เมื่อวันที่ 5-6 สิงหาคม 2566 นักวิชาการ สท. ลงพื้นที่ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตผักให้เกษตรกรและกลุ่มผู้มีรายได้น้อยในต.เมืองบัว และต.ไพรขลา อ.ชุมพลบุรี จ.สุรินทร์ รวม 200 คน ภายใต้โครงการ “การพัฒนาศักยภาพกลุ่มผู้ผลิตผักในระบบเกษตรอินทรีย์แบบครบวงจรในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้” เพื่อสร้างทักษะการผลิตผักไว้บริโภคและเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เองในครัวเรือน รวมทั้งการผลิตปุ๋ยหมักจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ช่วยลดต้นทุนการผลิต ซึ่งการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ใช้สถานที่ ณ บ้านโนนโพธิ์ หมู่ 9 และบ้านขาม หมู่ 2 ต.ไพรขลา บ้านโนนกลาง หมู่ 2 และบ้านบุตาโสม หมู่ 11 ต.เมืองบัว “การเพาะเมล็ดพันธุ์ผัก และการเก็บเมล็ดพันธุ์ผักไว้ใช้ในครัวเรือน” ถ่ายทอดความรู้โดย อาจารย์ชนกเนตร ชัยวิชา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุริทร์ ซึ่งผู้เข้าอบรมได้ฟังบรรยายและและฝึกปฏิบัติเพาะกล้า เตรียมต้นกล้าก่อนปลูกและทำวัสดุเพาะกล้า โดยใช้ขี้เถ้าแกลบ มูลวัวร่อนและขุยมะพร้าวร่อน (อัตราส่วน ขี้เถาแกลบ 1 ส่วน มูลวัวร่อน/มูลไส้เดือน 1 ส่วน ขุยมะพร้าวร่อน 2 ส่วน) “การผลิตปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกลับกอง” ถ่ายทอดความรู้โดยนายณัฐวุฒิ ดำริห์ นักวิชาการฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยี สท. ผู้เข้าร่วมอบรมได้เรียนรู้และทำความเข้าใจเรื่องปุ๋ยอินทรีย์ เกณฑ์มาตรฐานการผลิตปุ๋ยหมัก วิธีการผลิตปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกลับกอง และการผลิตปุ๋ยเพื่อการค้า รวมทั้งได้ลงมือปฏิบัติทำปุ๋ยหมักไม่พลิกกลับกองแบบขึ้นกองสามเหลี่ยมและแบบวงตาข่าย โดยใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในพื้นที่ ได้แก่ ฟางข้าว เศษใบไม้สื่อความรู้ การปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกลับกอง สท. เสริมทักษะ “ปลูกผัก-ทำปุ๋ยหมักไว้ใช้เอง” ให้เกษตรกรและกลุ่มผู้มีรายได้น้อยในพื้นที่ทุ่งกุลาฯ Post Views: 445 Tagged on: ทุ่งกุลาร้องไห้ ปุ๋ยหมักไม่พลิกกลับกอง ผักอินทรีย์ เพาะกล้า