ความร่วมมือของ ศวท. และ องค์การ UNESCO ประเทศไทย ในการจัดทำระบบ e-library system ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในโครงการ Knowledge Portal on National Education Systems and Policies in the Asia-Pacific Region (NESPAP) ของ UNESCO ซึ่ง ศวท. และ UNESCO ได้ประชุมหารือเพื่อวางแผน และกำหนดแนวทางในการทำงานร่วมกันเบื้องต้น ดังนี้
-
ศวท. เตรียมบุคลากรที่เป็น Project Manager 1 คน ในการประสานงานและประชุมวางแผนโครงการ และ พนักงานหรือนักศึกษาฝึกงาน 1 คน ที่สามารถเข้าไปปฏิบัติงานที่สำนักงาน UNESCO กรุงเทพฯ ซึ่งจะปฏิบัติงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ของ UNESCO
-
ศวท. และ UNESCO ดำเนินการร่วมกันในการสรรหาคัดเลือกระบบโปรแกรมกลุ่ม e-library system เพื่อทดสอบติดตั้งใช้งาน วิเคราะห์ผล และตัดสินใจเลือกใช้ ระบบโปรแกรม e-library system ที่เหมาะสม และเข้ากับระบบเว็บไซต์ (Portal) ปัจจุบันที่ UNESCO ใช้อยู่ โดยใช้ทรัพยากรเครื่องแม่ข่าย และบุคลากรฝ่ายไอที ของทาง UNESCO เพื่อสนับสนุนการดำเนินการ
-
เมื่อเลือกระบบที่เหมาะสม ติดตั้ง ทดสอบจนพร้อมใช้งาน เสร็จเรียบร้อยแล้ว ศวท. อาจให้ความช่วยเหลือในด้านการฝึกอบรม การใช้งานระบบ เช่น การนำเข้าข้อมูล การใส่ tag/keyword การจัดหมวดหมู่ของข้อมูล และระบบงานห้องสมุด เป็นต้น
-
รายละเอียดความร่วมมือ จะถูกกำหนดไว้ใน MOU
การพัฒนา eLibrary ร่วมกับ UNESCO Bangkok
ในโครงการ Knowledge Portal on National Education System and Policies in the Asia-Pacific Region (NESPAP)
ที่มาการพัฒนาระบบจัดเก็บเอกสารดิจิทัล (Online e-Library System)
ภายใต้กรอบการดำเนินงานของยูเนสโกซึ่งเกี่ยวพันธ์โดยตรงกับการพัฒนาเว็บไซต์สู่ความรู้เชิงนโยบายและระบบการศึกษาระดับชาติในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ดังนั้น ยูเนสโก กรุงเทพฯ จึงได้พัฒนาระบบจัดเก็บเอกสารดิจิทัลนี้ขึ้นมา
องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization) หรือ ยูเนสโก (UNESCO) เป็นองค์กรที่มุ่งเน้นการส่งเสริมสันติภาพ ด้วยการส่งเสริมความร่วมมือของนานาชาติ ด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมเพื่อให้ทั่วโลกเคารพในความยุติธรรม กฎหมาย สิทธิ และเสรีภาพ ที่มนุษย์พึงมี โดยไม่ถือเชื้อชาติ เพศ ภาษา หรือศาสนา ตามกฎบัตรสหประชาชาติ ยูเนสโกมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ปัจจุบัน (กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔) ยูเนสโกมีประเทศสมาชิกทั้งหมด ๑๙๓ ประเทศ ประเทศไทยเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๒ เป็นลำดับที่ ๔๙ เพื่อให้มีการดำเนินการภายใต้การส่งเสริมความร่วมมือด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม องค์การยูเนสโก สำนักงานกรุงเทพฯ จึงได้พัฒนาระบบต่างๆ เพื่อให้เกิดความร่วมมือของนานาชาติขึ้น