จากการทำงานถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตถั่วเขียวสายพันธุ์ใหม่ KUML โดยใช้กลไกตลาดนำการผลิต ส่งผลให้ถั่วเขียว KUML เป็นที่รู้จักและเป็นที่ต้องการของทั้งเกษตรกรและตลาด เกิดการขยายผลเทคโนโลยีและสร้างเครือข่ายการทำงานเพิ่มขึ้น
ในช่วงเดือนที่ผ่านมา น.ส.ณิฏฐา คุ้มโต นักวิชาการอาวุโส ฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยี สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ได้ร่วมนำเสนอแนวทางและแลกเปลี่ยนประสบการณ์การถ่ายทอดเทคโนโลยีและการสร้างเครือข่ายการผลิตถั่วเขียว KUML ให้เจ้าหน้าที่ นักวิชาการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความร่วมมือและเครือข่ายการทำงานร่วมกันต่อไป
- “การพัฒนาและยกระดับเครือข่ายเกษตรกรผู้ผลิตถั่วเขียว KUML เป็นรายได้เสริมหลังนาด้วยกลไกตลาดนำการผลิต” ในงานประชุมวิชาการพืชวงศ์ถั่วแห่งชาติ ครั้งที่ 8 “นวัตกรรมวิจัย พืชวงศ์ถั่วไทย เพื่อความมั่นคงทางอาหาร” เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2566 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดโดย สมาคมปรับปรุงพันธุ์และขยายพันธุ์พืชแห่งประเทศไทย ร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น (บทความวิชาการ การพัฒนาและยกระดับเครือข่ายเกษตรกรผู้ผลิตถั่วเขียว KUML เป็นรายได้เสริมหลังนา ด้วยกลไกตลาดนำการผลิต)
- “การขยายเครือข่ายถั่วเขียวพันธุ์ใหม่อย่างครบวงจร สู่การใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน” ในกิจกรรมการนำเสนอผลงานหัวข้อ “Next Normal พืชไร่ เพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG” เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2566 ในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566 (Thailand Research Expo 2023)” ครั้งที่ 18 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอก คอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ จัดโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
- “การพัฒนาและยกระดับเครือข่ายเกษตรกรผู้ผลิตถั่วเขียว KUML แบบครบวงจร ด้วยกลไกการตลาดนำการผลิต” ในงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับอำเภอ (District Workshop: DW) ครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2566 ณ หอประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์ จัดโดยสำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นเวทีให้เจ้าหน้าที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่และจัดทำแผนปฏิบัติงานและขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมการเกษตรที่สำคัญ ซึ่งจังหวัดเพชรบูรณ์เป็นแหล่งผลิตและรับซื้อถั่วเขียวแห่งใหญ่หนึ่งของประเทศ
คลิกอ่านเพิ่มเติม ปลูก ‘ถั่วเขียว KUML’ มูลค่าที่มากกว่า ‘พืชบำรุงดิน
คลิกสื่อความรู้ ถั่วเขียวพันธุ์ดี KUML