนำเสนอข้อมูลและประสบการณ์การถ่ายทอดเทคโนโลยีชุดตรวจโรคใบด่างมันสำปะหลัง เพื่อคัดกรองโรคใบด่างมันสำปะหลังและท่อนพันธุ์มันสำปะหลังปลอดโรค ในกิจกรรม NSTDA Meets The Press หัวข้อ “ทีมวิจัยไบโอเทค สวทช. ผลิตเทคโนโลยีสู้โรคใบด่างมันสำปะหลัง” ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) “ในช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมา โรคใบด่างมันสำปะหลังได้สร้างความเสียหายให้กับเกษตรกรชาวไร่มันสำปะหลังเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูกใหญ่ที่สุดในประเทศ และแพร่ระบาดไปหลายจังหวัด โดยสาเหตุเกิดจากเกษตรกรนำท่อนพันธุ์จากต่างถิ่นเข้ามาในพื้นที่และไม่ทราบว่าต้นพันธุ์ที่นำมาปลูกนั้นติดโรคใบด่าง ซึ่งชุดตรวจโรคใบด่างมันสำปะหลังที่พัฒนาโดยทีมวิจัยไบโอเทค สวทช. เป็นแบบ Strip
เมตาไรเซียม: ราเขียวกำจัดแมลงศัตรูพืช
ดาวน์โหลดเอกสาร
เมื่อ “ปทุมมาสายพันธุ์ใหม่” จะผลิบานที่ “ห้วยสำราญ”
สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) มีความร่วมมือกับจังหวัดอุดรธานี ในการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) เข้าไปพัฒนาและส่งเสริมการทำเกษตรในพื้นที่ ซึ่ง “กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ไม้ดอกไม้ประดับบ้านห้วยสำราญ-ห้วยเจริญ” ต.หนองไฮ อ.เมืองอุดรธานี จ.อุดรธานี เป็นหนึ่งกลุ่มเกษตรกรที่ สท. ได้ร่วมดำเนินงานด้วย ภายใต้โครงการ “การพัฒนาพื้นที่ต้นแบบเครือข่ายผู้ผลิตปทุมมาบ้านห้วยสำราญ” โดยมุ่งหวังให้เป็นจุดสาธิตการเรียนรู้เทคโนโลยีการผลิตปทุมมาและส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวบนฐานความรู้ด้าน วทน. “กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ไม้ดอกไม้ประดับบ้านห้วยสำราญ-ห้วยเจริญ” เป็นกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตไม้ดอกไม้ประดับกลุ่มใหญ่ของจังหวัดอุดรธานี มีสมาชิก 104 ราย ปลูกไม้ดอกไม้ประดับหลากหลายพันธุ์ เช่น มะลิร้อยมาลัย เบญจมาศ ดาวเรือง ดอกพุด คัตเตอร์ กุหลาบร้อยมาลัย เป็นต้น นอกจากนี้พื้นที่ปลูกไม้ดอกไม้ประดับของกลุ่มวิสาหกิจฯ ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรในช่วงฤดูไม้ดอกผลิบาน เว้นแต่ในช่วงฤดูฝนที่ยังขาดพันธุ์ไม้ดอกที่หลากหลาย จากนโยบายของจังหวัดอุดรธานีที่ต้องการพัฒนาพื้นที่บ้านห้วยสำราญให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เปิดรับผู้คนได้ตลอดทั้งปี จึงได้ร่วมกับ สท. นำร่องจัดอบรมถ่ายทอดความรู้การผลิตปทุมมาให้สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจฯ