คณะวิจัย สวทช. ที่ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ คือ รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ รางวัลผลงานวิจัย รางวัลวิทยานิพนธ์ และรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปีงบประมาณ 2568 จาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จำนวน 14 รางวัล แบ่งตามประเภทรางวัล ดังนี้
รางวัลผลงานวิจัย จำนวน 7 รางวัล ได้แก่
- ผลงานวิจัยเรื่อง “ซีโอไลต์จากวัสดุพลอยได้จากอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้าและเหมืองแร่เพื่อเป็นตัวเร่งปฏิกิริยามูลค่าสูงสำหรับปรับปรุงคุณภาพเชื้อเพลิงชีวภาพจากชีวมวลเหลือทิ้ง” ได้รับรางวัลระดับดีมาก สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย โดยคณะวิจัยประกอบด้วย ดร.ดวงเดือน อาจองค์ ดร.ศุภวรรณ วิชพันธุ์ ดร.คณิต สูงประสิทธิ์ ดร.ปัญจลักษณ์ สิรินวรานนท์ และ นางสาวพนิดา วิมุกติวรรณ กลุ่มวิจัยเซรามิกส์และวัสดุก่อสร้าง MTEC
- ผลงานวิจัยเรื่อง “กระบวนการยืนยันตัวตนทั้ง 4 ปัจจัยที่ใช้ได้จริง: การประยุกต์ใช้ในการลงเวลา” ได้รับรางวัลระดับดีมาก สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ โดยคณะวิจัยประกอบด้วย ดร.ชาลี วรกุลพิพัฒน์ นายเอกฉันท์ รัตนเลิศนุสรณ์ นางสาวศศกร พิเชฐจำเริญ และ นางสาวปารย์ ศิริมนพร กลุ่มวิจัยการสื่อสารและเครือข่าย NECTEC
- ผลงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาแบตเตอรี่ไอออนสังกะสีแบบอัดประจุซ้ำได้ ซึ่งมีสมรรถนะต่อต้นทุนสูงและวงรอบการใช้งานสูง” ได้รับรางวัลระดับดี สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ โดยคณะวิจัยประกอบด้วย ดร.ชาคริต ศรีประจวบวงษ์ ดร.ชัชวรินทร์ ปูชัย นายจารุวิทย์ โลหิตกาญจน์ นางสาวณัฐธิดา แม่บุญเรือน กลุ่มวิจัยนวัตกรรมพลังงาน เอ็นเทค ดร.อดิสร เตือนตรานนท์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. และ ดร.พรอนงค์ พงษ์ไพบูลย์ กลุ่มวิจัยการสื่อสารและเครือข่าย NECTEC
- ผลงานวิจัยเรื่อง “ฐานข้อมูลและหลักการสร้างวัสดุโลหะอินทรีย์ชนิดใหม่จากสารตั้งต้น CO2 เพื่อนำไปใช้ประโยชน์จาก CO2 ขั้นสูงสุด” ได้รับรางวัลระดับดี สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ โดยคณะวิจัยประกอบด้วย ดร.สุภาวดี นาเมืองรักษ์ และ นายภูบดินทร์ มะโน กลุ่มวิจัยการเร่งปฏิกิริยาระดับนาโนการดูดซับและการคำนวณ NANOTEC
- ผลงานวิจัยเรื่อง “การศึกษาโรคติดเชื้อไวรัสด้วยเทคโนโลยีเซลล์ต้นกำเนิดมนุษย์แบบเหนี่ยวนำ” ได้รับรางวัลระดับดี สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยคณะวิจัยประกอบด้วย ดร.ธนธม ไชยลังการณ์ ดร. สัตวแพทย์หญิง ฌัลลิกา แก้วบริสุทธ์ ดร.ธีระเดช ทวีรัตนศิลป์ และ ดร.ปภล ม่วงสนิท กลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ BIOTEC
- ผลงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนากระดาษพลาสโมนิคสำหรับการประยุกต์ใช้ในการตรวจ วิเคราะห์ทางการแพทย์และสิ่งแวดล้อมด้วยเทคนิค SERS (Surface Enhanced Raman Scattering)” ได้รับรางวัลระดับดี สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช โดย ดร.สุวัสสา บำรุงทรัพย์ กลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์ระดับนาโน นาโนเทค
- ผลงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนากระบวนการเร่งปฏิกิริยาแบบวิวิธพันธุ์เพื่อผลิตกรดอินทรีย์มูลค่าสูงจากเฮมิเซลลูโลสในชีวมวลเหลือทิ้งทางการเกษตร” ได้รับรางวัลระดับดี สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย โดยคณะวิจัยประกอบด้วย ดร.ขจรศักดิ์ เฟื่องนวกิจ ดร.อัญชลี จันทร์แก้ว ดร.บุญรัตน์ รุ่งทวีวรนิตย์ ดร.ศิรภัสสร เกียรติพึ่งพร ดร.พงษ์ธนวัฒน์ เข็มทอง และ นางสาวสุฑารัตน์ ทองรัดแก้ว กลุ่มวิจัยการเร่งปฏิกิริยาระดับนาโนการดูดซับและการคำนวณ นาโนเทค
นอกจากนี้ยังมีผลงานวิจัยที่ได้รับรางวัล ซึ่งมี นักวิจัย สวทช. ร่วมเป็นคณะวิจัยอีกด้วย ได้แก่
- ผลงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาต้นแบบแก๊สเซนเซอร์บนฐานของโครงสร้างนาโนโลหะออกไซด์แบบทวิภาคเชิงซ้อนเสริมฟังก์ชันด้วยตัวเร่งปฏิกิริยา ที่ถูกสังเคราะห์ด้วยเปลวไฟ สำหรับการตรวจวัดแก๊สจำเพาะ ในโรคของระบบทางเดินอาหาร” ได้รับรางวัลระดับดีมาก สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ ซึ่งคณะวิจัยนำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยกานต์ เลียวหิรัญ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยนักวิจัย สวทช. ที่ร่วมทีมวิจัย ได้แก่ ดร.อนุรัตน์ วิศิษฏ์สรอรรถ กลุ่มวิจัยวัสดุผสมและกระบวนการนาโน NANOTEC ดร.คทา จารุวงศ์รังสี กลุ่มวิจัยอุปกรณ์สเปกโทรสโกปีและเซนเซอร์ NECTEC และ ดร.อดิสร เตือนตรานนท์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช.
- ผลงานวิจัยเรื่อง “หยดและอ่าน: การตรวจหมู่เลือดบนฐานกระดาษและระบบอ่านผลอัจฉริยะ” ได้รับรางวัลระดับดีมาก สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งคณะวิจัยนำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ฌลณต เกษตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยนักวิจัย สวทช. ที่ร่วมทีมวิจัย ได้แก่ ดร.พิเชษฐ์ บุญหนุน และ ดร.อภิสิทธิ์ ตันตระวรศิลป์ กลุ่มวิจัยไอโอทีและระบบอัตโนมัติสำหรับงานอุตสาหกรรม NECTEC
- ผลงานวิจัยเรื่อง “อนุภาคนาโนพอลิเมอร์ห่อหุ้มอนุพันธ์ของเอซา-บอดิปี้ สำหรับการรักษามะเร็งแบบมุ่งเป้าโดยใช้ความร้อนจากการกระตุ้น ด้วยแสงพลังงานต่ำ” ได้รับรางวัลระดับดี สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช ซึ่งคณะวิจัยนำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.อัญญานี คําแก้ว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โดยนักวิจัย สวทช. ที่ร่วมทีมวิจัย ได้แก่ ดร.กันตพัฒน์ จันทร์แสนภักดิ์ กลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์ระดับนาโน NANOTEC
รางวัลวิทยานิพนธ์ จำนวน 4 รางวัล ได้แก่
- วิทยานิพนธ์เรื่อง “การพัฒนาอนุภาคนาโนไมเซลล์ฐานเดนไดรเมอร์สำหรับนำส่งยา เพื่อรักษาภาวะผนังหลอดเลือดชั้นในเกิดการหนาตัว” ได้รับรางวัลระดับดีเด่น สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช โดย ดร.นิศากร ยอดสนิท กลุ่มวิจัยการห่อหุ้มระดับนาโนและระบบนำส่งทางชีวภาพ NANOTEC
- วิทยานิพนธ์เรื่อง “พื้นผิวเมตาสำหรับการสร้าง การตรวจวัด และการถ่ายภาพโพลาไรเซชันในย่านแสงขาว” ได้รับรางวัลระดับดีมาก สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ โดย ดร.ยุทธนา อินทรวันณี กลุ่มวิจัยอุปกรณ์สเปกโทรสโกปีและเซนเซอร์ NECTEC
- วิทยานิพนธ์เรื่อง “ระบบเครื่องกลไฟฟ้าจุลภาคเพียโซอิเล็กทริกคานสองชั้นผลิตจากเลดเซอร์โคเนตไททาเนตสําหรับประยุกต์ใช้ในระบบพลังงานต่ำ และการพัฒนาไจโรสโคปจากการแทรกสอดของคลื่นเสียง” ได้รับรางวัลระดับดีมาก สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย โดย ดร.วิศรุต ปิ่นรอด กลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์ระดับนาโน NANOTEC
- วิทยานิพนธ์เรื่อง “การพัฒนาวัสดุนำไฟฟ้าจากโปรตีนไฟโบรอินของรังไหม เพื่อใช้รองรับการเจริญเติบโตของเซลล์และการกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้า สำหรับฟื้นฟูเส้นประสาทในระบบประสาทส่วนปลาย” ได้รับรางวัลระดับดี สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย โดย ดร.ชินวิชญ์ ภมรนาค กลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ BIOTEC
รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น จำนวน 3 รางวัล ได้แก่
- ผลงานเรื่อง “Tilapia Strep-Easy Kit ชุดตรวจอย่างง่ายเกษตรกรทำได้เอง สำหรับการเฝ้าระวังและจัดการควบคุมโรคสเตรปโตคอคโคซิสในอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงปลานิลและปลาทับทิม” ได้รับรางวัลระดับดีมาก สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา โดยคณะวิจัยประกอบด้วย ดร.อรวรรณ หิมานันโต นางสาวกีรณา อยู่หัตถ์ ดร.อรประไพ คชนันทน์ นายสมบัติ รักประทานพร นางสาวกัณวัฒน์ ด่านวิเศษกาญจน นางสาวมัลลิกา กำภูศิริ และ นางสาวสิริมา ศิริไพฑูรย์ กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีการตรวจวินิจฉัยและการค้นหาสารชีวภาพ BIOTEC
- ผลงานเรื่อง “สารหน่วงไฟผลิตจากขยะเปลือกหอยแมลงภู่” ได้รับรางวัลระดับดี สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ โดยคณะวิจัยประกอบด้วย ดร.ชุติพันธ์ เลิศวชิรไพบูลย์ และ นายเดชณรงค์ พิมาลัย กลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์ระดับนาโน NANOTEC
- ผลงานเรื่อง “วัสดุเส้นใยคาร์บอนนําไฟฟ้าประสิทธิภาพสูงจากกากอุตสาหกรรมและยางรถยนต์หมดสภาพ สำหรับอุตสาหกรรมกักเก็บพลังงาน” ได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณ สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย โดยคณะวิจัยประกอบด้วย ดร.อภิชัย จอมเผือก ดร.อุไรวรรณ ไหววิจิตร ดร.ธิติมา มธุรส แดเนียลส์ และ ดร.นพดล นันทวงศ์ กลุ่มวิจัยอุปกรณ์สเปกโทรสโกปีและเซนเซอร์ NECTEC
ยังมีผลงานประดิษฐ์คิดค้นที่ได้รับรางวัล ซึ่งมี นักวิจัย สวทช. ร่วมเป็นคณะวิจัย ได้แก่
- ผลงานเรื่อง “นวัตกรรมผลิตภัณฑ์เซรามิกสร้างสรรค์จากลักษณะเฉพาะของขยะเปลือกหอยแมลงภู่” ได้รับรางวัลระดับดีมาก สาขาปรัชญา ซึ่งคณะวิจัยนำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พิมพ์ทอง ทองนพคุณ มหาวิทยาลัยบูรพา โดยนักวิจัย สวทช. ที่ร่วมทีมวิจัย ได้แก่ ดร.ชุติพันธ์ เลิศวชิรไพบูลย์ กลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์ระดับนาโน NANOTEC
สำหรับผู้ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ รางวัลผลงานวิจัย รางวัลวิทยานิพนธ์ และรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปีงบประมาณ 2568 จะเข้ารับพระราชทานเกียรติบัตรรางวัลการวิจัยแห่งชาติ จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2568
นอกจากรางวัลข้างต้นแล้ว วช. ได้ให้ความสำคัญกับการสร้างแรงจูงใจในการสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ จึงมีการมอบประกาศนียบัตร “รางวัลผลงานคุณภาพ NRCT Quality Achievement Award” เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่นักวิจัยและนักประดิษฐ์ โดยมีคณะวิจัย สวทช. ได้รับรางวัล ดังนี้
ประเภทผลงานวิจัย
- ผลงานวิจัยเรื่อง “PharmVIP: ซอฟต์แวร์สำหรับการวิเคราะห์และแปลผลข้อมูลพันธุกรรมในยีนที่เกี่ยวข้องกับการตอบสนองต่อยา” โดย ดร.จิตติมา พิริยะพงศา BIOTEC และคณะ
- ผลงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาเครื่องหมายพันธุกรรมสำหรับคัดเลือกกุ้งขาวแววนาไม Litopenaeus vannamei ที่ทนต่อความเครียดและเติบโตได้ดี” โดย ดร.บวรลักษณ์ คำน้ำทอง BIOTEC และคณะ
- ผลงานวิจัยเรื่อง “การเสริมสร้างสุขภาพกุ้งเพื่อต้านโรคไวรัส ด้วยเทคโนโลยีชีวภาพสาหร่ายเซลล์เดียวแบบเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” โดย ดร.วรรณวิมล ศักดิ์เสมอพรหม BIOTEC และคณะ
- ผลงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาระบบการผลิตจากราเส้นใย สำหรับประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมชีวภาพ” โดย ดร.กอบกุล เหล่าเท้ง BIOTEC และคณะ
- ผลงานวิจัยเรื่อง “ระบบนำส่งยาแบบมุ่งเป้าที่สภาวะแวดล้อมมะเร็ง เพื่อการยับยั้งความรุนแรงของโรคมะเร็งลำไส้” โดย ดร.ปวีณา ดานะ NANOTEC และคณะ
- ผลงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาเหล็กแบบหลายอะตอมชนิดใหม่บนตัวรองรับโครงข่ายโลหะ-อินทรีย์ สำหรับการเปลี่ยนมีเทนเป็นเมทานอลโดยตรงที่อุณหภูมิต่ำ” โดย ดร.บุญรัตน์ รุ่งทวีวรนิตย์ NANOTEC และคณะ
- ผลงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาเซ็นเซอร์ตรวจวัดการปนเปื้อนไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ในอุตสาหกรรมนม” โดย ดร.กุลวดี การอรชัย และ นางสาวอรุณศรี งามอรุณโชติ NANOTEC
- ผลงานวิจัยเรื่อง “การใช้เปลือกไข่เป็นวัตถุดิบสำหรับการสังเคราะห์วัสดุบำบัดมลพิษ” โดย ศาสตราจารย์ ดร.ศิวพร มีจู สมิธ NANOTEC และคณะ
- ผลงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนานาโนเซ็นเซอร์ตรวจวัดการปนเปื้อนฟลูออไรด์ โลหะหนัก และสารเคมีตกค้างในน้ำเพื่อประเมินความปลอดภัยเคมีในน้ำอุปโภคบริโภค” โดย ดร.วีรกัญญา มณีประกรณ์ NANOTEC และคณะ
และผลงานวิจัยที่ได้รับรางวัลฯ โดยมีนักวิจัย สวทช. ร่วมทีมวิจัย ได้แก่
- ผลงานวิจัยเรื่อง “สารเรืองแสงที่มีความสว่างสูงสำหรับการประยุกต์ใช้เชิงชีวการแพทย์” โดยมี ดร.กันตพัฒน์ จันทร์แสนภักดิ์ NANOTEC ร่วมเป็นทีมวิจัย
- ผลงานวิจัยเรื่อง “การเพิ่มความสามารถในการเข้าถึงชีวภาพและความพร้อมในการดูดซึมของโปรตีนโคลอสตรัมโดยการออกแบบระบบการจัดส่งอนุภาคนาโนเชิงวิศวกรรม” โดยมี ดร.อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย NANOTEC ร่วมเป็นทีมวิจัย
- ผลงานวิจัยเรื่อง “การออกแบบและพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาฐานอะลูมิเนียมขนาดนาโนเมตรเพื่อการผลิตเคมีชีวภาพขั้นสูงจากน้ำตาล” โดยมี ดร.พงษ์ธนวัฒน์ เข็มทอง และ นายศรัณย์ ยวงจันทร์ NANOTEC ร่วมเป็นทีมวิจัย
ประเภทวิทยานิพนธ์
- วิทยานิพนธ์เรื่อง “Screening, Purification and Characterization of Superoxide Dismutase from Saccharomyces sp. Isolates and Its Application in Cosmetic Industry” โดย ดร.พิษณุ ปิ่นมณี BIOTEC
- วิทยานิพนธ์เรื่อง “Insight Into the Molecular Mechanisms of Organic Acid Pathways in Aspergillus niger” โดย ดร.ธนพร เล้าฐานะเจริญ BIOTEC
- วิทยานิพนธ์เรื่อง “The Versatility of Stereo complex PLLA/PDLA for the Thermal and Mechanical Property Improvement of PLA/Rubber Blends” โดย ดร.ศุภณัฐ ภัทรธีรา MTEC
- วิทยานิพนธ์เรื่อง “การขึ้นรูปขั้วไฟฟ้าแบบเส้นใยด้วยวิธีการปั่นเปียกและจุ่มเคลือบสำหรับแบตเตอรี่สังกะสีไอออนชนิดเคเบิล/เส้น” โดย ดร.นครินทร์ ทรัพย์เจริญดี NANOTEC
- วิทยานิพนธ์เรื่อง “การใช้สารกระตุ้นภูมิคุ้มกันเรซิควิมอดในการรักษามะเร็งชนิดเมลาโนมา” โดย ดร.สุปรีดา แต้มบุญเลิศชัย NANOTEC
- วิทยานิพนธ์เรื่อง “การศึกษาเชิงลึกของฟังก์ชันต่าง ๆ บนตัวเร่งปฏิกิริยาฐานไทเทเนียมไดออกไซด์ (Insight Into the Multifunctionality of TiO2-based Catalyst)” โดย ดร.จิตติมา มีประเสริฐ NANOTEC
- วิทยานิพนธ์เรื่อง “การผลิตไมโครนีดเดิลชนิดไฮโดรเจลแบบไม่ใช้แม่พิมพ์เพื่อนำส่งยาผ่านผิวหนัง โดยใช้วิธีการเติมยาก่อนใช้” โดย ดร.หฤษฎ์ พิทักษ์จักรพิภพ NANOTEC
- วิทยานิพนธ์เรื่อง “การเพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดสารซีลีเนตโดยใช้วัสดุเหล็กนาโนประจุศูนย์ยึดติดบนซีโอไลต์” โดย นายจักรภพ พันธศรี NANOTEC
ประเภทผลงานประดิษฐ์คิดค้น
- ผลงานเรื่อง “อยู่ไหน แพลตฟอร์มระบบระบุตำแหน่งภายในอาคารสำหรับโรงงานและคลังสินค้าอัจฉริยะ” โดย ดร.กมล เขมะรังษี NECTEC และคณะ
- ผลงานเรื่อง “ฟิล์มใสย่อยสลายได้ที่มีสมบัติต้านทานการเกิดฝ้าระดับดีเยี่ยม สำหรับการใช้งานเพื่อปิดหน้าถาดเป็นบรรจุภัณฑ์อาหารที่ยั่งยืน” โดย ดร.นพดล เกิดดอนแฝก MTEC และคณะ
- ผลงานเรื่อง “ระบบติดตามและประเมินความเสี่ยงการกัดกร่อนภายใต้ฉนวนโดยเซ็นเซอร์กระแสชนิดกัลวานิก” โดย นายโฆษิต วงค์ปิ่นแก้ว MTEC และคณะ
- ผลงานเรื่อง “การพัฒนาฟิล์มเคลือบชนิดอนุภาคระดับนาโนคอปเปอร์ (l) ออกไซด์-ซีโอไลท์ (copper (l) oxide-zeolite สำหรับยับยั้งเชื้อโควิด-19 และแบคทีเรีย” โดย ดร.พิศิษฐ์ คำหน่อแก้ว NANOTEC และคณะ
- ผลงานเรื่อง “รู้กัญ: นวัตกรรมเซนเซอร์กราฟีนสำหรับตรวจวัดสารสกัด THC และ CBD จากกัญชาแบบพร้อมกัน” โดย ดร.จันทร์เพ็ญ ครุวรรณ์ NANOTEC และคณะ
- ผลงานเรื่อง “การเปลี่ยนขยะขวดน้ำดื่มพลาสติกสู่วัสดุโครงข่ายโลหะอินทรีย์ที่มีมูลค่าสูง” โดย ดร.ชลิตา รัตนเทวะเนตร NANOTEC และคณะ