ดร.สมวงษ์ ตระกูลรุ่ง ผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สวทช. ได้รับรางวัลนิสิตเก่าดีเด่น ประจำปี 2562 ประเภทนักวิชาการ จากสมาคมนิสิตเก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (วิทยาเขตกำแพงแสน) ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยได้จัดพิธีประกาศเกียรติคุณและมอบโล่เชิดชูเกียรตินิสิตเก่าดีเด่น เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2562 เนื่องในโอกาสวันครบรอบ 40 ปี ของวิทยาเขตกำแพงแสน
ดร.สมวงษ์ ตระกูลรุ่ง เป็นผู้ที่มีความรู้และความสามารถในด้านเทคโนโลยีจีโนมิกส์เป็นอย่างยิ่ง โดยมีผลงานที่สำคัญ ได้แก่
- การร่วมจัดตั้งและดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการห้องปฏิบัติการ DNA Technology (DNATEC) ซึ่งได้รับการอนุมัติให้มีการจัดตั้งขึ้นจากคณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (กวทช.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยใช้เงินทุนประเดิมของ สวทช. ในปีงบประมาณ 2543 – 2552 เพื่อเตรียมความพร้อมทางด้านเทคนิคและบุคลากรในการนำเทคโนโลยีดีเอ็นเอไปใช้ในการให้บริการกับภาครัฐ ภาคเอกชนและต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ การพัฒนาเทคโนโลยีการตรวจสอบความบริสุทธิ์ข้าวอย่างมีประสิทธิภาพ เทคโนโลยีการสกัดดีเอ็นเอในราคาถูกและรวดเร็ว โดยในปัจจุบันห้องปฏิบัติการ DNA Technology (DNATEC) เป็นหน่วยงานที่สามารถตรวจวิเคราะห์ความบริสุทธิ์ของข้าวหอมมะลิไทย (ขาวดอกมะลิ 105 และ กข15) เพื่อการส่งออก มีเทคโนโลยีในการตรวจสอบผลิตภัณฑ์อาหารดัดแปรพันธุกรรม (GMO)
- การได้รับมอบหมายให้เป็นผู้แทนประเทศไทยในการร่างมาตรฐาน International Organization for Standardization (ISO) สำหรับการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ดัดแปรพันธุกรรมร่วมกับประเทศในกลุ่มสมาชิกของ ISO ทำให้ประเทศไทยได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ นอกจากนี้ได้นำเทคโนโลยีดีเอ็นเอที่พัฒนาขึ้นไปประยุกต์ใช้ในการตรวจสอบความปนเปื้อนของข้าวพันธุ์อื่นในข้าวหอมมะลิไทยเพื่อการส่งออก การทำเอกลักษณ์ทางพันธุกรรมของพืชและสัตว์ การตรวจสอบอาหารนำเข้าเพื่อป้องกันผลิตภัณฑ์วัวบ้าเข้าประเทศ การตรวจสอบผลิตภัณฑ์อาหาร GMO เพื่อการส่งออก การตรวจสอบปลากระป๋องเพื่อการส่งออกเพื่อช่วยเหลือภาคเอกชนที่ได้รับผลจากการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศในรูปแบบใหม่โดยใช้เทคโนโลยี (Technological trade barrier) แทนการใช้กำแพงภาษี เป็นต้น
- การค้นพบยีนที่ควบคุมความหอมในข้าว โดย ดร.สมวงษ์ ฯ ร่วมกับคณะผู้วิจัยจากไบโอเทค สวทช. และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทดสอบความหอมของข้าวในพื้นที่ต่าง ๆ และเริ่มทำการสร้าง genetic mapping ยีนความหอม จนกระทั่งสามารถ clone ยีนความหอมได้ และสามารถพิสูจน์หน้าที่ของยีนดังกล่าวโดยการถ่ายยีนความหอมเข้าไปในต้นข้าวที่ไม่หอม ทำให้ข้าวที่ไม่หอมแสดงลักษณะความหอมได้เหมือนข้าวหอม นอกจากนี้ได้ยื่นจดสิทธิบัตรยีนที่ควบคุมความหอมของข้าวในต่างประเทศจำนวน 10 ประเทศ ซึ่งการค้นพบดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย เนื่องจากเป็นการปกป้องการนำยีนความหอมในข้าวไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ เป็นการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการควบคุมการผลิตสารหอมในข้าวและได้องค์ความรู้ในการปรับปรุงพันธุ์ข้าว โดยยีนความหอมที่ได้จากงานวิจัยครั้งนี้ได้ถูกพัฒนาเป็นเครื่องหมายดีเอ็นเอที่ใช้แยกข้าวหอมออกจากข้าวไม่หอมเพื่อใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมที่มีคุณสมบัติต้านทานต่อโรคและแมลงหรือสามารถเจริญเติบโตได้ดีไม่เสียหายกรณีเกิดภัยภิบัติ เช่น ข้าวหอมมะลิ 80 ข้าวหอมชลสิทธิ์ ข้าวเหนียวธัญสิรินที่ต้านทานโรคใบไหม้ เป็นต้น
- งานวิจัยเพื่อพัฒนาพันธุ์ข้าวโภชนาการสูงที่ปราศจากการดัดแปรพันธุกรรม อาทิ การพัฒนาพันธุ์ข้าวไรซ์เบอรี่และข้าวสินเหล็กซึ่งได้เผยแพร่ไปสู่เกษตรกรและภาคอุตสาหกรรม โดยได้มีการนำข้าวไรซ์เบอรี่ไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ในท้องตลาดอีกมากมาย