โครงการ Knowledge Portal on National Education System and Policies in the Asia-Pacific Region (NESPAP) เป็นโครงการหนึ่งที่องค์การยูเนสโกพยายามผลักดันเพื่อให้เกิดความร่วมมือดังกล่าว ซึ่งเป็นโครงการที่มีระบบย่อยที่เรียกว่า ระบบจัดเก็บเอกสารดิจิทัล หรือ Online e-Library System เพื่อให้เป็นคลังเก็บเอกสารภายใต้หัวเรื่องเกี่ยวกับการศึกษาของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค และเพื่อเผยแพร่เอกสารองค์ความรู้ดังกล่าว โดยมีระบบการจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ ที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงแหล่งสารสนเทศนี้ได้ และสามารถดาวน์โหลดเอกสารต่างๆ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้ตามต้องการ นอกจากยังมีระบบการสืบค้นผู้เชี่ยวชาญเพื่อการต่อยอดของการศึกษาวิจัยต่อไป โดยมีแผนการในการพัฒนาระบบดังกล่าวให้เป็น platform สำหรับสมาชิก ผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้ใช้สารสนเทศทางการศึกษาเกิดเป็นเครือข่ายสารสนเทศทางการศึกษาในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคต่อไป
วัตถุประสงค์
ออกแบบและสร้าง NESPAP แพลทฟอร์ม โดยใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สเป็นฐานตั้งต้น
ความสามารถหลัก
-
จัดเก็บและสร้างเนื้อหาดิจิทัล
-
จัดทำดัชนีและเก็บข้อมูลเมทาดาทา
-
จัดเก็บ
-
สืบค้น และสร้างคำค้น
-
ประเมินและคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
-
ค้นคืนและเผยแพร่
บุคลากร
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (STKS) เป็นผู้รับพัฒนาระบบจัดเก็บเอกสารดิจิทัล หรือ Online e-Library System โดยมีระยะเวลาดำเนินการ ๖ เดือน (ระหว่างเดือนมีนาคม ๒๕๕๔ – สิงหาคม ๒๕๕๔) ประกอบด้วยบุคลากรของ STKSจำนวน ๔ ท่าน ได้แก่
1. นางสาวสุภาพร ชัยธัมมะปกรณ์ ผู้อำนวยการฝ่ายฯ
2. นายบุญเลิศ อรุณพิบูลย์ หัวหน้างาน งานพัฒนาและบริการสื่อสาระดิจิทัล
3. นายขันธ์ศิริ อาทร เจ้าหน้าที่สารสนเทศ
4. นางสาววาทินี แซ่ลิ้ม เจ้าหน้าที่สารสนเทศ
แผนการดำเนินงาน
ทั้งนี้ ภายใต้การดำเนินการพัฒนาระบบดังกล่าว มีทำงานผ่าน
1. การประชุมการทำงานร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่ของฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเจ้าหน้าที่ขององค์การยูเนสโก สำนักงานกรุงเทพฯ รวมทั้งสิ้น ๖ ครั้ง
2. การทำงานควบคู่กับเจ้าหน้าที่ขององค์การยูเนสโก ในลักษณะการอบรมแบบ on-site training เพื่อเป็นการฝึกทักษะการใช้ระบบ
3. การอภิปราย แลกเปลี่ยนความคิด การสอบถามเพื่อความชัดเจนในการทำงานระหว่างทั้งสองฝ่ายทางอีเมลและทางวิกิ (http://164.115.5.61/unesco/doku.php?id=comments) และมีบันทึกการทำงานที่ http://164.115.5.61/unesco/doku.php?id=documents:meeting:start
ในการพัฒนาระบบ Online e-Library System นั้น ฝ่ายฯ มีการดำเนินการดังนี้
1. พิจารณาซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมสำหรับระบบดังกล่าว ซึ่งเป็นโอเพนซอร์สซอฟต์แวร์ที่ชื่อว่า Drupal ซี่งเป็นซอฟต์แวร์ที่บุคลากรของฝ่ายฯ มีความคุ้นเคยและมีทักษะเป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้งานในฝ่ายฯ และมีประสบการณ์ในการพัฒนาต่อ
ยอดเพื่อการใช้งานเพิ่มเติมได้เป็นอย่างดี
2. ร่วมพิจารณาเพื่อหาข้อสรุปการประยุกต์ใช้ Taxonomy ในการจัดหมวดหมู่ของเอกสาร และประเภทของเอกสาร (Publication type) เพื่อจัดกลุ่มตามความเหมาะสมของเอกสารขององค์การยูเนสโก
3. ติดตั้งโปรแกรม Drupal พร้อมวาง Work flow ของเอกสารที่จะนำเข้า โดยการติดตั้งในระยะแรกเพื่อการทดสอบนั้น ติดตั้งที่เครื่องแม่ข่ายของฝ่ายฯ เพื่อให้บุคลากรของฝ่ายฯ ดูแล ทดสอบ และบริหารจัดการระบบอย่างใกล้ชิด
4. ทดสอบการนำเข้าเอกสารและการลงรายการทางบรรณานุกรมของเอกสารเข้าระบบ พร้อมอัพโหลดแฟ้มข้อมูล
5. ทดสอบระบบพร้อมปรับแก้ไข เพื่อให้สอดคล้องและเหมาะสมกับการทำงาน
6. ถ่ายโอนระบบทั้งหมดเข้าเครื่องแม่ข่ายขององค์การยูเนสโก สำนักงานกรุงเทพฯ
7. ฝึกปฏิบัติในลักษณะที่เป็น on-site training
8. ปรับปรุงระบบให้มีความเป็น user-freindly มากขึ้น
===== ประโยชน์ที่ได้รับ =====
1. การให้บริการทางวิชาการแก่หน่วยงานภายนอก (Technical services) โดยมีรายได้จากการรับพัฒนาระบบดังกล่าว เป็นจำนวน ๑๕๐,๐๐๐ บาท
2. การพัฒนาบุคลากร: การพัฒนาทางด้านเทคนิค บุคลากรของฝ่ายฯ มีการศึกษา ฝึกฝนในการเขียนโปรแกรมเพิ่มเติมตามที่องค์การยูเนสโกต้องการ ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือจากฟังก์ชั่นการทำงานที่ใช้ในฝ่ายฯ การพัฒนาในการทำงานร่วมกับบุคลากรจากองค์กรระหว่างประเทศ ซึ่งต้องใช้ภาษาอังกฤษในการติดต่อสื่อสาร การมีวัฒนธรรมในการทำงานต่างกัน ซึ่งมีกรอบในการทำงานที่ชัดเจน การใช้ศักยภาพในการทำงานของบุคลากรได้มากขึ้น เช่น การปรับตัวในการทำงาน การใช้ทักษะในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ การเป็นหัวหน้าทีม/โครงการ
3. การได้รับความยอมรับ ความเชื่อถือจากหน่วยงานภายนอก ทั้งนี้ องค์การยูเนสโก สำนักงานกรุงเทพฯ ให้ความไว้วางใจฝ่ายฯ ในการขอให้พัฒนาระบบ Expert profile ต่อ และจะได้มีการบันทึกชื่อของฝ่ายฯ ในฐานะผู้พัฒนาระบบบนเว็บไซต์ของระบบ (http://www4.unescobkk.org/nespap/) ดังกล่าวด้วย
จากการพัฒนาระบบ Online e-Library System ดังกล่าวนี้ องค์การยูเนสโก สำนักงานกรุงเทพฯ ได้มีแผนการพัฒนาระบบ Expert profile เพิ่มเติม โดยได้มีการขอคำปรึกษาจากฝ่ายฯ ในเบื้องต้นถึงความเป็นไปได้ในการรับพัฒนาระบบฯ ดังกล่าวต่อไป ทั้งนี้ ในเบื้องต้น ฝ่ายฯ เห็นว่า อยู่ในขอบเขตที่สามารถทำได้แต่ยังมิได้คุยกันในส่วนรายละเอียดที่เป็นความต้องการขององค์การยูเนสโก สำนักกรุงเทพฯ ซึ่งต้องมีการตกลงในหลักการหรือความต้องการอย่างชัดเจนต่อไป