การประชุมวิชาการประจำปี 2552 ศวท. เรื่อง เครือข่ายความร่วมมือบรรณารักษศาสตร์/สารสนเทศศาสตร์ด้วยไอซีที

การประชุมวิชาการประจำปี 2552 ศวท. เรื่อง เครือข่ายความร่วมมือบรรณารักษศาสตร์/สารสนเทศศาสตร์ด้วยไอซีที
ระหว่างวันที่ 17-18 กันยายน ๒๕๕๒
ณ ห้อง ฟอร์จูนแพลทินัม โรงแรม แกรนด์ เมอร์เคียว ฟอร์จูน

===== หลักการและเหตุผล =====

ศูนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ศวท.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) หน่วยงานที่ทำหน้าที่บริหารจัดการและให้บริการทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด ตลอดทั้งการศึกษาวิจัย ผลิตและเผยแพร่สาระความรู้สาขาบรรณารักษศาสตร์ สารสนเทศศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้วยสื่อเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยในช่วงปีที่ผ่านมา ศวท. ได้ศึกษาวิจัยเทคโนโลยีสมัยใหม่สำหรับห้องสมุดหลายประการ เช่น การประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส/ฟรีแวร์ และเทคโนโลยีเว็บ ๒.๐ ในการบริหารจัดการความรู้ คลังความรู้ การเรียนการสอน การบริการ/บริหารห้องสมุด/ศูนย์ข้อมูล และการบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศต่างๆ

เพื่อให้ผลงานที่ ศวท. ศึกษาเผยแพร่ได้อย่างเป็นรูปธรรม ส่งผลต่อการพัฒนาห้องสมุด ศูนย์ข้อมูล ภาควิชาที่เกี่ยวข้องกับสาขาบรรณารักษศาสตร์ สารสนเทศศาสตร์ อันจะเป็นการขยายผลงานการศึกษาวิจัยไปสู่ภาคปฏิบัตินั้น ศวท. จึงได้จัดกิจกรรมสัมมนาประชุมวิชาการประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ขึ้นภายใต้แนวคิด “เครือข่ายความร่วมมือบรรณารักษศาสตร์/สารสนเทศศาสตร์ด้วยไอซีที”

==== วัตถุประสงค์ ====

  1. เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีโอเพนซอร์ส/ฟรีแวร์ และเว็บ ๒.๐ ในภาคปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
  2. สร้างทัศนคติที่ดีในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีโอเพนซอร์ส/ฟรีแวร์ และเว็บ ๒.๐ ในภาคปฏิบัติ
  3. ร่วมแลกเปลี่้ยนเรียนรู้ระหว่างหน่วยงานเครือข่าย

==== กลุ่มเป้าหมาย ====

ครู อาจารย์จากภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ สารสนเทศศาสตร์ และสาขาอื่นๆ ทั้งระดับอุดมศึกษา มัธยมศึกษา ประถมศึกษา ตลอดทั้งบุคลากรเจ้าหน้าที่สำนักหอสมุด ห้องสมุดต่างๆ และหน่วยงานที่สนใจทั่วไป จำนวน ๑๕๐ คน

==== รูปแบบกิจกรรม ====

การสัมมนา บรรยาย การสาธิตการใช้งาน

– Reference manager with Zotero + OpenOffice
– New Thai Thesis
– Siamrarebooks
– Bibliometrics (Vantage Point)

รวมทั้งนิทรรศการจากหน่วยงานสถาบันการศึกษา ภาครัฐ และภาคธุรกิจ

==== กำหนดการและสถานที่ ====

วันพฤหัสบดีที่ ๑๗ กันยายน – วัีนศุกร์ที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๕๒ ณ ห้อง ฟอร์จูนแพลทินัม โรงแรมแกรนด์ เมอร์เคียว ฟอร์จูน

โรงแรมแกรนด์ เมอร์เคียว ฟอร์จูน
เลขที่ 1 ถนนรัชดาภิเษก อาคารฟอร์จูนทาวเวอร์ ดินแดง กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทรศัพท์ ๐-๒๖๔๑-๑๕๐๐
โทรสาร ๐-๒๖๔๑-๑๕๓๐

====ค่าลงทะเบียน====

  • ค่าลงทะเบียน คนละ ๑,๒๐๐ บาท (ลงทะเบียนภายในวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๒)
  • ค่าลงทะเบียน คนละ ๑,๕๐๐ บาท

สิทธิพิเศษ
สำหรับหน่วยงานที่ได้ให้ความอนุเคราะห์และร่วมมมือกับ ศวท.

  • หน่วยงานเครือข่ายที่มีการลงนามความร่วมมือ คือ ศูนย์สารสนเทศมนุษยศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสาขาสารสนเทศศึกษา
  • คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • จากหน่วยงานที่ได้ให้ความอนุเคราะห์หนังสือประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจ ได้แก่ วิทยาลัยนักบริหารสาธารณสุข ห้องสมุดกรมการแพทย์ (คุณสุวรรณ สัมฤทธิ์)
  • บริษัท ปตท. ไอซีที
  • หน่วยงานเครือข่ายอื่นๆ ที่อนุเคราะห์คำศัพท์

ค่าลงทะเบียน คนแรก ๑,๕๐๐ .- บาท
ค่าลงทะเบียน คนที่สอง ๑,๒๐๐.- บาท
ค่าลงทะเบียน คนที่สาม ฟรี

==== ผลที่คาดว่าจะได้รับ ====

  1. ศวท.มีส่วนร่วมในการเผยแพร่ความสามารถของโอเพนซอร์สและการนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
  2. ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้รับความรู้เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีโอเพนซอร์ส/ฟรีแวร์ และเว็บ ๒.๐
  3. ผู้เข้าร่วมสัมมนาเกิดทัศนคติที่ดีในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีโอเพนซอร์ส/ฟรีแวร์ และเว็บ ๒.๐
  4. หน่วยงานเครือข่ายมีโอกาสแลกเปลี่้ยนเรียนรู้อันจะนำไปสู่การพัฒนาการใช้งานอย่างต่อเนื่อง

==== กำหนดการโครงการประชุมวิชาการประจำปี ๒๕๕๒ ศวท. เรื่อง เครือข่ายความร่วมมือบรรณารักษศาสตร์/สารสนเทศศาสตร์ด้วยไอซีที ระหว่างวันที่ ๑๗-๑๘ กันยายน ๒๕๕๒ ณ ห้อง ฟอร์จูนแพลทินัม โรงแรมแกรนด์ เมอร์เคียว ฟอร์จูน =====

=== วันพฤหัสบดีที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๒ (ภาคเช้า) ===
๐๘.๐๐ – ๐๙.๐๐ ลงทะเบียน
๐๙.๐๐ – ๐๙.๒๐ เปิดการประชุมประจำีปี ๒๕๕๒ ศวท.

  • โดย รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

๐๙.๒๐ -๐๙.๕๐ บรรยายพิเศษ เรื่อง จะเรียนจะสอนอย่างไรให้เป็นบรรณารักษ์ ๒.๐

  • โดย ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล รองผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

๐๙.๕๐ – ๑๐.๐๐ รับประทานอาหารว่าง
๑๐.๐๐ – ๑๒.๐๐ เสวนาเรื่อง โอเพนซอร์สและฟรีแวร์ ใช้ได้ดี ใช้ได้จริงกับองค์กร
ร่วมเสวนาโดย

  • ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล รองผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
  • ดร. สันติพัฒน์ อรุณธารี บริษัท พีทีที ไอซีที โซลูชั่นส์ จำกัด
  • นางรุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • นางสาวยุพิน จันทร์เจริญสินศูนย์สารนิเทศมนุษยศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • รศ. อังสนา ธงไชย ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิททยาลัยเชียงใหม่
  • นายยุทธนา เจริญรื่น สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ดำเนินรายการโดย

  • นางสาวประดิษฐา ศิริพันธ์ ศูนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ พักรับประทานอาหารกลางวัน

