เครื่องรบกวนสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ T-Box 3.0 ได้รับรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น รางวัลดีเยี่ยมด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และอุตสาหกรรม สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และใช้งานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

ในสถานการณ์ปัจจุบัน ประเทศไทยกำลังประสบปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นอย่างมากประชาชนและเจ้าหน้าที่ของรัฐจำนวนมากต้องประสบกับความเดือดร้อน ความไม่ปลอดภัย ความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ปัญหาร้ายแรงหนึ่งที่สร้างความเสียหายต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชนผู้บริสุทธิ์จำนวนมากคือ การที่กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบลอบวางระเบิดและทำการจุดระเบิดที่มีอานุภาพการทำลายล้างโดยใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งในการจุดชนวนระเบิดทำได้ง่ายและยากต่อการจับกุมตัวผู้ก่อการ เนื่องจากผู้ก่อการสามารถดักซุ่มอยู่ในระยะไกลและลับตา หรืออยู่ในจังหวัดอื่นได้ในขณะที่กำลังจุดชนวนระเบิด นอกจากนั้นผู้ก่อการสามารถเลือกทำลายเป้าหมายและเหยื่อตามที่ต้องการได้

คณะวิจัยจึงได้วิจัยพัฒนาเครื่องรบกวนสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งมีเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพดีกว่าและราคาถูกกว่าเครื่องรบกวนสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่นำเข้าจากต่างประเทศ นอกจากนี้การบำรุงรักษายังทำได้สะดวกเพราะสามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็วและประหยัดงบประมาณ เนื่องจากอาศัยชิ้นส่วนและอุปกรณ์ส่วนมากที่มีมาตรฐานภายในประเทศ อีกทั้งยังอาศัยวงจรอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งออกแบบและจดสิทธิบัตรโดยคณะวิจัย และคณะวิจัยได้ตั้งชื่อเครื่องรบกวนสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่พัฒนาขึ้นว่า “T-box”

Read more

เทคโนโลยี GRASS

TAPS & GRASS งานวิจัยกลางน้ำ : สวทช. สารรักษาสภาพน้ำยางยุคใหม่ (TAPS)

กราส (GRASS)

กระบวนการผลิตน้ำยางข้นมีขั้นตอนต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้กรดซัลฟิวริกเข้มข้น จับตัวน้ำยางสกิมและน้ำล้างเครื่องปั่นน้ำยาง ส่งผลกระทบต่อระบบบำบัดน้ำเสีย ที่ต้องใช้พลังงานไฟฟ้ามาก เพื่อลดกลิ่นและบำบัดน้ำทิ้งให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานของกรมโรงงานอุตสาหกรรม ปัจจุบันโรงงานส่วนใหญ่ ไม่มีการจัดการของเสีย (กากตะกอนน้ำยางหรือขี้แป้ง) ใช้วิธีการฝังกลบหรือเผาทำลาย ทำให้เกิดปัญหากลิ่นและมลพิษทางอากาศ

Read more

ชีวินทรีย์กำจัดศัตรูพืช

ปัญหาสำคัญที่มีผลกระทบต่อขีดความสามารถในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรของไทย คือ การระบาดของศัตรูพืชโดยเฉพาะแมลงศัตรูพืช ซึ่งสร้างความเสียหายโดยตรงต่อผลผลิตของเกษตรกรและส่งผลกระทบต่อเนื่อง เมื่อเกษตรกรใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชฉีดพ่น ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นจนอาจไม่คุ้มต่อการลงทุนในการเพาะปลูกของเกษตรกร

