“ถั่วเขียว” เป็นพืชหลังนาที่ไม่เพียงช่วยบำรุงดินให้สมบูรณ์สำหรับการเพาะปลูกในฤดูกาลถัดไป หากยังสร้าง รายได้เสริมให้เกษตรกร ขณะเดียวกันในด้านเศรษฐกิจของประเทศ ถั่วเขียวเป็นวัตถุดิบสำคัญที่ใช้ในอุตสาหกรรม อาหาร ทั้งวุ้นเส้น ไส้ขนม ขนมหวาน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับอาหาร Plant-Based ที่ผู้บริโภคทั่วโลกมีแนวโน้ม บริโภคโปรตีนจากพืชมากขึ้น ซึ่งถั่วเขียวมีโปรตีนสูง จึงเป็นวัตถุดิบตั้งต้นที่สำคัญของอาหารแห่งอนาคตนี้
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้สนับสนุนทุนวิจัยให้ ศ. ดร.พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์ และ รศ. ดร.ประกิจ สมท่า จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิจัยและพัฒนาพันธุ์ถั่วเขียว จนได้สายพันธุ์ KUML#1-5 และ 8 ที่มีเมล็ดขนาดใหญ่ สุกแก่เร็ว ให้ผลผลิตได้สูงถึง 300 กก./ไร่ ต้านทานโรคราแป้งและ ใบจุด ขณะเดียวกันสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) หน่วยงานภายใต้ สวทช. ยังได้ร่วมมือ กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ขยายผลการผลิตถั่วเขียว KUML ด้วยความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีให้เกษตรกรทั่วประเทศ เพื่อพัฒนากลุ่มผู้ผลิตถั่วเขียวให้มีผลผลิตสูงและมีคุณภาพตรงกับความ ต้องการของตลาดถั่วเขียวทั้งในและต่างประเทศ โดยใช้กลไกตลาดนำการผลิต (Inclusive Innovation) และ เพื่อพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการเรียนรู้การผลิตถั่วเขียวตามหลักวิชาการแบบครบวงจรในระดับชุมชน
คู่มือ “ปลูกถั่วเขียวพันธุ์ดีด้วยความรู้ ให้ผลผลิตสูง รายได้งาม” เป็นอีกหนึ่งสื่อความรู้ภายใต้โครงการ การพัฒนาและยกระดับเครือข่ายเกษตรกรผู้ผลิตถั่วเขียว KUML แบบครบวงจร ของ สท. จัดทำขึ้นเพื่อให้เกษตรกร ใช้เป็นแนวทางการเพาะปลูกถั่วเขียวพันธุ์ดีอย่าง KUML ให้ได้ทั้งคุณภาพและปริมาณ ไม่ว่าจะผลิตเป็นเมล็ดถั่วเขียว (grain) หรือผลิตเป็นเมล็ดพันธุ์ (seed) ซึ่งต้องใช้ทั้งความรู้และความใส่ใจของเกษตรกร ให้ได้ผลผลิตที่พร้อมเป็น วัตถุดิบคุณภาพสู่การใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ผลผลิตที่ได้ไม่เพียงเสริมรายได้หลังการทำนาให้เกษตรกร หากยังเสริมความแข็งแกร่งด้านเศรษฐกิจให้ประเทศอีกด้วย
ที่มาข้อมูล https://www.nstda.or.th/agritec/kuml-book/
ดาวน์โหลด https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/agritec/KUML-Green-Bean-Book.pdf