สถานการณ์โรคอ้วนในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเด็กไทยติดอันดับการเพิ่มจํานวนเด็กอ้วนเร็วที่สุดในโลก ซึ่งปัจจัยที่สําคัญคือเด็กมีการบริโภคอาหารจุบจิบ ขนมหวาน เครื่องดื่ม น้ําอัดลม อาหารสําเร็จรูปมากขึ้น ทําให้เกิดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ตามมา ดังนั้นการให้ความรู้ที่ถูกต้องและเพียงพอต่อการตัดสินใจก่อนที่จะเลือกรับประทานอาหารหรือ ผลิตภัณฑ์ใด ถือเป็นทางเลือกที่ดีในการดูแลสุขภาพเบื้องต้นได้
การให้ความรู้ด้านโภชนาการ
ข้อมูลโภชนาการหรือฉลากโภชนาการ คือการแสดงรายละเอียดของชนิดและปริมาณของสารอาหารซึ่งอยู่ในผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ปัจจุบันพบว่ามีผู้บริโภคจํานวนมากที่ประสบปัญหาการดูฉลากผลิตภัณฑ์ เนื่องจากตัวอักษรเล็ก มีรายละเอียดมาก เมื่อต้องการเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ใช้เวลาในการตัดสินใจนาน ซึ่ง FoodChoice ช่วยแก้ปัญหานี้ได้
FoodChoice ทําอะไรได้บ้าง
- แสดงผลข้อมูลฉลากในรูปแบบที่ง่ายต่อการเข้าใจ
- ช่วยผู้บริโภคในการตัดสินใจ เปรียบเทียบและเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกัน
- สามารถเลือกบริโภคได้เหมาะสมกับภาวะโภชนาการของตนเองได้
- กําหนดปริมาณการรับประทานให้เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย
แสดงข้อมูลผลิตภัณฑ์
- ข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการสแกนบาร์โค้ด
- ข้อมูลผลิตภัณฑ์เพื่อเปรียบเทียบและเลือกซื้อในผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกัน
คําแนะนําเพื่อสุขภาพ
คําแนะนําเพิ่มเติมเกี่ยวกับกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่เลือกแบ่งตามสุขภาวะ
ถ่ายภาพฉลากโภชนาการ
ในกรณีที่สแกนบาร์โค้ดผลิตภัณฑ์ไม่พบ ท่านสามารถช่วยเพิ่มฐานข้อมูลฉลากโภชนาการให้ FoodChoice เพื่อสังคมแห่งการเรียนรู้ได้โดยถ่ายภาพฉลากตามนี้
- ด้านหน้าผลิตภัณฑ์
- ข้อมูลโภชนาการ
- ส่วนประกอบผลิตภัณฑ์
- เลขอย. 13 หลัก
สแกนบาร์โค้ดผลิตภัณฑ์
สแกนบาร์โค้ดบนบรรจุภัณฑ์เพื่อดูข้อมูล ฉลากโภชนาการ โดยข้อมูลตัวตนอ้างอิง จากข้อมูลโภชนาการของผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท จัดทําโดยสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ในปี 2558
การจัดเรียงข้อมูลผลิตภัณฑ์ตามเกณฑ์
- เกณฑ์ภาพรวมผลิตภัณฑ์ : เรียงตามคู่มือการจําแนกอาหาร ขนม นม และเครื่องดื่ม ตามมาตรฐานโภชนาการ
- พลังงาน : เรียงตามปริมาณจากน้อยไปมาก
- น้ําตาล : เรียงตามปริมาณจากน้อยไปมาก
- ไขมัน : เรียงตามปริมาณจากน้อยไปมาก
- ไขมันอิ่มตัว : เรียงตามปริมาณจากน้อยไปมาก
- โปรตีน : เรียงตามปริมาณจากมากไปน้อย
- โซเดียม : เรียงตามปริมาณจากน้อยไปมาก
- แคลเซียม : เรียงตามปริมาณจากมากไปน้อย
ประวัติการสแกนผลิตภัณฑ์
ข้อมูลฉลากผลิตภัณฑ์ที่เคยสแกนบาร์โค้ดมาแล้ว
หน่วยงานภาคีเครือข่าย
- กรมอนามัย
- สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
- มูลนิธิส่งเสริมโภชนาการในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี
- คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
- มูลนิธิผู้บริโภค
- โครงการเด็กไทยไม่กินหวาน
- สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
- สํานักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ ภายใต้กระทรวงสาธารณสุข
เกณฑ์การจําแนกสีของ Food Choice
- อ้างอิงจากคู่มือการจําแนก อาหาร ขนม นมและเครื่องดื่ม ตามมาตรฐานโภชนาการ สําหรับเด็กอายุ 3-15 ปี (ฉบับปรับปรุง)
- สำนักโภชนาการ กรมอนามัย โครงการเจริญตามรอยพระยุคลบาท พัฒนารูปแบบการจัดการด้านอาหาร โภชนาการและสุขภาพเพื่อเด็กไทยแก้มใส
- พิมพ์ครั้งที่ 3 เมษายน 2560
- สีเขียว หมายถึง ปริมาณพลังงานหรือสารอาหาร อยู่ในเกณฑ์ที่กําหนด แต่หากบริโภคผลิตภัณฑ์นั้น ๆ มากกว่าหนึ่งหน่วยบริโภค แต่ไม่เกิน 2 หน่วยบริโภค ของอาหารระหว่างมื้อ (อาหารว่าง) หรือ บริโภคร่วมกับผลิตภัณฑ์อื่นเป็นที่มีสารอาหารชนิดเดียวกันที่ให้สีเขียว ก็จะทําให้ได้รับสารอาหารนั้นในปริมาณสูงปานกลาง
- สีเหลือง หมายถึง ปริมาณพลังงานหรือสารอาหาร อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง แต่หากบริโภคผลิตภัณฑ์นั้น ๆ มากกว่าหนึ่งหน่วยบริโภค หรือบริโภคร่วมกับผลิตภัณฑ์อื่นเป็นที่มีสารอาหารชนิดเดียวกันที่มีสีเหลือง ก็จะทําให้ได้รับสารอาหารนั้นในปริมาณสูง
- สีแดง หมายถึง ปริมาณพลังงานหรือสารอาหาร อยู่ในเกณฑ์ที่สูงเกิน 2 เท่าของเกณฑ์ที่กำหนด หากบริโภคอาหารระหว่างมื้อที่มีสัญลักษณ์สีแดงในอาหารตัวใดตัวหนึ่ง ต้องพยายามลดการได้รับสารอาหารนั้น ๆ ในอาหารมือหลักต่อไป
- สีฟ้า หมายถึง ปริมาณโปรตีน แคลเซียม วิตามินบีสอง ซึ่งเป็นสารอาหารที่ดีแต่มีปริมาณต่ํากว่าเกณฑ์มาก
การให้ความรู้ถึงปริมาณน้ำตาลที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์
ท่านทราบหรือไม่ว่า..
บุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 3-12 ปี สามารถบริโภคน้ําตาล ไม่เกิน 4 ช้อนชา ต่อวัน บุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป สามารถบริโภคน้ําตาล ไม่เกิน 6 ช้อนชา ต่อวัน FoodChoice จะแสดงปริมาณน้ําตาลในขนม และ เครื่องดื่มต่าง ๆ ในรูปช้อนชาเพื่อให้ผู้บริโภคสามารกรู้ได้ว่า มีน้ําตาลในผลิตภัณฑ์ที่สแกนเมากน้อยเพียงใด
- * น้ําตาล 1 ช้อนชา = 4 กรัม
ผู้พัฒนา FoodChoice
- ห้องปฏิบัติการวิจัยติดตามสุขภาพและรูปแบบการดำเนินชีวิต (HLM)
- ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
- 112 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถนนพหลโยธิน
- ตําบลคลองหนึ่ง อําเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
- โทรศัพท์ 02564 6900 ต่อ 2545-47
หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเกณฑ์มาตรฐาน โภชนาการ ติดต่อ
- หน่วยงานสนับสนุนเกณฑ์การจำแนกอาหาร ขนม นม และเครื่องดื่มตามมาตรฐานโภชนาการ
- สำนักโภชนาการ กรมอนามัย
- โครงการเจริญตามรอบพระยุคลบาทพัฒนารูปแบบการจัดการด้านอาหารโภชนาการและสุขภาพเพื่อเด็กไทยแก้มใส
- 88/22 สำนักโภชนาการ กรมอนามัย ถนนติวานนท์
- ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 11000
- โทรศัพท์ 0 2590 4307-8