สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี พัฒนาสถานีเรียนรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านเกษตร (Training Hub) โดยมุ่งเน้นเป็นแหล่งเรียนรู้เทคโนโลยีด้านเกษตรและประมง บูรณาการองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ตลอดจนความเชี่ยวชาญของบุคลากรของ สวทช. และมหาวิทยาลัยฯ เพื่อพัฒนาทักษะเดิม (upskill) เพิ่มเติมทักษะใหม่ (reskill) ให้เกษตรกรและชุมชนผ่านหลักสูตรการอบรมและกิจกรรม กิจกรรม/ประชาสัมพันธ์ สท.-ม.บูรพาฯ จันทบุรี เสริมความรู้ด้าน “สัตว์น้ำ” สร้างอาชีพ “เพาะเห็ดมิลกี้เชิงพาณิชย์” สท.-ม.บูรพาฯ จันทบุรี เติมความรู้ชาวสวน “เพิ่มผลผลิตทุเรียนในสภาวะเอลนีโญ-ลานีญา” สท.-ม.บูรพาฯ จันทบุรี จัดเต็มอบรม “เทคโนโลยีการจัดการฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำสมัยใหม่ด้วยระบบ IoT” สท.-ม.บูรพา วิทยาเขตจันทบุรี จัดอบรมเกษตรกรเสริมความรู้การทำท่องเที่ยวเชิงเกษตร
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
ในปี พ.ศ. 2565 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย (มทร.ศรีวิชัย) มีความร่วมมือพัฒนาสถานีเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการเกษตร (Training Hub) ในพื้นที่ภาคใต้ เพื่อเป็นพื้นที่สาธิต ทดสอบและเรียนรู้การปรับใช้เทคโนโลยีเกษตร/เกษตรสมัยใหม่ ให้เกษตรกรได้เข้าถึงองค์ความรู้และเทคโนโลยีเกษตร ยกระดับทักษะความรู้บุคลากรภาคการเกษตร พัฒนาเกษตรกรแกนนำ เกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Smart Farmer) และอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.) อีกทั้งเป็นพื้นที่ขยายผลองค์ความรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมของสวทช. สู่ชุมชนในพื้นที่ภาคใต้ มุ่งเน้นการพัฒนาด้านเกษตรปลอดภัยและผลิตสินค้าอัตลักษณ์ท้องถิ่น โดยนำร่องในจังหวัดตรัง นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา การบริหารจัดการสถานีเรียนรู้ด้านการเกษตร (Training Hub) ในพื้นที่ภาคใต้ ดำเนินการโดยสำนักการจัดการนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี มทร.ศรีวิชัย มีคณะกรรมการกำกับ ติดตาม
สถานีเรียนรู้ (Training Hub)
สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับสถาบันการศึกษาในแต่ละภูมิภาคของประเทศ พัฒนาสถานีเรียนรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านเกษตร (Training Hub) โดยบูรณาการองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ตลอดจนความเชี่ยวชาญของบุคลากรของ สวทช. และสถาบันการศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะเดิม (upskill) เพิ่มเติมทักษะใหม่ (reskill) ให้เกษตรกรและชุมชนผ่านหลักสูตรการอบรมและกิจกรรม ณ สถานีเรียนรู้แต่ละแห่ง นอกจากนี้ สท. ยังได้พัฒนาจุดเรียนรู้ระดับชุมชน (Learning Station) ร่วมกับเกษตรกรในเครือข่ายการทำงานของ สท. เพื่อให้เกษตรกรในพื้นที่สามารถเข้าถึงความรู้และเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีได้สะดวกยิ่งขึ้น • สถานีเรียนรู้กลาง หรือ AGRITEC Station ตั้งอยู่ในอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี เป็นสถานีสาธิตเทคโนโลยีการเกษตรครบวงจร อาทิ ปัจจัยการผลิต การจัดการโรคแมลง การทดสอบพันธุ์พืชต่างๆ และเทคโนโลยีด้านเกษตรอัจฉริยะ • สถานีเรียนรู้ระดับภูมิภาค
สื่อความรู้: ฐานเรียนรู้การผลิตผักอินทรีย์
สื่อความรู้ภายใต้ความร่วมมือ
โปสเตอร์ ใบปลิว ดาวน์โหลด เพาะกล้าดี มีชัยไปกว่าครึ่ง ดาวน์โหลด เพาะ ‘ต้นอ่อน’ อย่างมืออาชีพ ดาวน์โหลด การควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี (Biocontrol)
สวทช. ผนึก มทร.อีสาน พัฒนา-ถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่ พลิกทุ่งกุลาให้ “ยิ้มได้”
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) – มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร.อีสาน) ลงนามบันทึกความร่วมมือ “การพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่ เพื่อพัฒนาอาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิตคนในชุมชนทุ่งกุลาร้องไห้” ใช้กลไก Training Hub สถานีกระจายความรู้สร้างทักษะให้เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นต้นแบบขยายผลการใช้เทคโนโลยีให้ครอบคลุมพื้นที่เขตทุ่งกุลาร้องไห้ ตั้งเป้ายกระดับรายได้เกษตรกรก้าวพ้นขีดความยากจน สอดรับการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG มุ่งให้ประชาชนอยู่ดีกินดี นายเชวงศักดิ์ พลเยี่ยม รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า จังหวัดร้อยเอ็ดมีประวัติศาสตร์ ประเพณี และวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน มุ่งเน้นพัฒนาความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและสังคมบนพื้นฐานแหล่งผลิต สร้างมูลค่าข้าวหอมมะลิคุณภาพสูง และเป็นเมืองน่าเที่ยว น่าอยู่ การดำเนินงานของแต่ละหน่วยงานในบันทึกข้อตกลงนี้สอดคล้องกับพันธกิจของจังหวัดทั้ง 3 ประการ คือ 1) ส่งเสริมและพัฒนาการผลิตข้าวหอมมะลิ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในนวัตกรรมเพิ่มศักยภาพในการบริหารทรัพยากรและสินค้าเกษตรให้เป็นเกษตรที่ปลอดภัย เกษตรอินทรีย์