อุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจในประเทศไทย มีการพัฒนาระบบการเพาะเลี้ยงจากแบบดั้งเดิมขึ้นมาอย่างมาก แต่ปัญหาเรื่องคุณภาพน้ำที่ดีเพียงพอสำหรับการดำรงชีวิตอย่างมีสุขภาพดีของสัตว์น้ำแบบปลอดภัยจากโรค ยังคงเป็นปัจจัยหลักที่ประสบปัญหาจากหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงจากสภาพภูมิอากาศเหนือบ่อ ภาวะมลพิษจากแหล่งน้ำที่นำมาใช้ การบำบัดน้ำและการหมุนเวียนน้ำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งอาจส่งผลต่อคุณภาพน้ำ ทั้งทางกายภาพ องค์ประกอบทางเคมี และชีวภาพในบ่อเพาะเลี้ยงโดยเฉพาะอย่างยิ่งวิธีการหรือระบบในการตรวจสอบคุณภาพน้ำอย่างครบถ้วน ถูกต้อง แม่นยำ รวดเร็ว ที่จะทำให้ผู้เพาะเลี้ยงรับรู้และแก้ปัญหาทันเวลา รวมถึงการมีระบบบริหารจัดการฟาร์มที่ดี เพื่อให้เกิดความยั่งยืนทั้งทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างความมั่นใจต่อผู้บริโภคสัตว์น้ำตลอดจนถึงตลาดทั้งในและส่งออกต่างประเทศ
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกและคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้วิจัยและพัฒนา”ระบบติดตามแจ้งเตือนลภาพบ่อเพาะเลี้ยงทั้งทางกายภาพ เคมี และชีวภาพด้วยเทคโนโลยี IoTหรือ Aqua-IoT” เป็นหนึ่งในผลงานวิจัยในกลุ่ม Aqua Series ซึ่งเป็นระบบเฝ้าระวัง แบบ Real-time ผ่านเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเพื่อสรรพสิ่ง (IoT) เก็บข้อมูลบนคลาวด์(Cloud) และแสดงผล (Dash board) ผ่านหน้าจอมือถือของผู้เพาะเลี้ยง ทำให้ผู้เพาะเลี้ยงสามารถมองเห็นข้อมูลในปัจจุบันและตัดสินใจจัดการได้ทันที อีกทั้งสามารถนำข้อมูลที่บันทึกไว้มาใช้วางแผนและปรับวิธีการเพาะเลี้ยงตามความเหมาะสม นอกจากนี้เนคเทคยังได้ดำเนินโครงการ”ยกระดับผู้ประกอบการสัตว์น้ำด้วยระบบตรวจสอบสภาพบ่อเพาะเลี้ยงทั้งทางกายภาพเคมี และชีวภาพด้วยเทคโนโลยี I0T ในพื้นที่ภาคตะวันออก” ได้ทดสอบและติดตั้งระบบดังกล่าวในฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำ 15 แห่ง ในพื้นที่จังหวัดตราด จันทบุรี ระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา โดยมีศูนย์เทคโนโลยีพันธวิศวกรรมแห่งชาติ (ไบโอเทค) ร่วมคำเนินการโครงการฯ ด้วย โครงการการยกระดับผู้ประกอบการสัตว์น้ำด้วยระบบตรวจสอบสภาพบ่อเพาะเลี้ยงทั้งทางกายภาพ เคมี และชีวภาพด้วยเทศโนโลยี I0T ในพื้นที่ภาคตะวันออก จึงได้จัดทำ “คู่มีอระบบติตตามแจ้งเตือนสภาพบ่อเพาะเลี้ยงทั้งทางกายภาพ เคมี และชีวภาพด้วยเทคโนโลยี IOT (Aqua-loT) สำหรับสัตว์น้ำเศรษฐกิจไทย” โดยรวบรวมข้อมูลเทคโนโลยี Aqua-IoT และวิธีการใช้งานระบบ ที่จะช่วยให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำได้เรียนรู้การใช้เทคโนโลยีดังกล่าวอย่างถูกต้องและนำไปเสริมศักยภาพ การผลิตสัตว์น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ที่มาข้อมูล/ภาพ : https://www.nstda.or.th/agritec/aqua-iot-manual/
ดาว์นโหลด :https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/agritec/AquaIoT_Book-1.pdf