จากแนวโน้มการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มากเกินความจำเป็นและการใช้ ที่ไม่ถูกต้อง ก่อให้เกิดปัญหาสารพิษตกค้างในผลผลิต นอกจากนั้นในเวทีการค้าโลกได้ตกลงลดการกีดกันทางการค้าด้านภาษีลง เพื่อสนับสนุนแนวทางการค้าเสรี แต่ในการปฏิบัติจริงประเทศคู่ค้าของไทยหลายประเทศโดยเฉพาะคู่ค้าทางการเกษตร อาทิเช่น สหภาพยุโรปสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ได้ใช้วิธีกีดกันทางการค้าโดยใช้คุณภาพของสินค้าเป็นตัวกำหนดในการนำเข้า สินค้าทางการเกษตรจากประเทศไทย เช่น การกำหนดระดับของสารพิษตกค้างในผลผลิตทางการเกษตรทำให้เป็นอุปสรรคสำคัญต่อ การส่งสินค้าไปจำหน่ายยังประเทศดังกล่าว ทั้งๆที่ประเทศเหล่านี้มีความต้องการซื้อสินค้าจากประเทศไทยจำนวนมาก

 

Read more

พัฒนาข้าวสายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ทนน้ำท่วมฉับพลันด้วยอณูวิธีสำเร็จ

ข้าวเจ้าพันธุ์ใหม่ทนน้ำท่วมฉับพลัน “กข51” ได้รับการรับรองพันธุ์จากกรมการข้าว เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2556 คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ข้าว กรมการข้าวได้ประกาศรับรองพันธุ์ข้าวเจ้าพันธุ์ใหม่ “กข51” ทนน้ำท่วมฉับพลัน ซึ่งเป็นข้าวพันธุ์แรกที่ได้จากการปรับปรุงพันธุ์โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก และได้รับการรับรองพันธุ์

ข้าวเจ้าพันธุ์ใหม่ “กข51” เป็นข้าวที่ได้จากการพัฒนาพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ105 ให้มีลักษณะทนน้ำท่วมฉับพลัน ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สวทช. โดยไบโอเทค ร่วมกับ สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว โดยได้นำข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ105 ผสมพันธุ์กับข้าวสายพันธุ์ IR49830-7-1-2-2 ซึ่งมีคุณสมบัติทนน้ำท่วมฉับพลัน จากนั้นได้คัดเลือกต้นให้มีลักษณะทางการเกษตรที่ดีและใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก (Marker assisted selection-MAS) พร้อมกับการผสมกลับ (backcrossing) จำนวน 4 ครั้ง ก่อนจะประเมินความทนต่อน้ำท่วมฉับพลันในบ่อทดสอบ ข้าวเจ้าพันธุ์ใหม่นี้เป็นข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง สูงประมาณ 155 ซม. เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ระยะฟักตัวของเมล็ดประมาณ 8 สัปดาห์ มีลักษณะเด่นคือ มีคุณภาพเมล็ดทางกายภาพ เคมี การหุงรับประทานใกล้เคียงกับข้าวขาวดอกมะลิ 105 และสามารถทนน้ำท่วมฉับพลันในระยะเจริญเติบโตทางลำต้นได้ 12 วัน ผลผลิตในสภาวะน้ำท่วมฉับพลับสูงกว่าพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ105 โดยให้ผลผลิตเฉลี่ยสูงสุด 736 กก./ไร่ จึงสามารถปลูกในพื้นที่นาน้ำฝนที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมฉับพลัน

ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ต้านทานโรค

การปรับปรุงพันธุ์ข้าวนับเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาการผลิตข้าว กอปรกับการมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยจะช่วยพัฒนาการปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ได้แม่นยำและรวดเร็วยิ่งขึ้น กรมการข้าวและ ไบโอเทค สวทช. ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้มีความร่วมมือในโครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวนาน้ำฝน ระยะที่ 1 (ปีพ.ศ. 2549 – 2552) ให้มีความต้านทานต่อโรค แมลง และสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม โดยใช้จุดเด่นด้านเทคโนโลยีทางชีวภาพเกี่ยวกับการสืบค้นหายีน และการพัฒนาโมเลกุลเครื่องหมายดีเอ็นเอ โครงการดังกล่าวประสบความสำเร็จ สามารถพัฒนาข้าวสายพันธุ์ใหม่ได้ 3 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ทนน้ำท่วมฉับพลัน สายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ทนดินเค็ม และสายพันธุ์ กข6 ต้านทานโรคไหม้ โดยได้ผ่านการปลูกทดสอบในศูนย์วิจัยข้าว และแปลงของเกษตรกรแล้ว มีผลผลิตเป็นที่น่าพอใจ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการยื่นขอรับรองพันธุ์ข้าวทั้ง 3 สายพันธุ์จากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ความสำเร็จดังกล่าวเป็นผลดีต่อเกษตรกรผู้ผลิต ระบบการผลิต และเศรษฐกิจของประเทศ

เพื่อให้ความร่วมมือวิจัยและพัฒนาข้าวเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ชัดเจนและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงจัดให้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาด้านข้าว ระยะที่ 2 (ปีพ.ศ. 2553 – 2558) ระหว่างกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขึ้น เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ณ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีดร.สุจินดา โชติพานิช ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และนายยุคล ลิ้มแหลมทอง ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงดังกล่าว

ความร่วมมือครั้งนี้ นับเป็นก้าวสำคัญของการพัฒนางานวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพของประเทศ ก่อให้เกิดความเชื่อมโยงของเครือข่ายวิจัยและพัฒนาการผลิตข้าวทั้งระบบ ช่วยเพิ่มศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันกับตลาดโลก และจะนำไปสู่การขยายตัวทางเศรษฐกิจ และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชนต่อไป

ผลงานต้นแบบรวดเร็วทางการแพทย์ (Rapid Prototype) เพื่อการทำกะโหลกเทียมช่วยผู้ป่วยที่กะโหลกยุบ

ในปัจจุบนั มีการนำเทคโนโลยกีารสร้างต้ แบบรวดเร็ว ทางการแพทย์ (Medical Rapid Prototyping) มาประยุกต์ใช้ในการผ่าตัดเพื่อแก้ไขความบกพร่องบริเวณกระโหลกศีรษะ ใบหน้า และขากรรไกร ตลอดจนการศัลยกรรม ออร์โธปิดิกส์และงานทันตกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วยที่มีความพิการในส่วนต่างๆ เทคโนโลยีนี้ใช้เพื่อสร้างหุ่นจำลองทางการแพทย์ 3 มิติ (Medical Model) ตลอดจนการออกแบบและสร้างวัสดุฝังใน (Implant) โดยอาศัยข้อมูลภาพถ่ายทางการแพทย์ของผู้ป่วย ทั้งนี้ศัลยแพทย์สามารถใช้กะโหลกศีรษะเทียมจากเทคโนโลยีดังกล่าวมาปลูกถ่าย ในคนไข้ได้ทันทีจึงสามารถลดขั้นตอนการปั้นแต่งกะโหลกศีรษะเทียมด้วยมือใน ระหว่างการผ่าตัด ทำให้ระยะเวลาการผ่าตัดลดลง ผลการผ่าตัดมีความสวยงามมากขึ้น คนไข้ฟื้นตัวได้เร็วและอยู่ในโรงพยาบาลน้อยลงเป็นการลดค่าใช้จ่ายทั้งต่อตัว ผู้ป่วยและโรงพยาบาล ซึ่งเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยไทยได้เป็นอย่างมาก