=== วันพฤหัสบดีที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๒ (ภาคบ่าย) ===
๑๓.๐๐ – ๑๓.๔๕ บทบาทของห้องสมุดกับการประเมินคุณภาพผลงานวิจัยขององค์กร

  • โดย นางรุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

๑๓.๔๕ – ๑๔.๓๐ วิเคราะห์เทคโนโลยีโลกด้วยแผนที่สิทธิบัตร (Patent Mapping)

  • โดย นางรังสิมา เพ็ชรเม็ดใหญ่ ศูนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

๑๔.๓๐ – ๑๕.๐๐ พักรับประทานอาหารว่าง
๑๕.๐๐ – ๑๖.๓๐ เสวนาเรื่อง แนวทางการจัดการเรียนการสอนบรรณารักษ์ยุคใหม่
ร่วมเสวนาโดย

  • รศ. อังสนา ธงไชย ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • อาจารย์สมฤทัย ขจรรุ่งเรือง ภาควิชาสารสนเทศศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ผศ.ดร. พิมพ์รำไพ เปรมสมิทธิ์ ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ผศ.ดิชิตชัย เมตตาริกานนท์ สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ดำเนินรายการโดย

  • นางสาว สุภาพร ชัยธัมมะปกรณ์ ศูนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

๑๖.๓๐-๑๗.๐๐ เทคโนโลยีที่จำเป็นต่อการเรียนการสอนและการบริการสารสนเทศในยุคดิจิทัล

  • โดย นายบุญเลิศ อรุณพิบูลย์ ศูนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

๑๗.๐๐ ปิดการสัมมนา/Luck draw

=== วันศุกร์ที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๕๒ ===

๐๘.๐๐ – ๐๙.๐๐ ลงทะเบียน
๐๙.๐๐ – ๐๙.๓๐ โครงการห้องสมุดดิจิทัลแห่งชาติ

  • โดย นายไกลก้อง ไวทยาการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

๐๙.๓๐ – ๑๐.๐๐ ห้องสมุดกับการแปลภาษาออนไลน์ บริการเสริมมูลค่าของห้องสมุด

  • โดย ดร.เทพชัย ทรัพย์นิธิ ห้องปฏิบัติการวิทยาการมนุษยภาษา ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

๑๐.๐๐ – ๑๐.๓๐ เอกสารดิจิทัลกับการเผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ Creative Commons

  • โดย นายชิตพงษ์ กิตตินราดร โครงการ Creative Commons ประเทศไทย

๑๐.๓๐ – ๑๒.๐๐ กฎหมายลิขสิทธิ์ ประเด็นทางดิจิทัลที่บรรณารักษ์ ควรทราบ

  • โดย อาจารย์เขมะศิริ นิชชากร ส่วนส่งเสริมงานลิขสิทธิ์ สำนักลิขสิทธิ์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา

๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ พักรับประทานอาหารกลางวัน
๑๓.๐๐ – ๑๔.๐๐ ห้องสมุดอัตโนมัติฟรีได้ไม่ยาก จากงานวิจัยสู่บริกา

  • โดย นายประสิทธิชัย เลิศรัตนเคหกาล หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่
  • โดย นายยุทธนา เจริญรื่น สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

๑๔.๐๐ – ๑๔.๓๐ Wake up with 2D Barcode

  • โดย นายศิโรตม์ ตุลสุข บริษัท media factory จำกัด (เจ้าของ QR Code Magazine ฉบับแรกของไทย)

๑๔.๓๐ – ๑๕.๐๐ พักรับประทานอาหารว่าง
๑๕.๐๐ – ๑๕.๓๐ ต่อยอด OSS กรณีศึกษาจากหน่วยงานต่างๆ

  • โดย นายสัมพันธ์ ระรื่นรมย์ บริษัท โอเพนซอร์สดิเวลอปเมนต์ จำกัด

๑๕.๓๐ – ๑๖.๐๐ STKS Open Flash e-Book

  • โดย นายบุญเกียรติ เจตจำนงนุช ศูนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

๑๖.๐๐ – ๑๖.๓๐ ปิดการสัมมนา/Luck draw