ในช่วงเวลาที่พิพิธภัณฑ์และสถาบันมรดกทางวัฒนธรรมทั่วโลกปิดทำการชั่วคราวเนื่องจากการแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัส (Coronavirus : COVID-19) แต่พิพิธภัณฑ์และสถาบันมรดกทางวัฒนธรรมหลายแห่งก็กำลังพยายามดำเนินวิธีการใหม่เพื่อโปรโมทเนื้อหาในรูปแบบที่เข้าถึงได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเน้นการนำเสนอคอลเล็กชั่นในรูปแบบออนไลน์ที่สามารถเข้าถึงได้จากบ้านของผู้ใช้ ในบทความเสนอตัวอย่างแนวคิดของพิพิธภัณฑ์และสถาบันมรดกทางวัฒนธรรมซึ่งเสนอวิธีที่สร้างสรรค์ในการโปรโมทคอลเล็กชั่นในรูปแบบออนไลน์และการมีส่วนร่วมแบบออนไลน์ของผู้ใช้
ไอเดียที่ 1 การกระตุ้นให้ผู้คนสร้างผลงานศิลปะที่มีชื่อเสียงจากบ้านของตัวเอง
Getty Museum พิพิธภัณฑ์ J. Paul Getty หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า Getty พิพิธภัณฑ์ศิลปะในแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ได้เชิญชวนผู้คนสร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่โปรดปรานอีกครั้งจากวัตถุที่วางอยู่รอบๆ บ้าน โดยใช้ภาพผลงานศิลปะของ Getty ที่แปลงให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัลและดาวน์โหลดได้ https://www.getty.edu/art/collection/เป็นต้นแบบ
จากนั้นแชร์ภาพผลงานบน social media ของ Getty ทั้ง Twitter Facebook และ Instagram
ที่มาภาพ https://twitter.com/GettyMuseum/status/1242845952974544896
Getty ได้รับแรงบันดาลในการจัดกิจกรรมนี้จาก Rijksmuseum พิพิธภัณฑ์แห่งชาติแห่งอัมสเตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์ ที่รวบรวมและจัดแสดงงานศิลปะ งานหัตถกรรม และประวัติศาสตร์ของเนเธอร์แลนด์ ที่เชิญชวนให้ผู้คนสร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่โปรดปรานอีกครั้งโดยใช้วัตถุที่อยู่รอบตัว แล้วแชร์ภาพผลงานบน Facebook ของ Rijksmuseum
ที่มาภาพ https://www.facebook.com/rijksmuseum/posts/10163090212705177
รวมถึง แคมเปญ Between Art and Quarantine หรือ ระหว่างศิลปะกับการกักกัน
ที่มาภาพ https://www.instagram.com/tussenkunstenquarantaine/
ไอเดียที่ 2 การเสนอทัวร์เสมือนจริง
พิพิธภัณฑ์หลายแห่งนำเสนอทัวร์พิพิธภัณฑ์แบบเสมือนจริง ผู้ใช้สามารถเข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์เหล่านั้นจากที่บ้านเพียงนิ้วสัมผัส เช่น
- National Palace Museum ไต้หวัน
- Rijksmuseum เนเธอแลนด์
- Getty Museum สหรัฐอเมริกา
- Vatican Museums อิตาลี
- Natural History Museum อังกฤษ
- British Museum อังกฤษ
ไอเดียที่ 3 การนำเสนอนิทรรศการเสมือน
ยกตัวอย่างเช่น Europeana ที่นำเสนอนิทรรศการเสมือนของ Europeana และหน่วยงานพันธมิตรผ่านเว็บไซต์เพื่อให้ผู้สนใจเข้าชมนิทรรศการได้ทุกที่และทุกเวลา
ในทำนองเดียวกับ National Palace Museum ไต้หวัน ที่นำเสนอนิทรรศการออนไลน์ โดยการรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลผลงานนิทรรศการปัจจุบันและที่ผ่านมาให้ผู้สนใจได้ศึกษา เข้าถึงที่ https://www.npm.gov.tw/en/Article.aspx?sNo=03000058
นอกจากนี้ National Palace Museum ไต้หวัน ยังจัดทำข้อมูลและเนื้อหานิทรรศการในรูปแบบ Open data เพื่อให้ผู้สนใจดาวน์โหลด โดยสามารถเลือกดาวน์โหลดนิทรรศการหนึ่งๆ ทั้งหมดเพ็คเกจ หรือเลือกดาวน์โหลกเฉพาะเนื้อหาของนิทรรศการก็ได้ เข้าถึงที่ https://theme.npm.edu.tw/opendata/Exhibition.aspx?lang=2
ท่านใดที่ทำงานในพิพิธภัณฑ์หรือสถาบันที่มีลักษณะใกล้เคียงอาจนำไอเดียที่เสนอข้างตนไปประยุกต์ใช้ ส่วนท่านที่เป็นผู้ใช้พิพิธภัณฑ์ก็สามารถเข้าเยี่ยมชมตัวอย่างผลงานที่เกิดจากไอเดียข้างต้นของพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ได้จากที่บ้าน