ประโยชน์ของผลงาน
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 จนถึงปัจจุบัน ทางศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) ร่วมกับสถาบันทางการแพทย์ชั้นนำหลายแห่งในประเทศ ได้นำเทคโนโลยีดังกล่าวมาประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยเป็นจำนวนทั้งสิ้น 277 ราย ซึ่งมีแนวโน้มการใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2549 ได้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU)โดยร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปัจจุบันได้ดำเนินการภายใต้ชื่อโครงการศูนย์ความเป็นเลิศในการประยุกต์ใช้ คอมพิวเตอร์เพื่องานวิศวกรรมชีวการแพทย์ทั้งยังได้ดำเนินการจัดตั้งสำนักงาน ในส่วนภูมิภาคทั้ง 3 แห่ง เพื่อเป็นศูนย์กลางในแต่ละภูมิภาคในการเผยแพร่เทคโนโลยีนี้ไปสู่ผู้ป่วยใน ภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย และในอนาคตจะดำเนินการพัฒนาเพื่อให้เป็นศูนย์ความเป็นเลิศในระดับนานาชาติ

การจำแนกการนำไปใช้ประโยชน์
อุตสาหกรรม : การผลิต
• การแก้ไขปัญหาจากการผลิต การดำรงชีวิตของประชาชนทั่วไป

Lexitron พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ฉบับแรกของไทย

LEXiTRON version 1 พจนานุกรมไทย <-> อังกฤษ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ LEXiTRON เวอร์ชัน 1.0
พัฒนาโดยคณะผู้วิจัยของห้องปฏิบัติการวิจัยภาษาและวิทยาการความรู้ (LINKS) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค)โดยได้นำเทคโนโลยี Corpus และการจัดเก็บฐานข้อมูลด้วยระบบ หลายดัชนี (Multi-Index) ที่สามารถแสดง ผลการสืบค้นได้หลายแบบ ซึ่งนับเป็นผลงานที่ผู้สร้างสรรค์พัฒนาขึ้นด้วยการใช้ศาสตร์ทาง วิทยาการคอมพิวเตอร์และทางภาษาศาสตร์ร่วมกัน และเปิดให้บริการในรูปแบบ ซีดีรอม และเว็บไซต์เมื่อ 21 มิถุนายน 2538 โดยบรรจุคำศัพท์ภาษาไทย 13,000 คำและ คำภาษาอังกฤษ 9,000 คำ

Read more

ตู้โทรศัพท์สาขาอัตโนมัติ (PABX)

ปัจจุบันตู้สาขาโทรศัพท์อัตโนมัติขนาดใหญ่ที่พบในประเทศส่วนใหญ่แล้วนำเข้ามาจากต่างประเทศ ส่วนตู้สาขาโทรศัพท์ที่ผลิตในประเทศก็มีขนาดเล็ก และส่วนใหญ่เป็นชนิดอนาล็อก โครงการวิจัยนี้เป็นการสร้างต้นแบบทางอุตสาหกรรมตู้สาขาโทรศัพท์อัตโนมัติขนาดใหญ่ชนิดดิจิตอล ซึ่งมีโอกาสที่จะผลิตใช้ภายในประเทศเพื่อลดการนำเข้าได้ อนึ่ง โครงการนี้เป็นโครงการที่ต่อเนื่องมาจากปีที่แล้ว โดยในปีที่แล้วผลการดำเนินงานส่วนใหญ่ยังคงเป็นไปตามแผนการดำเนินงาน อันได้แก่ การออกแบบและสร้างต้นแบบวงจรสลับช่องสัญญาณแบบมัลติเพล็กซเชิงเวลา วงจรกำเนิดและรับสัญญาน DTMF วงจรสร้างสัญญาณเสียงชนิดต่าง ๆ วงจรคู่สายในวงจร Power Supply รวมทั้งวงจรควบคุมระบบ สำหรับโครงการในปีนี้จะเป็นการรวมระบบเข้าด้วยกัน รวมถึงการพัฒนาโปรแกรมที่จะใช้งานบนระบบ PABX นี้

ณัฐวุฒิ ขวัญแก้ว , Natavut Kwankeow . (2538). การพัฒนาสร้างต้นแบบทางอุตสาหกรรมตู้สาขาโทรศัพท์อัตโนมัติขนาดใหญ่ชนิดดิจิตอล ระยะที่ 2. ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.