เมื่อวันที่ 11-12 ธันวาคม 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับมหาวิทยาแม่โจ้ ภายใต้ความร่วมมือด้านสถานีเรียนรู้ (Training Hub) ผักและสมุนไพรอินทรีย์ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “โอกาสของการปลูกมะเขือเทศเชอรี่อินทรีย์ในโรงเรือนให้ประสบความสำเร็จ” ให้เกษตรกรรุ่นใหม่ (Yong Smart Farmer) ทหารพันธุ์ดี ผู้ประกอบการธุรกิจทางด้านการเกษตร และนักศึกษาหลักสูตรเกษตรอินทรีย์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ รวม 119 คน โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มูลนิธิโครงการหลวง และบริษัทเอกชน เป็นวิทยากรให้ความรู้และนำฝึกปฏิบัติในแปลงเรียนรู้ของศูนย์ปรับปรุงพันธุ์และผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
สท.-ไบโอเทค เดินหน้าเติมความรู้ “ปลูกมะเขือเทศเชอรี่อินทรีย์ในโรงเรือน” ให้เกษตรกรรอบเหมืองผาแดง
เมื่อวันที่ 7-8 ธันวาคม 2567 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้: สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับกลุ่มวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพพืชและการจัดการแบบบูรณาการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “การปลูกมะเขือเทศเชอรี่อินทรีย์ในโรงเรือนให้ประสบความสำเร็จ” ให้เจ้าหน้าที่ กลุ่มเกษตรกร คุณครูและนักเรียนในพื้นที่โครงการการอนุรักษ์ฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพและเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนในพื้นที่เหมืองผาแดง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดตาก รวม 70 คน เพื่อถ่ายทอดความรู้เรื่องการปลูกมะเขือเทศเชอรี่แบบอินทรีย์ในโรงเรือนให้เป็นพืชทางเลือกสร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรและชุมชนรอบเหมืองผาแดง ต.พระธาตุผาแดง อ.แม่สอด จ.ตาก โดยใช้มะเขือเทศเชอรี่พันธุ์แดงโกเมนและซันไชน์เป็นต้นแบบการเรียนรู้ ซึ่งเป็นพันธุ์ที่พัฒนาโดยนักวิจัยไบโอเทคและบริษัท ที เค อาร์ แอนด์ ดี จำกัด การอบรมครั้งนี้ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญทั้งจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มูลนิธิโครงการหลวง และบริษัทเอกชน ร่วมให้ความรู้และนำฝึกปฏิบัติ ภายใต้ความร่วมมือ Training
กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการภายใต้โครงการฯ เฟส 1 ปี 2566
กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการภายใต้โครงการ “การพัฒนาศูนย์เรียนรู้และฝึกอบรมการผลิตพืชผักในระบบเกษตรอินทรีย์แบบครบวงจร ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สวทช. และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ระยะที่ 1 บันทึกวิดีโอการอบรม (คลิกที่ภาพ) บันทึกวิดีโอการอบรม (คลิกที่ภาพ) บันทึกวิดีโอการอบรม (คลิกที่ภาพ)
ฟาร์มฝันแม่
จากพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง 15 ไร่ แปรเปลี่ยนเป็นป่าและพื้นที่ปลูกผักอินทรีย์ตามความฝันของ “ลำพึง ศรีสาหร่าย” ที่ต้องการมีที่ดินเป็นของตนเอง หลังจากเช่าที่ปลูกผักจนส่งลูกๆ เรียนจนจบมหาวิทยาลัย และในวันที่สูญเสียคู่ชีวิตที่เคียงบ่าปลูกผักร่วมกันมา เธอได้ลูกชาย “ภิญญา ศรีสาหร่าย” วิศวกรหนุ่มกลับมาเป็นกำลังสำคัญและสานฝันการทำเกษตรอินทรีย์ของเธอที่ “ฟาร์มฝันแม่” เรื่องราวของ “ฟาร์มฝันแม่” เคล็ด(ไม่)ลับ ปลูกผักอินทรีย์ ให้ตลาดจำ (บันทึกวิดีโอกิจกรรมเสวนา) “ฟาร์มฝันแม่” ความฝัน ความจริงและความรู้เกษตรอินทรีย์ (วิดีโอ) “ฟาร์มฝันแม่” ความฝัน ความจริงและความรู้เกษตรอินทรีย์ (บทความ)
สุขใจฟาร์ม
สุขใจ คือชื่อเล่นของ ภัทราพล วนะธนนนท์ ที่แม่ตั้งให้ด้วยหวังให้ชีวิตลูกมีความสุข จากเด็กน้อยที่เติบโตในชุมชนเล็กๆ ของตำบลวังทรายคำ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง ก่อนไปใช้ชีวิตวัยทำงานในวงการบันเทิงที่เมืองกรุง และพลิกชีวิตช่วงวัยกลางคนสู่อาชีพ “เกษตรกร” ที่ไม่มีใครคิดว่าเขาจะทำได้ ไม่เพียงผลผลิตคุณภาพของ ‘สุขใจฟาร์ม’ จะเป็นที่ต้องการของตลาดในพื้นที่และตลาดโมเดิร์นเทรด หากที่นี่ยังเป็น ‘ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ระดับชุมชน’ ที่พร้อมส่งต่อองค์ความรู้และประสบการณ์ให้ผู้สนใจผลิตผักอินทรีย์ด้วยความรู้ เรื่องราวของ ‘สุขใจฟาร์ม’ จากศูนย์ (0) สู่ศูนย์เรียนรู้ระดับชุมชน (บันทึกวิดีโอกิจกรรมเสวนา) แนะนำศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ระดับชุมชน: สุขใจฟาร์ม (วิดีโอ) จาก ‘ศูนย์ (0)’ สู่ ‘ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ระดับชุมชน: สุขใจฟาร์ม’ (ข่าวประชาสัมพันธ์) เคล็ด(ไม่)ลับ ปลูกผักอินทรีย์ ให้ตลาดจำ (บันทึกวิดีโอกิจกรรมเสวนา) ‘แปลงผักสุขใจ’
ฐานปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกลับกอง
สื่อความรู้ การผลิตปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกลับกอง
ฐานสมุนไพรเพื่อการอารักขาพืช
สื่อความรู้ พืชสมุนไพรเพื่อการอารักขาพืช