รางวัลระเบียบสมาคมนิสิตเก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ในพระบรมราชูปถัมภ์ว่าด้วยนิสิตเก่าดีเด่น มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการยกย่องและเชิดชูเกียรตินิสิตเก่าซึ่งทำคุณประโยชน์แก่สังคมและเพื่อเป็นการเผยแพร่ชื่อเสียงและเกียรติคุณของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ให้เป็นไปอย่างกว้างขวาง โดยนักวิจัยไบโอเทคและผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการ ณ สถาบันเครือข่ายที่เคยได้รับรางวัลดังกล่าว ได้แก่ ศ. ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว (รางวัลนิสิตเก่าดีเด่น ปี 2554 วิทยาเขตบางเขน และรางวัลนิสิตเก่าดีเด่น ปี 2561 วิทยาเขตกำแพงแสน) ดร.ธีรยุทธ ตู้จินดา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพพืชและการจัดการแบบบูรณาการ (รางวัลนิสิตเก่าดีเด่น ปี 2560 วิทยาเขตกำแพงแสน และรางวัลนิสิตเก่าดีเด่น ปี 2561 วิทยาเขตบางเขน)
Dr. Somvong Trangoonrung, Executive Director, National Center for Genetic Engineering and Biotechnology (BIOTEC) received the Outstanding Academic Alumni Award 2019 from the Kasetsart University Alumni Association (Kamphaeng Saen Campus) under Royal Patronage.
Dr. Tragoonrung’s expertise lies in genome technology. In 1992, he joined BIOTEC as a researcher at Plant Genetic Engineering Laboratory. In 1999, he was tasked to lead the establishment of DNA Technology Laboratory (DNATEC) and became its first director. Jointly-founded by NSTDA and Kasetsart University, DNATEC was established as a government-funded key service center providing advanced and affordable diagnostic tools using DNA technology. The services provided have significantly contributed to the improvement of quality of agricultural products, facilitating exports of local products and addressing several international trade law and barriers. DNA Tech was the first lab to provide quantitative analysis of GMO testing services for exported food products. DNATEC is one of the assigned lab in the country to do purity testing of Aromatic Thai Rice (KDML105 and RD15) for export purpose.
As a representative of Thailand, Dr. Tragoonrung was tasked to draft the ISO standards on methods of analysis for the detection of genetically modified organisms and derived products along with representatives from other countries. The DNA technology developed by him is used for purity testing of aromatic rice exported from Thailand to ensure standards are met, for species identification of plants and animals, for inspection of imported food to prevent Mad Cow Disease and for inspection of exported tuna cans to help entrepreneurs encountered trade barrier.
The discovery of genes responsible for producing aroma in rice by Dr. Tragoonrung and the team from Kasetsart University and BIOTEC is another scientific breakthrough. Testing of fragrance in different rice varieties from various geographical sites was carried out. Genetic mapping of gene for aroma was constructed. Cloning of aroma gene and functional analysis were conducted. The gene commanding rice aroma was inserted into non-aromatic rice variety. The result of the experiment was rice with emerging aroma. Patents were filed in 10 countries. The breakthrough carries significant implications for the country’s breeding program.
His works on the development of nutrient-dense rice varieties (which are not genetically-modified) such as Riceberry and Sinlek were released in Thailand. Riceberry has been transformed into a variety of food products available in both domestic and foreign markets.
Kasetsart University initiates the Outstanding Alumni Award Program to recognize the exceptional contributions to society of KU alumni. The KU Outstanding Alumni Awards are given every year to alumni who have notable achievements in their respective careers. Dr. Tragoonrung’s predecessors include Prof. Apichart Vanavichit, Director, Rice Gene Discovery Unit and Dr. Theerayut Toojinda, Director, Integrative Crop Biotechnolagy and Management Research Group.